TNN DARPA พัฒนาโดรนบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งขนาดเล็กด้านการทหาร

TNN

Tech

DARPA พัฒนาโดรนบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งขนาดเล็กด้านการทหาร

DARPA พัฒนาโดรนบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งขนาดเล็กด้านการทหาร

โดรนบินรุ่นใหม่นี้ถูกเรียกว่า AdvaNced airCraft Infrastructure-Less Launch And RecoverY X-Plane หรือ ANCILLARY

สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงด้านการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ หรือ DARPA กำลังพยายามพัฒนาโดรนบินขนาดเล็กที่สามารถบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง (VTOL) เพื่อใช้ในภารกิจด้านการทหาร ลดกำลังพลที่เป็นมนุษย์และเพิ่มขีดความสามารถในการทำสงครามรูปแบบใหม่ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีโดรนบินมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่นั่งสองฝ่ายได้ใช้โดรนบินรูปแบบต่าง ๆ ทำสงคราม


โดรนบินรุ่นใหม่นี้ถูกเรียกว่า AdvaNced airCraft Infrastructure-Less Launch And RecoverY X-Plane หรือแอนเซอร์ลารี (ANCILLARY) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโดรนบินสำหรับใช้งานในพื้นที่แนวหน้าที่ไม่มีฐานทัพอากาศหรือโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ มีขีดความสามารถในการบินปฏิบัติการแม้สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย 


รองรับภารกิจของทหารราบภาคพื้นดินและทหารเรือบนเรือรบกลางทะเล โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ยิงและรองรับการลงจอด รายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโดรนบินรุ่นใหม่นี้ยังถูกเก็บเป็นความลับด้านการทหาร ทราบเพียงรายละเอียดเบื้องต้นในวิดีโอแนะนำโปรแกรมการพัฒนาที่เผยแพร่โดยหน่วยงานแสดงภาพนักบินที่เป็นมนุษย์ควบคุมโดรนบินด้วยแท็บเล็ต ทำให้เชื่อว่าโดรนบินรุ่นใหม่นี้สามารถถูกควบคุมได้จากระยะไกลหรือขับเคลื่อนอัตโนมัติ


โดรนบินแอนเซอร์ลารี (ANCILLARY)


โดรนบินแอนเซอร์ลารี (ANCILLARY) ติดตั้งใบพัดจำนวน 3 ชุด ใช้พลังงานไฮบริดพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิง ลดเสียงรบกวนขณะทำการบินบนท้องฟ้าเพื่อลดโอกาสการถูกตรวจพบ โดรนสามารถขนส่งอุปกรณ์ด้านการทหารและปัจจัยอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการสู้รบ การทำงานเชื่อมต่อดาวเทียม ติดตั้งกล้องบันทึกภาพวิดีโอและกล้องสอดแนมเพื่อทำภารกิจรวบรวมข้อมูลข่าวสารและภารกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากการขนส่งอุปกรณ์ด้านการทหาร อาจรวมไปถึงการติดอาวุธโจมตี


โครงการพัฒนาอากาศยานบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง


ปัจจุบันกองทัพสหรัฐอเมริกามีโครงการพัฒนาโดรนบินในลักษณะบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง VTOL ใกล้เคียงกับโดรนบินแอนเซอร์ลารี (ANCILLARY) อยู่หลายโครงการ เช่น โครงการ Agility Prime ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา โครงการแท็กซี่อากาศ Joby Aviation ที่เน้นใช้งานในภารกิจขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ เป็นต้น




ที่มาของข้อมูล space.com

ที่มาของรูปภาพ darpa.mil

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ