TNN online สิงคโปร์เปลี่ยน “กากธัญพืช” เป็น “บรรจุภัณฑ์” รันวงการสิ่งแวดล้อม!

TNN ONLINE

Tech

สิงคโปร์เปลี่ยน “กากธัญพืช” เป็น “บรรจุภัณฑ์” รันวงการสิ่งแวดล้อม!

สิงคโปร์เปลี่ยน “กากธัญพืช” เป็น “บรรจุภัณฑ์” รันวงการสิ่งแวดล้อม!

กากธัญพืชที่กลายเป็นขยะ จะไม่ไร้ค่าอีกต่อไป เมื่อมีสตาร์ตอัปในสิงคโปร์ที่นำเอากากธัญพืชมารีไซเคิล เปลี่ยนให้เป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ ลดปัญหาการใช้พื้นที่ฝังกลบขยะ และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม

สตาร์ตอัปสิงคโปร์คิดค้นวิธีแก้ปัญหาขยะเศษอาหารจำพวกกากธัญพืช ด้วยการนำมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ หวังช่วยแก้ปัญหาการฝังกลบขยะซึ่งนอกจากจะกินพื้นที่บนโลก ยังก่อภาวะโลกร้อน เนื่องจากการฝังกลบจะทำให้เกิดก๊าซมีเทน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกนั่นเอง


สิงคโปร์เปลี่ยน “กากธัญพืช” เป็น “บรรจุภัณฑ์” รันวงการสิ่งแวดล้อม! ภาพจาก Alterpacks

หยิบ "กากธัญพืช" มาสร้างมูลค่าใหม่

สตาร์ตอัป อัลเทอร์แพ็กส์ (Alterpacks) ตั้งเป้าลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ที่มักจะนำมาทำภาชนะใส่อาหาร ด้วยการใช้วัตถุดิบจาก “กากธัญพืช” ที่หาได้ง่าย โดยส่วนใหญ่จะเป็น มอลต์ ข้าวบาร์เลย์ และกากธัญพืชที่เหลือมาจากการผลิตเบียร์ ซึ่งปกติกากธัญพืชเหล่านี้ มักนำไปเป็นอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย หรือกลบทิ้งให้เสียเปล่า แต่บริษัทจะเอามารีไซเคิล ทำเป็นวัสดุขึ้นรูปภาชนะใหม่ 


สิงคโปร์เปลี่ยน “กากธัญพืช” เป็น “บรรจุภัณฑ์” รันวงการสิ่งแวดล้อม! ภาพจาก Alterpacks

 

โดยระบุว่ากระบวนการแปรรูปกากธัญพืชที่ใช้แล้วให้เป็นภาชนะใส่อาหาร ก็จะคล้ายคลึงกับกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ ที่จะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ทำความสะอาดวัตถุดิบ ผสมสูตร แล้วกดลงในตัวพิมพ์ภาชนะรูปต่าง ๆ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะเป็นภาชนะใส่อาหาร จาน ช้อน ส้อม ที่ขึ้นรูปเป็นทรงต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ รวมถึงผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และสำนักงานอาหารแห่งสิงคโปร์ (SFA) สำหรับใช้ใส่อาหาร แช่ในช่องแช่แข็ง ใช้กับเตาไมโครเวฟได้ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย 




สิงคโปร์เปลี่ยน “กากธัญพืช” เป็น “บรรจุภัณฑ์” รันวงการสิ่งแวดล้อม! ภาพจาก Alterpacks

 


ขยะเพิ่มขึ้น โลกก็ร้อนขึ้น

มีข้อมูลสถิติจาก เวิร์ล แบงก์ (World Bank) หรือธนาคารโลก เมื่อปี 2018 ที่ระบุว่าในทุก ๆ ปีจะมีขยะอาหารบนโลกกว่า 2 พันล้านตัน รวมถึงยังมีสถิติจาก UNEP ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้องค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่าภาวะโลกร้อน  8-10% มาจากการฝั่งกลบขยะอาหาร และหนึ่งในข้อจำกัดสำคัญของประเทศสิงคโปร์ตอนนี้ คือมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด อัลเทอร์แพ็กส์ จึงคิดค้นวิธีการจัดการกับขยะอาหาร แทนการฝังกลบนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่น่าสนใจสำหรับประเทศอื่น ๆ ที่เจอปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่คล้ายกัน



ข้อมูลจาก techcrunch,  alterpacks,  unep

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง