TNN online พบหน้าน้องหมีบนพื้นผิวดาวอังคารจากภาพถ่ายของนาซา

TNN ONLINE

Tech

พบหน้าน้องหมีบนพื้นผิวดาวอังคารจากภาพถ่ายของนาซา

พบหน้าน้องหมีบนพื้นผิวดาวอังคารจากภาพถ่ายของนาซา

ยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) ของนาซา (NASA) พบพื้นผิวบนดาวอังคารที่มีหน้าตาเหมือนตุ๊กตาหมี


เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแอริโซนา (UA) จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่ภาพถ่ายจากยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) ซึ่งเป็นยานอวกาศแบบโคจรรอบ (Orbiter) ของนาซา (NASA) ที่เป็นภาพถ่ายมุมสูงของพื้นผิวดาวอังคารที่มีลักษณะเหมือนตุ๊กตาหมีกำลังส่งยิ้มให้กับยานอวกาศ

พบหน้าน้องหมีบนพื้นผิวดาวอังคารจากภาพถ่ายของนาซา

โดยภาพถ่ายดังกล่าวถูกถ่ายไว้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา ขณะที่ยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์กำลังโคจรเหนือพื้นผิวดาวอังคารประมาณ 251 กิโลเมตร 


รายละเอียดของใบหน้าหมีคืออะไรบ้าง 

สำหรับรายละเอียดของภาพ บริเวณที่ดูเหมือนเป็นจมูกและปากของหมีคือ เนินเขาที่มีโครงสร้างยุบตัวเป็นรูปตัววี ในขณะที่ดวงตา 2 ข้าง คือ หลุมอุกกาบาต 2 หลุม และวงกลมที่เป็นหัว คือ พื้นผิวที่แตกหักเป็นรูปวงกลม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจเกิดจากการตกตะกอนของตะกอนเหนือหลุมอุกกาบาตที่ฝังอยู่


ปรากฏการณ์แพริโดเลีย (Pareidolia) 

ส่วนเหตุผลที่คนเราเห็นภาพถ่ายดังกล่าวเป็นรูปหมี เนื่องมาจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่าแพริโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา มักจะเกิดขึ้นเมื่อเราเห็นหรือได้ยินบางสิ่งที่ไม่ชัดเจน สมองจะทำการค้นหาความทรงจำที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราเห็นมากที่สุดเพื่ออธิบายว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นคืออะไร โดยเป็นปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เรามักเห็นก้อนเมฆบนท้องฟ้าเป็นรูปต่าง ๆ หรือเห็นปลั๊กไฟเป็นรูปหน้าคน

พบหน้าน้องหมีบนพื้นผิวดาวอังคารจากภาพถ่ายของนาซา

โดยในอวกาศมีวัตถุท้องฟ้ามากมายที่เราพยายามเปรียบเทียบด้วยสิ่งที่มีรูปร่างคล้ายกันบนโลก เช่น เนบิวลาหัวม้า (Horsehead Nebula), กระต่ายบนดวงจันทร์ หรือแม้กระทั่งกาแล็กซีก้นหอย (Spiral Galaxy)

พบหน้าน้องหมีบนพื้นผิวดาวอังคารจากภาพถ่ายของนาซา

สำหรับยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์นั้น เป็นยานโคจรรอบดาวอังคารเพื่อสำรวจของนาซา ซึ่งเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2006 โดยมันได้รับการขนานนามว่าเป็นยานอวกาศที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่เคยมีการส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่น


ข้อมูลจาก Space.com

ภาพจาก LPL

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง