TNN online เผยภาพดาวพฤหัสเรืองแสงออโรรา โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

TNN ONLINE

Tech

เผยภาพดาวพฤหัสเรืองแสงออโรรา โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

เผยภาพดาวพฤหัสเรืองแสงออโรรา โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จับภาพดาวพฤหัสบดีเรืองแสงออโรราบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้ของดาวเคราะห์

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์จากนาซา (NASA) และองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Spacetelescope) ถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องคลื่นอินฟราเรดช่วงใกล้ (Near-Infrared Camera หรือ NIRCam) กล้องตัวหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ที่ทำหน้าที่ตรวจจับคลื่นความร้อนย่านใกล้อินฟราเรด


โดยใช้กล้อง NIRCam ถ่ายหลาย ๆ ภาพ ควบคู่ไปกับการใช้ฟิลเตอร์จับคู่สีจำนวน 3 สี ได้แก่ แดง, น้ำเงินและเขียว เนื่องจากแสงอินฟราเรดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แสงจึงถูกจับคู่เข้ากับสเปกตรัมที่มองเห็นได้ด้วยฟิลเตอร์ โดยความยาวคลื่นที่ยาวที่สุดจะปรากฏเป็นสีแดง และความยาวคลื่นที่สั้นที่สุดจะแสดงเป็นสีน้ำเงิน หลังจากนั้นจึงนำภาพทั้งหมดมารวมเป็นภาพเดียวกันด้วยโปรแกรมทางดาราศาสตร์

เผยภาพดาวพฤหัสเรืองแสงออโรรา โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

เผยให้เห็นภาพดาวพฤหัสบดีที่มีแสงออโรราอยู่บริเวณขั้วโลกของดาวเคราะห์ ทั้งเหนือและใต้, จุดแดงใหญ่ และการก่อตัวของกลุ่มเมฆ ซึ่งเห็นเป็นสีขาวเนื่องจากเกิดการสะท้อนกับแสงจากดวงอาทิตย์ในปริมาณมาก


อีกทั้ง ยังเผยให้เห็นวงแหวนที่จางมากของดาวพฤหัสบดีและดาวบริวารที่มีขนาดเล็กกว่าสองดวง ได้แก่ แอมัลเธีย (Amalthea) ณ จุดสว่างทางด้านซ้ายสุดของภาพ และแอดรัสเทีย (Adrastea) ณ จุดที่ขอบด้านซ้ายของวงแหวนตรงกลาง


อย่างไรก็ตาม นอกจากภาพถ่ายนี้จะเผยให้เห็นถึงความสวยงามของดาวพฤหัสบดีแล้ว ยังช่วยให้ทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจพฤติกรรมของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์ชั้นนอก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส ซึ่งทั้งหมดเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ และดาวพฤหัสบดียังครองตำแหน่งดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลมากกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า


ข้อมูลและภาพจาก esawebb.org

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง