TNN online MIT สร้างระบบหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติ เลียนแบบหัวใจผู้ป่วยช่วยแพทย์เห็นภาพชัดขึ้น

TNN ONLINE

Tech

MIT สร้างระบบหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติ เลียนแบบหัวใจผู้ป่วยช่วยแพทย์เห็นภาพชัดขึ้น

MIT สร้างระบบหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติ เลียนแบบหัวใจผู้ป่วยช่วยแพทย์เห็นภาพชัดขึ้น

MIT สร้างระบบหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติ ที่เลียนแบบหัวใจของผู้ป่วยจริง ทำให้แพทย์ศึกษาวิธีการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายผ่านหัวใจจำลอง ได้ง่าย และยังใช้หัวใจจำลองเพื่อการศึกษาได้ด้วย

ทีมวิศวกรของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT พัฒนาหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติที่ลอกเลียนแบบทั้งรูปร่างและลักษณะการสูบฉีดเลือดของหัวใจของผู้ป่วยแต่ละรายโดยเฉพาะ เพื่อช่วยให้แพทย์ทดสอบวิธีการรักษาเฉพาะบุคคลได้ง่ายขึ้น


MIT สร้างระบบหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติ เลียนแบบหัวใจผู้ป่วยช่วยแพทย์เห็นภาพชัดขึ้น ภาพจาก MIT

หัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติที่ทีมพัฒนาขึ้น จะสั่งพิมพ์พิเศษตามรูปร่างของหัวใจผู้ป่วยแต่ละคน โดยกระบวนการสร้าง ทีมวิศวกรจะแปลงภาพหัวใจผู้ป่วยไปขึ้นรูปเป็นโมเดล 3 มิติบนคอมพิวเตอร์ จากนั้นสั่งพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้หมึกพิมพ์แบบโพลิเมอร์เนื้อนุ่ม จนออกมาเป็นหัวใจจำลองและหลอดเลือดที่ตรงตามแบบหัวใจของผู้ป่วย และมีความอ่อนนุ่มและยืดหยุ่นคล้ายกับผิวของหัวใจจริง 


และเพื่อเลียนแบบการเคลื่อนไหวและการสูบฉีดของหัวใจ ทีมงานได้พัฒนาปลอกสำหรับพันรอบตัวหัวใจจำลองและหลอดเลือด ซึ่งตัวปลอกจะเชื่อมต่อกับระบบสูบลมขนาดเล็ก สามารถสั่งให้มันบีบรัด หรือพองออกเป็นจังหวะเลียนแบบการสูบฉีดเลือดของหัวใจได้


MIT สร้างระบบหัวใจจำลองพิมพ์ 3 มิติ เลียนแบบหัวใจผู้ป่วยช่วยแพทย์เห็นภาพชัดขึ้น ภาพจาก MIT

ดังนั้นเมื่อทีมงานนำเอาหัวใจจำลอง และตัวปลอกพร้อมระบบจำลองการสูบฉีด มาเข้าระบบกับข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วย ก็จะสามารถสร้างการสูบฉีดของหัวใจที่เหมือนกันได้อย่างแม่นยำ ทำให้แพทย์สามารถทดลองวิธีการรักษากับหัวใจจำลอง เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจผ่าตัด


และในอนาคต นักวิจัยกล่าวว่าแบบจำลองหัวใจเหล่านี้ สามารถใช้ในห้องปฏิบัติการวิจัย และเป็นแพลตฟอร์มที่สมจริงสำหรับทดสอบการรักษาโรคหัวใจประเภทต่าง ๆ ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและยังเป็นแนวทางการศึกษาที่ทำให้แพทย์มองเห็นสภาพการทำงานของหัวใจผู้ป่วยแต่ละรายชัดขึ้น



ข้อมูลจาก news.mit.edu

ข่าวแนะนำ