TNN online โซลาร์เซลล์ AuREUS ดูดซับรังสี UV ผลิตไฟฟ้าได้แม้ในที่ที่มีเมฆฝน

TNN ONLINE

Tech

โซลาร์เซลล์ AuREUS ดูดซับรังสี UV ผลิตไฟฟ้าได้แม้ในที่ที่มีเมฆฝน

โซลาร์เซลล์ AuREUS ดูดซับรังสี UV ผลิตไฟฟ้าได้แม้ในที่ที่มีเมฆฝน

แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่นี้ สามารถผลิตไฟฟ้าจากรังสี UV จึงติดตั้งภายในอาคารได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาแสงแดดจัด

การใช้แผงโซลาร์เซลล์ คืออีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม มันจะไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้หากปราศจากแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะวันฝนตกมีเมฆมาก นั่นทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างแผงโซลาร์เซลล์ ที่สามารถผลิตพลังงานได้แม้ในที่ที่มีแสงน้อย

โซลาร์เซลล์ AuREUS ดูดซับรังสี UV ผลิตไฟฟ้าได้แม้ในที่ที่มีเมฆฝน

ที่มาของภาพ https://interestingengineering.com/these-new-solar-panels-dont-need-sunlight-to-produce-energy

คาร์วี เมก (Carvey Maigue) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่ชื่อว่า AuREUS สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้พื้นที่นั้นจะมีแต่เมฆฝน เพราะแผงโซลาร์เซลล์นี้ดูดซับรังสี UV แทนที่จะเป็นแสงแดดที่ตามองเห็นได้

วิธีการสร้างแผงโซลาร์เซลล์นี้ง่ายมาก ๆ คาร์วีนำสารเรืองแสงที่สกัดได้จากผักผลไม้ มาทาทับเคลือบบนแผงโซลาร์เซลล์ธรรมดา โดยสารเคลือบเรืองแสงที่ได้จากพืชผักนี้จะทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV และเปลี่ยนให้มันเป็นคลื่นแสงที่ตามองเห็นได้ (เปลี่ยนให้เป็นแสงแดดธรรมดา) เมื่อได้แสงตามปกติแล้ว แผงโซลลาร์เซลล์ที่เหลือก็จะทำหน้าที่แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง

โซลาร์เซลล์ AuREUS ดูดซับรังสี UV ผลิตไฟฟ้าได้แม้ในที่ที่มีเมฆฝน

ที่มาของภาพ https://www.jamesdysonaward.org/2020/project/aureus-aurora-renewable-energy-uv-sequestration/

จากการทดสอบของคาร์วีพบว่า เขาสามารถชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่องได้อย่างเพียงพอ ด้วยแผงโซลาร์เซลล์ AuREUS ขนาด 45 เซนติเมตร ซึ่งติดตั้งไว้ที่หน้าต่างห้องของเขา โดยคาร์วีเชื่อว่าคุณสามารถใช้แผงโซลาร์เซลล์นี้ในการผลิตพลังงานใช้ทั้งอาคารก็ยังได้


โซลาร์เซลล์ AuREUS ดูดซับรังสี UV ผลิตไฟฟ้าได้แม้ในที่ที่มีเมฆฝน ที่มาของภาพ https://www.jamesdysonaward.org/2020/project/aureus-aurora-renewable-energy-uv-sequestration/

ผลงานชิ้นนี้ทำให้คาร์วีชนะรางวัล James Dyson Sustainability Award พร้อมเงินรางวัลอีก 1,060,000 บาท ซึ่งคาร์วีจะนำไปใช้พัฒนาแผงโซลาร์เซลล์นี้ต่อ และคาดว่าจะเริ่มต้นใช้กับสถานพยาบาลใกล้บ้านของเขา เพื่อใช้สร้างกระแสไฟฟ้าราคาประหยัดไว้ใช้งานในยามที่มีฝนฟ้าคะนอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Interesting Engineering

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง