TNN online ลุ้น ! ทดลองปลูกถ่ายกระจกตาทำจากหนังหมู หวังฟื้นฟูการมองเห็น

TNN ONLINE

Tech

ลุ้น ! ทดลองปลูกถ่ายกระจกตาทำจากหนังหมู หวังฟื้นฟูการมองเห็น

ลุ้น ! ทดลองปลูกถ่ายกระจกตาทำจากหนังหมู หวังฟื้นฟูการมองเห็น

หนังหมูกำลังจะกลายร่างมาเป็นกระจกตาสำหรับผู้ป่วย ซึ่งถ้าการทดสอบครั้งนี้สำเร็จ คงจะกลายเป็นความหวังใหม่ที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตากลับมามองเห็นได้ดีอีกครั้ง

ต่อไปนี้ "หนังหมู" ที่เราเห็นกันอยู่อาจจะกลายมาเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูการมองเห็นให้กับผู้ป่วยทั่วโลก เมื่อล่าสุดได้มีการวิจัยทดสอบการปลูกถ่ายกระจกตา ซึ่งทำจากคอลลาเจนที่ทำมาจากหนังหมู โดยผลการทดสอบพบว่าสามารถฟื้นฟูการมองเห็นให้กับอาสาสมัคร 20 คนในการวิจัยนำร่องได้สำเร็จ 


งานวิจัยชิ้นนี้พัฒนาโดยทีมวิจัยจาก Linköping University ในประเทศสวีเดน โดยทีมวิจัยมองเห็นปัญหาว่าในปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายกระจกตาเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยจำนวนผู้บริจาคที่ไม่เพียงพอ ต้นทุนการผ่าตัดและการรักษาที่ราคาสูง และข้อจำกัดของการใช้กระจกตามนุษย์ ที่ต้องรีบใช้ภายในสองอาทิตย์หลังรับมาจากผู้บริจาค ทำให้คนนับล้านทั่วโลกอาจจะเข้าถึงกระบวนการผ่าตัดนี้ได้ยากขึ้น


ลุ้น ! ทดลองปลูกถ่ายกระจกตาทำจากหนังหมู หวังฟื้นฟูการมองเห็น ภาพจาก nature.com

ด้วยปัญหานี้ ทีมวิจัยจึงต้องการหาวิธีการปลูกถ่ายกระจกตาแบบใหม่ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกได้รับการปลูกถ่ายกระจกตาได้ง่ายขึ้น จึงศึกษาวิธีการใช้คอลลาเจนเกรดการแพทย์ที่ทำมาจากผิวหนังของหมู ในการหล่อขึ้นรูปกระจกตาสังเคราะห์ ซึ่งข้อดีคือไม่เพียงแต่จะมีราคาถูกแต่ยังเก็บได้นานเกือบสองปีอีกด้วย


โดยทีมวิจัยได้ทำการทดสอบปลูกถ่ายกระจกตาสังเคราะห์จากคอลลาเจนในหนังหมู กับอาสาสมัครจำนวน 20 คน ซึ่งมี 14 คนที่ตาบอดสนิท ปรากฏว่าหลังจากติดตามผลเป็นเวลา 2 ปี อาสาสมัครทั้ง 20 คน สามารถฟื้นฟูการมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์และไม่มีอาการข้างเคียงใด ๆ  และได้ตีพิมพ์รายละเอียดของงานวิจัยชิ้นนี้ ในวารสารวิจัย Nature Biotechnology เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา


ลุ้น ! ทดลองปลูกถ่ายกระจกตาทำจากหนังหมู หวังฟื้นฟูการมองเห็น ภาพจาก nature.com

อย่างไรก็ตามถึงแม้ผลการวิจัยจะค่อนข้างประสบความสำเร็จด้วยดี แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่การทดสอบวิจัยในโครงการนำร่องเท่านั้น ยังคงต้องมีการทดสอบทางคลินิกและหวังว่าจะพัฒนาไปเป็นทางเลือกที่ง่ายและราคาถูกกว่า เพื่อประโยชน์ของคนนับล้านที่รอการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาจากทั่วโลก


ขอบคุณข้อมูลจาก

nature

newatlas

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง