TNN online Mission to the Moon ภารกิจพาไทยสู่ดวงจันทร์ ของ mu Space (มีคลิป)

TNN ONLINE

Tech

Mission to the Moon ภารกิจพาไทยสู่ดวงจันทร์ ของ mu Space (มีคลิป)

Mission to the Moon ภารกิจพาไทยสู่ดวงจันทร์ ของ mu Space (มีคลิป)

หลายคนก็ต่างพากันสงสัยว่าจะเป็นไปได้จริงเหรอ ที่ประเทศไทยจะไปโคจรรอบดวงจันทร์ ??เป็นไปได้ค่ะ! แต่จะไปอย่างไร? เรื่องนี้ต้องฟังจากปากชัดๆ ของ “ว่าที่คนไทยที่จะได้ไปปักธงบนดวงจันทร์” mu Space สตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่ตั้งเป้า เหยียบดวงจันทร์ภายในปี 2028



ถาม: จากที่เป็นกระแสข่าวว่า อีก7 ปี เราจะได้ไปดวงจันทร์ ทาง mu Space มองว่า จะเป็นจริงไหม?


คุณบริณต หงษ์ดิลกกุล วิศวกรด้านอวกาศ บริษัท mu Space Corp


ประเด็นหลักในเรื่องเรื่องการการการสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบโลกภายใน 7 ปีเนี่ย มันจะเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ในคอมเม้นท์ในทางSocial media เขาคอมเม้นท์ว่า เอ๊...จะทำไปทำไม หรือว่าทำแล้วได้อะไรซึ่งตรงนี้เราจะต้องอธิบายหน่อย 


จะต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า การที่ไปดวงจันทร์เนี่ยมันไม่ได้มีแค่เราส่งไปเฉยๆ แล้วไอ้ตัวตัวยานอวกาศมันจะโคจรรอบดวงจันทร์แล้วก็ส่งไปเฉยๆ ไม่ได้มีภารกิจอะไรอะไรที่ชัดเจน 


ซึ่งจริงจริงแล้วตรงนี้เนี่ย มันก็ตรงการ การที่เราสามารถสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์เนี่ย มันหมายความว่าเรามีเทคโนโลยีมีเป็นเหมือนก้าวแรกที่เราสามารถส่งตัวยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ ซึ่งต่อมาครับมันจะสามารถใช้เทคโนโลยีตรงนี้เนี่ยไปสร้างทรัพยากร ไปใช้ทรัพยากรในดวงจันทร์ 


แล้วก็ตรงทรัพยากรในดวงจันทร์เนี่ยก็จะมีเรื่องของการขุดเหมืองในบนดวงจันทร์ ซึ่งตรงนี้เราจะสามารถนำมาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอนาคตได้ 


ไปโคจรรอบดวงจันทร์เนี่ยเป็นเหมือนกับก้าวแรกที่จะทำให้ประเทศไทยเนี่ย มีความคุ้นเคยกับทรัพยากรกับเทคโนโลยีทางด้านอวกาศซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นหลักอาจจะเป็นแผน 10 ปีหรือ 20 ปีในอนาคตครับ 


ตรงนี้เนี่ยเทคโนโลยีตรงที่ที่พัฒนาช่วง 7 ปีที่ผ่านมาจะสามารถต่อยอดในการใช้ทรัพยากรนอกโลกได้ ซึ่งทรัพยากรนอกโลกตรงนี้ครับจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล 



บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด เป็นสตาร์ทอัพ สัญชาติไทย ที่ให้บริการด้านดาวเทียมบรอดแบนด์ พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไปควบคู่กัน 


หลังจากก่อตั้งมาเพียง 3 ปี ก็สามารถดึงดูดนักลงทุนเอกชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจ ให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมด้านอวกาศทั้ง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), กลุ่ม Dow Chemical, SCG กลุ่มธุรกิจเอกชน และกลุ่มนักลงทุนรายย่อยอื่น ๆ ที่ผลักดันมูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับการระดมทุนในระดับ Series B


โดยเงินลงทุนที่ได้จากการระดมทุนในรอบนี้ mu Space จะนำไปใช้สำหรับการเร่งสร้างโรงงานขนาดใหญ่ต่อไป เพื่อที่จะผลิตชิ้นส่วนและสร้างยานอวกาศลำแรกของประเทศไทยรวมถึงการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม และยานอวกาศสำหรับใช้ในประเทศเพื่อการส่งออก พัฒนาและทดสอบหุ่นยนต์และระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับยานพาหนะไร้คนขับบนดวงจันทร์ ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ภายในโรงงาน


ถาม: จริงๆ แล้วเป้าหมายของ mu Space คืออะไรคะ?


คุณศุภณัชย์ ลิมจิตติ วิศวกรอาวุโสด้านซอฟต์แวร์ บริษัท mu Space Crop


จริงๆ แล้วเป้าหมายของ Mu space คือการไปเหยียบดวงจันทร์ภายในปี 2028 นะครับ ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยี โปรดัคต่างๆ ที่เรา DEVELOP ขึ้นมาระดับต่างๆในช่วงนี้ก็คือจะนำไปสู่การที่เร าให้เอเนเบิลให้เราสามารถไปเหยียบดวงจันทร์ได้ภายในปี 2028 ครับ


ยกตัวอย่างเช่นตัวจรวดหรือว่าเป็นสเปคซิฟที่มีการพัฒนาอยู่เนี้ย

ก็จะเป็นตัวเซคคึนสเตช หรือว่าเป็นตัวแคปซูลที่จะสามารถพาคนแล้วก็คาร์โก้ไปถึงดวงจันทร์ได้ครับ


ลงไปสำรวจเลยครับ จริงจริงแล้วหลังจากลงไปสำรวจดวงจันทร์แล้วเราก็มีเป้าหมายที่จะไปโคโรไนซ์ดวงจันทร์ครับไปโคโรนี้อยู่ที่นู่นครับ


เป็นโคโรนี้ครับ เหมือนกับว่าไปสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยให้คนอยู่ได้ จัสสเตเนเบิลบนดวงจันทร์เลย ก็ตอนนี้จะเป็นการพัฒนาชิ้นส่วนต่างๆที่มันจะเอามาประกอบกันเพื่อไปสู่ moon Mission นะครับอย่างที่เราเน้นทำอยู่ตอนนี้เลยก็คือเป็นการเขียน proposal ส่งให้กับทางนาซ่าครับ เพื่อจะบิดโปรเจคต่างๆที่จะเข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการอะไทมิสของ NASA ครับ


คุณบริณต หงษ์ดิลกกุล วิศวกรด้านอวกาศ บริษัท mu Space Corp


ถ้าพูดถึงในศักยภาพศักยภาพของประเทศไทยครับก็คือว่าตำแหน่งที่ตั้งของเมืองไทย เหมาะสำหรับการสร้างตัวฐานปล่อยจรวดเพราะว่าฐานปล่อยจรวดยิ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลกเนี่ยก็จะยิ่งมีแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยช่วยเหวี่ยงให้จรวดสามารถเคลื่อนที่ได้ ที่นี่พอตัวแรงโน้มถ่วงมาช่วยมันก็จะประหยัดน้ำมัน

ซึ่งตำแหน่งของประเทศไทยก็คือมีความเหมาะสมในการพัฒนาตัวฐานปล่อยจรวดตรงนี้ 


แล้วก็นอกจากนี้อุตสาหกรรมเมืองไทยที่มีก็เป็นปัจจุบันก็ทราบกันดีอยู่แล้วใช่ไหมครับว่าประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของรถยนต์ต่างๆตรงนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีอยู่แล้วเราสามารถต่อยอดศักยภาพตรงนี้ไปพัฒนาเพิ่มเติมเป็นอุตสาหกรรมอวกาศได้ครับ ก็คือมองว่าเราสามารถต่อยอดอุตสาหกรรมรถยนต์ไปเป็นอุตสาหกรรมอวกาศได้   


ปัจจุบัน mu Space กำลังเตรียมความพร้อมที่จะเข้าประมูลโครงการอวกาศขององค์การนาซ่า อีก 8 โครงการ ในช่วงต้นปี 2564 


ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี Space IDC ซึ่งเป็น Data Center บนอวกาศ ที่มิวสเปซจะทำการทดสอบระบบจำลองภายในไตรมาสแรกของปี 2564 นี้


ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มิว สเปซ คอร์ป และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) ที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก


ถาม: Datacenter บนดาวเทียม แตกต่างจาก datacenter ทั่วไปยังไงคะ?


คุณบริณต หงษ์ดิลกกุล วิศวกรด้านอวกาศ บริษัท mu Space Corp


ตัว datacenter ในอวกาศ ก็จะมีข้อดีหลายๆอย่างด้วยกันก็คือเรื่องของการสื่อสารปัจจุบันนะครับ ถ้า datacenter มันตั้งอยู่ที่ตั้งอยู่บนโลกใช่ไหมครับ เขาก็จะใช้สายเคเบิลในการส่งข้อมูล แต่ว่าตรงนี้ถ้าตัว datacenterไปอยู่ในอวกาศมันจะสามารถส่งข้อมูลจากอวกาศจนถึงพื้นโลกเนี่ยได้เร็วกว่าสายเคเบิล 


ข้อที่ 2 เลยก็คือเรื่องของความปลอดภัยก็คือไม่มีใครสามารถขโมยข้อมูลได้จริงๆ เพราะว่าถ้าจะทำลายตัวข้อมูลก็คือต้องยิงจรวดใส่ไปเท่านั้น สมมุติถ้า datacenter อยู่บนโลกใช่ไหมครับ มันก็ยังมีคนที่สามารถบุกเข้าไปทำลายหรือว่าบุกเข้าไปปล้นข้อมูลตรงนี้ได้ 


แล้วก็เรื่องสุดท้ายก็จริงๆมีอีกหลายประโยชน์เหมือนกัน อันนี้เป็นตัวอย่างที่สำคัญเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องของค่า Maintenance ของตัว Space IDC ปัจจุบัน datacenter ต่างๆ จะตั้งอยู่ที่ทางประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น อย่างเช่นแถบสแกนดิเนเวียหรือว่าแถบอเมริกาเหนือเพราะว่าตัวคอมพิวเตอร์เนี่ยมันจะสร้างความร้อนขึ้นมาตรงความร้อนตรงนี้ ก็คือจะต้องถูกควบคุมให้อุณหภูมิคอมพิวเตอร์อยู่ระดับปกติ ก็หมายความว่าจะต้องเปิดแอร์ตลอดเวลาพอเปิดแอร์ตลอดเวลาปุ๊บมันก็จะมีเสียค่าไฟ มันก็จะมีค่า Maintenance ที่ส่งผลเสียตามมา


แต่ว่าถ้าเราส่ง datacenter ขึ้นไปในอวกาศ อุณหภูมิอากาศมันอยู่ที่ประมาณติดลบกว่า 200 กว่าองศาเซลเซียส ซึ่งทำให้เรื่องของอุณหภูมิตรงนี้ ซึ่งทำให้เรื่องของค่าบำรุงรักษาตรงนี้จะหายไปครับ


การสำรวจอวกาศไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ต่างจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่ต้องใช้ทั้งระยะเวลาและความสามารถในการทุ่มเทพัฒนาเพื่อให้ไปถึงจุดหมาย 


นับว่าเป็นเรื่องน่าภูมิใจว่าวันนี้คนไทยก็มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไม่แพ้ชาติอื่น ทางรายการ TNN Tech Reports และผู้ชมก็ขอเป็นกำลังใจให้ mu Space สามารถปฏิบัติภารกิจสู่ดวงจันทร์ภายใน 8 ปีข้างหน้าได้ตามเป้าหมายค่ะ





ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง