TNN online เพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ เก็บไฟฟ้าได้มากขึ้น ด้วย "พริก"

TNN ONLINE

Tech

เพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ เก็บไฟฟ้าได้มากขึ้น ด้วย "พริก"

เพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ เก็บไฟฟ้าได้มากขึ้น ด้วย พริก

สารแคปไซซินในพริก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ ให้สามารถแปลงแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้มากขึ้น

แผงโซลาร์เซลล์โปร่งใส หรือแผงโซลาร์เซลล์ที่ทำจากพืชผักเราก็เคยเห็นกันมาแล้ว วันนี้ขอพาคุณไปดูแผงโซลลาร์เซลล์แบบเดิม ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้วย "พริก"

เพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ เก็บไฟฟ้าได้มากขึ้น ด้วย พริก

ที่มาของภาพ https://theconversation.com/solar-panels-capture-more-sunlight-with-capsaicin-the-chemical-that-makes-chili-peppers-spicy-152901

สาร Perovskite (เพอรอฟสไกต์) นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับดูดจับแสงอาทิตย์ในแผงโซลาร์เซลล์ โดยสารชนิดนี้มีคุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนรังสีอัลตราไวโอเลตและแสงให้กลายเป็นไฟฟ้า ทั้งนี้ แม้ Perovskite จะเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพมากกว่าสารชนิดอื่นในการผลิตโซลาร์เซลล์ แต่มันยังมีข้อด้อยในบางเรื่อง อันเนื่องมาจากตัวของสาร Perovskite เอง

โมเลกุลของสาร Perovskite ที่นำมาใช้ทำแผงโซลาร์เซลล์จะอยู่ในรูปของผลึกคริสตัล ส่งผลให้แสงแดดบางส่วนถูกเปลี่ยนไปเป็นความร้อนแทนที่จะเป็นพลังงานไฟฟ้า เพราะฉะนั้น นักวิทยาศาตร์จึงต้องหาสารที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Perovskite นั่นเอง

เพิ่มประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ เก็บไฟฟ้าได้มากขึ้น ด้วย พริก

ที่มาของภาพ https://theconversation.com/solar-panels-capture-more-sunlight-with-capsaicin-the-chemical-that-makes-chili-peppers-spicy-152901

และนักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบว่า สารแคปไซซิน ซึ่งเป็นสารให้ความเผ็ดร้อนในพริก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าของ Perovskite โดยการใช้เแคปไซซินเพียง 0.1% จะลดการสูญเสียพลังงานไปกับความร้อนได้มากถึง 21.88% ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกนำมาทดลอง กลายเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถแปลงพลังงานได้ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา (เมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ชนิดเดียวกัน)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารแคปไซซินมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความคงตัวของผลึก Perovskite และช่วยลดการหักเหของแสงที่ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม ส่งผลให้การแปลงพลังงานไฟฟ้าทำได้ดีขึ้นนั่นเอง ในอนาคตจะมีการศึกษาต่อไป และอาจนำการค้นพบนี้ไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง