TNN online นักวิจัย MIT พัฒนาหุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กเรืองแสงในที่มืด

TNN ONLINE

Tech

นักวิจัย MIT พัฒนาหุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กเรืองแสงในที่มืด

นักวิจัย MIT พัฒนาหุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กเรืองแสงในที่มืด

กลไกในการสร้างแสงทั้งหมดมีน้ำหนักเพียง 2.5% ของน้ำหนักหุ่นยนต์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำเพียง 3% เท่านั้น

นักวิจัย MIT พัฒนาหุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กเรืองแสงในที่มืดรอบทิศทาง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากหิ่งห้อยในธรรมชาติสามารถต่อยอดงานวิจัยไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ใช้การเรืองแสงส่องสว่างเพื่อการติดต่อสื่อสารในอนาคต 


งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากการพัฒนาหุ่นยนต์บินน้ำหนักเบาพิเศษในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมาเรียกว่าไมโครโดรนแบบกระพือปีก (Micro Drones) หุ่นยนต์ขนาดเล็กเชื่อมต่อกัน 4 ตัว ใช้ปีกลักษณะเลียนแบบปีกของแมลงช่วยในการบิน ผลงานการวิจัยพัฒนาของนักวิทยาศาสตร์จาก MIT และมหาวิทยาลัยฮ่องกง (City University of Hong Kong)


หุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กบินได้ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้ากระตุ้นแบบอ่อนไปยังกระบอกสูบที่สร้างจากอีลาสโตเมอร์ (Elastomer) และท่อนาโนคาร์บอน (Carbon Nanotubes) จัดวางเป็นชั้น ๆ สลับกัน เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะทำให้กลไกเกิดแรงในการกระพือปีกคล้ายปีกแมลงในธรรมชาติ


นักวิจัยต่อยอดจากเทคนิคการบินดังกล่าวข้างต้นโดยเสริมอนุภาคซิงค์ซัลเฟตเข้าไปในชั้นของอีลาสโตเมอร์ (Elastomer) นอกสุด อนุภาคซิงค์ซัลเฟต (Zinc sulfate) สามารถเรืองแสงได้เมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า การเปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมีที่เกิดขึ้นทำให้สามารถสร้างแสงสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีเขียว สีส้มและสีน้ำเงิน นอกจากนี้ยังสามารถจัดเรียงสีสันเป็นตัวอักษรขนาดเล็ก เช่น M, I และ T


จุดเด่นของการพัฒนาหุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กที่สามารถเรืองแสงได้ในครั้งนี้ คือ การพัฒนากระบวนสร้างแสงโดยใช้กลไกขนาดเล็ก นักวิจัยพบกว่ากลไกในการสร้างแสงทั้งหมดมีน้ำหนักเพียง 2.5% ของน้ำหนักหุ่นยนต์ทั้งหมด นอกจากนี้ยังใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำเพียง 3% เท่านั้น สำหรับแผนการลำดับต่อไปทีมงานนักวิจัยจะเพิ่มความสามารถของหุ่นยนต์หิ่งห้อยขนาดเล็กให้สามารถสื่อสารระหว่างกันด้วยแสงคล้ายหิ่งห้อยในธรรมชาติ


แม้จะเป็นเพียงการพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สามารถเรืองแสงส่องสว่างได้แต่หากงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดอาจนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยลดขนาดและการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ เช่น อุปกรณ์สมาร์ตโฟน ระบบการติดต่อสื่อสาร การพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็ก เป็นต้น




ที่มาของข้อมูล newatlas.com 

ที่มาของรูปภาพ mit.edu 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง