TNN online Virgin Orbit ภารกิจล้มเหลวส่งจรวดพร้อมดาวเทียมจากเครื่องบินไม่สำเร็จ

TNN ONLINE

Tech

Virgin Orbit ภารกิจล้มเหลวส่งจรวดพร้อมดาวเทียมจากเครื่องบินไม่สำเร็จ

Virgin Orbit ภารกิจล้มเหลวส่งจรวดพร้อมดาวเทียมจากเครื่องบินไม่สำเร็จ

ภารกิจสตาร์ตมีอัป (Start Me Up) ใช้รูปแบบการส่งดาวเทียมจากเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 747-400 ที่ได้รับการดัดแปลงใหม่สำหรับภารกิจอวกาศ

วันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา บริษัท เวอร์จิน ออร์บิท (Virgin Orbit) ประสบความล้มเหลวในการปล่อยจรวดขนส่งดาวเทียม 9 ดวง จากเครื่องบินขึ้นสู่อวกาศ ภารกิจมีชื่อว่าสตาร์ตมีอัป (Start Me Up) ภารกิจแรกที่อังกฤษส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศโดยใช้การปล่อยจรวดขนส่งอวกาศจากเครื่องบิน


ภารกิจสตาร์ตมีอัป (Start Me Up) ใช้รูปแบบการส่งดาวเทียมจากเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 747-400 ที่ได้รับการดัดแปลงใหม่สำหรับภารกิจอวกาศชื่อว่า คอสมิกเกิลส์ (Cosmic Girl) ดาวเทียมจำนวน 9 ดวง ถูกบรรทุกอยู่ในจรวดขนาดเล็กลันเชอร์วัน (LauncherOne) ที่ติดตั้งเข้ากับปีกด้านข้างของเครื่องบิน 


สำหรับดาวเทียมทั้ง 9 ดวง ในภารกิจนี้เป็นดาวเทียมขนาดเล็กถูกกำหนดให้ทำการสำรวจภาพถ่ายพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ดาวเทียมสำรวจสภาพแวดล้อม การป้องกันการค้ามนุษย์ ลักลอบขนของเถื่อน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อภารกิจนี้ล้มเหลวทำให้ดาวเทียมทั้งหมดไม่ได้ถูกใช้งานตามที่วางแผนไว้


จรวดขนาดเล็กลันเชอร์วัน (LauncherOne) โครงสร้างถูกออกแบบให้มีความยาว 70 ฟุต น้ำหนักประมาณ 30 ตัน จรวดเป็นรูปแบบจรวดเชื้อเพลิงเหลวทำงานเป็น 2 ขั้นตอน สามารถส่งดาวเทียมไปบริเวณวงโคจรต่ำ หรือระดับความสูงจากพื้นที่ดินถึง 300 กิโลเมตร จุดเด่น ของจรวดลันเชอร์วัน (LauncherOne) อยู่ที่ขนาดเล็กบรรทุกด้วยเครื่องบินขนส่งได้ จรวดถูกผลิตในเมืองลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  


ขั้นตอนการปล่อ่ยจรวดโดยเครื่องบินเริ่มต้นเมื่อเครื่องบินคอสมิกเกิลส์ (Cosmic Girl) เดินทางไปถึงระดับความสูงประมาณ 30,000 ฟุต หรือประมาณ 9.1 กิโลเมตร จรวดขนาดเล็กลันเชอร์วัน (LauncherOne) จะทำการแยกตัวออกจากเครื่องบินคอสมิกเกิลส์ (Cosmic Girl) เพื่อติดเครื่องยนต์จรวดออกเดินทางไปสู่อวกาศ 


แม้ว่าภารกิจจะไม่ประสบความสำเร็จแต่นับเป็นความพยายามในการส่งดาวเทียมขนาดเล็กรูปแบบใหม่ที่สามารถประหยัดพลังงานไม่ต้องใช้จรวดขนาดใหญ่ส่งจากพื้นโลก รวมไปถึงวิธีการดังกล่าวสามารถใช้ปล่อยดาวเทียมได้จากหลายตำแหน่งบนโลก




ที่มาของข้อมูล Newatlas

ที่มาของรูปภาพ Virginorbit 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง