TNN online ยูทูบเบอร์บุกบ้านคุณลุงนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ผลิตโฮเวอร์คราฟต์ทำมือ

TNN ONLINE

Tech

ยูทูบเบอร์บุกบ้านคุณลุงนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ผลิตโฮเวอร์คราฟต์ทำมือ

ยูทูบเบอร์บุกบ้านคุณลุงนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ผลิตโฮเวอร์คราฟต์ทำมือ

ยูทูบเบอร์บุกบ้านผลงานชายชาวญี่ปุ่น ผู้สร้างยานโฮเวอร์คราฟต์ (Hovercraft) หรือยานเบาะอากาศ ทำมือ

ใครที่ชอบงานประดิษฐ์ งานฝีมือของญี่ปุ่น ก็อาจจะเคยได้เห็นหนึ่งในดาวเด่นที่กลายเป็นกระแสไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์ กับผลงานสร้างยานโฮเวอร์คราฟต์ (Hovercraft) หรือยานเบาะอากาศ ที่ใช้ขับเคลื่อนได้จริงลำนี้จากฝีมือชายชาวญี่ปุ่นชื่อว่า ฮิเดยาสุ อิโตะ (Hideyasu Ito)


โดยเขาได้สร้างยานโฮเวอร์คราฟต์ ที่ทำงานโดยใช้พัดลมกำลังสูง ดูดอากาศเป่าลงไปให้เบาะอากาศทั้ง 4 ชิ้น ที่เป็นเหมือนล้อพองตัวขึ้น เพื่อยกตัวยานให้ลอย และสามารถใช้คันบังคับ สั่งเลี้ยวซ้าย-ขวา หรือพุ่งตรงไปข้างหน้าได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ เขาก็ได้นำผลงานชิ้นนี้ ไปจัดแสดงที่งานนิทรรศการโชว์สิ่งประดิษฐ์ทำมือที่กรุงโตเกียวในปี 2022 และมีการถ่ายวิดีโอเอาไว้โพสต์ลงบนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ (Twitter) จนกลายเป็นไวรัลขึ้นมา ทำให้ทอม สกอตต์ (Tom Scott) ยูทูบเบอร์ชาวอังกฤษ ที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการพาไปดูนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เห็นวิดีโอเข้า ก็ถึงกับต้องบินไปหาอิโตะถึงเมืองสึบาเมะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอสัมภาษณ์และขอขี่เจ้าโฮเวอร์คราฟต์นี้ด้วยตัวเอง


ยูทูบเบอร์บุกบ้านคุณลุงนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ผลิตโฮเวอร์คราฟต์ทำมือ

ที่มาของรูปภาพ Tom Scott


โดยอิโตะเล่าว่า แรงบันดาลใจการประดิษฐ์ยานลำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อสิบปีก่อน ที่เขาไปเห็นเครื่องเป่าใบไม้ราคาถูกที่วางขายตามร้านอุปกรณ์ เขาจึงซื้อเครื่องเป่ากลับบ้าน และนำมาเป็นต้นแบบหลังจากลองผิดลองถูกอยู่สักพัก เขาก็สามารถสร้างโฮเวอร์คราฟต์ลำแรกขึ้นมาได้สำเร็จโดยประกอบจากสิ่งของใกล้ตัว เช่น ไม้แปรรูป หรือชิ้นส่วนจากจักรยาน และชิ้นส่วนจากรถบังคับด้วยวิทยุ 


นอกจากนั้น ยังมีบางชิ้นส่วนที่สั่งมาจากประเทศจีน หรือชิ้นส่วนบางชิ้นสามารถใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติสั่งทำออกมาโดยเฉพาะ ดังนั้นด้วยวัสดุที่หาได้ทั่วไป หากยานเสียหายก็มีอะไหล่มาทดแทนได้เสมอ โดยอิโตะได้พัฒนายานโฮเวอร์คราฟต์จากรุ่นโมเดล 1 มาจนถึงรุ่นปัจจุบันคือ โมเดล 9 ที่มีขนาดเล็กลง จากมีฟองน้ำล้อมรอบยาน 4 ชิ้น จะถูกลดเหลือเพียง 2 ชิ้น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวมากขึ้น แต่ยังคงคอนเซปต์เดิมคือการเป็นยานทำมือเอาไว้ต่อไป


ที่มาของข้อมูล yahoo

ที่มาของรูปภาพ Hideyasu Ito

ข่าวแนะนำ