TNN online 4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok

TNN ONLINE

Tech

4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok

4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok

TikTok เผย 4 ตัวช่วยตั้งค่าความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและป้องกันการโดนแฮก ยกระดับความมั่นใจให้กับผู้ใช้ 

วันนี้ (26 พ.ค.63)   TikTok แพลตฟอร์มสร้างสรรค์วิดีโอสั้น ที่กำลังมาแรงทั่วโลก  ได้ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มเพื่อสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้ใช้ ผ่านฟีเจอร์ความปลอดภัยต่างๆ เพื่อปกป้อง ข้อมูลส่วนตัว ป้องกันการโดนแฮกและความเสี่ยงต่างๆ จากภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต   เนื่องจาก ที่ผ่านมา TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่ในกระแสและถูกพูดถึงอย่างมาก  ด้วยคอนเทนต์วิดีโอสั้น ที่มอบทั้งความสนุกสนาน ความรู้ ความบันเทิง ที่มีความสดใหม่ ไม่เหมือนใคร และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อีกทั้งยัง เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป จึงทำให้เรื่องการวางมาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้แพลตฟอร์ม ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล ดังนั้น TikTok จึงได้แนะนำ  4 ฟีเจอร์ ความปลอดภัยเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว และการตั้งค่าความปลอดภัย  ได้แก่ 

1. การแจ้งเตือนและรักษาความปลอดภัยบัญชีของผู้ใช้

ผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือนจาก TikTok เมื่อมีการใช้งาน ที่ผิดไปจากปกติ เช่น มีใครพยายามเข้าใช้บัญชีของคุณ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมีอุปกรณ์มากกว่าหนึ่งชิ้นกำลังเชื่อมต่อ เข้าบัญชีของคุณพร้อมกัน  โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยของบัญชีคุณได้ โดยเข้าไปที่หน้าโปรไฟล์แล้วคลิกเครื่องหมาย 3 จุดบริเวณมุมด้านขวา บน หลังจากนั้นคลิกที่ “จัดการบัญชีของฉัน” แล้วเลือกเมนู “ความปลอดภัย” จะปรากฎหน้าให้คุณจัดการการตั้งค่า เพื่อดูแล บัญชีของคุณให้ปลอดภัย   หลังจากนั้นเลือกที่ “การแจ้งเตือนความปลอดภัย” คุณจะทราบได้ว่าที่ผ่านมามีกิจกรรมที่ผิดปกติหรือไม่ รวมถึงสามารถทาบได้ว่ามีอุปกรณ์ประเภทใดบ้างที่เข้าสู่ระบบบัญชีของคุณอยู่ 

4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok

2. การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว 

ผู้ใช้สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเพื่อป้องกันการแฮ็กข้อมูล หรือบัญชีส่วนตัวได้ โดยเข้าไปที่หน้าโปรไฟล์คลิกจุดสามจุดบริเวณมุมด้านขวาบน แล้วเลือก “การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว” โดยผู้ใช้สามารถ เลือกการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ ดังนี้

  • โหมด “บัญชีส่วนตัว”โดยบัญชีส่วนตัวจะมีเพียงผู้ติดตามเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติที่สามารถติดตาม ดูวิดีโด กดถูกใจวิดีโอ และแสดงความคิดเห็น บนวิดีโอของเจ้าของบัญชีนั้นได้ โดยการเปิดใช้งานโหมด “บัญชีส่วนตัว” นี้ จะบังคับให้ผู้ใช้รายอื่นต้องส่งคำขอติดตาม  มาก่อนเสมอ เพื่อให้เจ้าของบัญชีเป็นผู้อนุมัติการเข้าถึง คอนเทนต์ต่างๆ บนแพลตฟอร์ม
  • โหมด “แนะนำบัญชีของคุณให้กับผู้ใช้งานอื่นๆ”ตัวเลือกนี้จะช่วยเพิ่มยอดผู้ติดตาม (follower) โดยที่ระบบจะแสดงบัญชีของคุณให้กับผู้ใช้รายอื่นที่มีความสนใจในเนื้อหาวีดีโอที่มีลักษณะคล้ายกัน
  • โหมด “ความปลอดภัย” ประกอบไปด้วยการตั้งค่าที่เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลของคุณ เช่น ผู้ใช้คนอื่นสามารถดาวน์โหลดวีดีโอของคุณได้มั้ย ใครสามารถส่งข้อความส่วนตัว (Direct Message) หาคุณได้บ้าง หรือใครสามารถดูเอ็ท (Duet) กับวิดีโอของคุณได้ เป็นต้น
  • โหมด “ตัวกรองความคิดเห็น”จะทำให้ผู้ใช้สามารถบล็อคการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมได้ ด้วยการซ่อนความคิดเห็นที่อาจจะเป็นสแปม หรือไม่เหมาะสมกับวิดีโอนั้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถ สร้างคีย์เวิร์ด (Keyword)สำหรับคำที่ไม่ต้องการแสดงได้ เมื่อมีผู้ใช้มาแสดงความคิดเห็นบนหน้าวิดีโอของตนได้อีกด้วย
  • ตัวเลือก “บัญชีที่ถูกบล็อค”ผู้ใช้สามารถดูและเปลี่ยนแปลงรายชื่อของผู้ใช้อื่นที่ถูกบล็อคได้ที่เมนู “บัญชีที่ถูกบล็อค” นี้ หากต้องการยกเลิกการบล็อค ก็สามารถทำได้โดยคลิก “ปลดบล็อค” 

4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok

3. วิธีการบล็อคผู้ใช้ที่ไม่น่าไว้วางใจ

สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการบล็อคบัญชีและวิดีโอของบุคคลอื่นที่ไม่น่าไว้วางใจ สามารถทำได้ โดยกด เข้าไปที่โปรไฟล์ของผู้ใช้ที่ต้องการบล็อคหลังจากนั้น กดเครื่องหมาย 3 จุดแนวตั้งที่บริเวณด้านขวาบน แล้วจะปรากฎหน้า pop-up จากด้านล่างให้ผู้ใช้เลือกกดตัวเลือกที่มีคำว่า “บล็อก” เพียงเท่านี้ วีดีโอจากบัญชีผู้ใช้นั้นจะไม่ปรากฎให้เห็น เช่นเดียวกับผู้ใช้ที่ถูกบล็อค  ก็จะไม่สามารถเข้าถึงบัญชีและเห็นวิดีโอของคุณเช่นกัน 

4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok

4. วิธีการดาวน์โหลดข้อมูล TikTok 

TikTok อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เองได้ โดยข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดได้จะมี โปรไฟล์ของคุณ กิจกรรม ของคุณ และการตั้งค่าของคุณ โดยตัวเลือกนี้จะอยู่ภายใต้ หัวข้อ “การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว” หลังจากนั้นคลิกที่ “การทำให้เป็นส่วนตัวและข้อมูล” และ “ดาวน์โหลดข้อมูลของฉัน”จากนั้นผู้ใช้สามารถคลิกที่ “ร้องขอไฟล์ข้อมูล”เพื่อขอไฟล์ข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วย 

  • ข้อมูลโปรไฟล์ของคุณที่แสดงข้อมูล ชื่อผู้ใช้ รูปโปรไฟล์ ข้อมูลติดต่อ เป็นต้น
  • กิจกรรมของคุณที่แสดงข้อมูลวีดีโอ ความคิดเห็น ประวัติการสนทนา เป็นต้น
  • การตั้งค่าแพลตฟอร์มของคุณที่แสดงข้อมูลภายใต้การตั้งค่า ที่เกิดขึ้น เช่น ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย การแจ้งเตือน การตั้งค่าภาษา และอื่นๆ เป็นต้น 

4 ตัวช่วยตั้งค่า ป้องกันการโดนแฮก TikTok



เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง