TNN online ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี

TNN ONLINE

Tech

ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี

ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี

บทความนี้เราจึงจะขอเลยหยิบยกตัวอย่างของนวัตกรรมพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลการเลี้ยงสัตว์จากหลากหลายประเทศมาให้ได้อ่านกัน



ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาจนครอบคลุมไปในหลากหลายด้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับมนุษย์แล้ว ก็ยังมีนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงยอดฮิตอย่างสุนัข หรือแมว รวมถึงสัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงเพื่อเป็นการสร้างรายได้ เช่น วัว หรือผึ้ง บทความนี้เราจึงจะขอเลยหยิบยกตัวอย่างของนวัตกรรมพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลการเลี้ยงสัตว์จากหลากหลายประเทศมาให้ได้อ่านกัน 


Beewise ที่พักอาศัยสำหรับผึ้ง

 

บีไวซ์ (Beewise) เป็นผลงานจากสตาร์ตอัปในประเทศอิสราเอล ที่ได้พัฒนารังผึ้งอัจฉริยะขึ้นมาเพื่อเป็นที่พักอาศัยสำหรับผึ้ง โดยจุดเด่นของบีไวซ์นั้นคือความสามารถในการควบคุม และตรวจดูสภาพแวดล้อมภายในรังผึ้งได้จากระยะไกล เพื่อให้ผู้เลี้ยง สามารถดูแลคุณภาพการอยู่อาศัยของผึ้งให้ได้ดียิ่งขึ้น


ตัวรังผึ้งอัจฉริยะนี้ มีลักษณะคล้ายตู้คอนเทนเนอร์ บริเวณหลังคาจะติดตั้งแผงโซลาเซลล์ เพื่อช่วยผลิตพลังงานไฟฟ้า สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ พร้อมด้วยการติดตั้งระบบปรับอุณหภูมิ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของผึ้ง และยังสามารถช่วยไล่แมลงที่เป็นศัตรูของผึ้งออกไปจากรังได้อีกด้วย


ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี


ภายในรังผึ้งอัจฉริยะจะประกอบด้วยชั้นบรรจุรังผึ้งต่าง ๆ ที่สามารถรองรับผึ้งได้มากถึง 2,000,000 ตัว และในแต่ละรังจะมีเซนเซอร์คอยตรวจจับสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับของอุณหภูมิ ความชื้น หรือการตรวจจับการเกิดโรคภายใน เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ดูแล และถ้าหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับผึ้งในรังนั้น ๆ ผู้ดูแลก็จะสามารถควบคุมหุ่นยนต์ AI หรือหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ ที่อยู่ประจำแต่ละรังผึ้งจากระยะไกล เพื่อให้มันทำการให้ยารักษา หรือสั่งให้อาหารแก่ผึ้งได้ รวมถึงยังใช้ในการรีดเก็บน้ำผึ้งได้อีกด้วย


ข้อดีของการใช้รังผึ้งอัจฉริยะนี้ ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และดูแลสภาพความเป็นอยู่ของผึ้งได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการเลี้ยงผึ้งแบบทั่วไป ที่บางครั้งกว่าจะพบปัญหาก็อาจทิ้งไว้เป็นเวลานานหลายเดือนจนกระทบต่อผึ้งทั้งรัง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้เลี้ยงผึ้งได้ทั้งเพื่อการสร้างรายได้จากน้ำผึ้งและการอนุรักษ์ผึ้งไปพร้อม ๆ กัน


COOL DOG ชุดสัตว์เลี้ยงติดพัดลมส่วนตัว 


COOL DOG เป็นชุดจากผู้ผลิตเสื้อผ้าในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้ร่วมมือกับสัตวแพทย์เพื่อออกแบบชุดติดพัดลม โดยหวังว่าจะช่วยป้องกันสัตว์เลี้ยงเป็นลมแดดในฤดูร้อนเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนระอุในประเทศญี่ปุ่นซึ่งร้อนมาก ๆ 


ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี


ตัวชุดมีให้เลือก 5 ขนาด สามารถใส่ได้ทั้งสุนัขและแมว มาพร้อมอุปกรณ์คือพัดลมแบบสวมใส่ได้ น้ำหนักประมาณ 80 กรัม ยึดติดกับชุดด้านหลังของสัตว์เลี้ยง ตัวพัดลมทำงานด้วยแบตเตอรีขนาดเล็ก โดยผู้ผลิตเคลมว่าใส่ถ่าน AAA เพียงแค่สองก้อนเท่านั้นก็สามารถทำงานได้ยาวนานถึงสามเดือน ตัวชุดนั้นทำงานได้ค่อนข้างเรียบง่าย ตัวพัดลมจะทำการเป่าลมไปตามช่องของตาข่ายของชุด ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อลดอุณหภูมิของสัตว์เลี้ยงลง


ผู้พัฒนาได้แรงบันดาลใจในการทำชุดนี้ หลังจากที่เห็นสุนัขพันธุ์ชิวาวาที่เลี้ยงไว้หมดแรงทุกครั้งที่พามันออกไปเดินเล่นนอกบ้าน ตัวชุดราคาชุดละ 9,900 เยน หรือประมาณ 2,700 บาทเท่านั้น


True Digital COW ระบบติดตามพฤติกรรมวัวอัจฉริยะ


True Digital COW ระบบติดตามพฤติกรรมวัวอัจฉริยะนั้น เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานผ่าน IoT หรืออุปกรณ์ Internet of things ซึ่งประกอบด้วย Tag หรือเซนเซอร์ที่จะถูกติดตั้งไว้ที่หูของวัว ซึ่ง tag นี้ จะทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของวัวไว้ในหน่วยความจำ เช่น พฤติกรรมการกิน การเคี้ยวเอื้อง  และส่งข้อมูลออกมาที่ตัวรับสัญญาณที่อยู่ในบริเวณฟาร์ม 


ข้อมูลจะถูกนำไปประมวลผลบนระบบ และแจ้งเตือนมายังผู้ใช้งาน ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือผ่านทางเว็บไซต์ ช่วยให้ผู้เลี้ยงทราบข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับวัวได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ไม่ว่าจะเป็นรอบการผสมพันธุ์หรือว่าติดสัด รูปแบบในการเคี้ยว อารมณ์ และสุขภาพของวัว รวมไปถึงพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ทำให้เจ้าของฟาร์มหรือสัตวแพทย์ สามารถวิเคราะห์ ดูแล วางแผน การให้ผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี


อุปกรณ์ที่ทำให้งูกลับมามีขาเดินได้อีกครั้ง


เอลเลน แพน (Allen Pan) เป็นยูทูบเบอร์หนุ่มรายหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ที่ชื่นชอบสัตว์ประเภทงูเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว รวมถึงมีความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ก็เลยได้ลงทุนคิดค้นอุปกรณ์ขาเทียมที่ช่วยให้งูกลับมามีขาเดินได้ ย้อนคืนวิวัฒนาการหลายล้านปี ก็ทำออกมาได้แปลกตาจนโกยยอดวิวไปได้หลายล้านวิว


เอลเลน แพน นั้นมีหลายรุ่น แต่ละรุ่นล่าสุดนั้นจะมีลักษณะเป็นท่อใสสำหรับให้งูเลื้อยเข้าไปได้ โดยรอบท่อจะมีขาหุ่นยนต์จำนวน 4 ขา แต่ละขาจะติดตั้งเซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) หรือมอเตอร์ควบคุมการเคลื่อนที่จำนวน 2 ตัว เชื่อมต่อกับแผงควบคุม ที่สั่งการแบบไร้สายได้ และเขาได้โปรแกรมให้มันตัวขาเทียมนี้เริ่มเดินเมื่อใดก็ตามที่งูเลื้อยเข้าไปในท่อ ซึ่งผลการทดลองก็ออกมาสำเร็จด้วยดี ขาเทียมช่วยให้งูเดินไปมาได้


ตัวช่วยเลี้ยงสัตว์ยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยี



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง