TNN online สหรัฐฯ ทดสอบใช้เลเซอร์ที่ติดบนรถหุ้มเกราะทำลายกระสุนปืนครกได้สำเร็จ

TNN ONLINE

Tech

สหรัฐฯ ทดสอบใช้เลเซอร์ที่ติดบนรถหุ้มเกราะทำลายกระสุนปืนครกได้สำเร็จ

สหรัฐฯ ทดสอบใช้เลเซอร์ที่ติดบนรถหุ้มเกราะทำลายกระสุนปืนครกได้สำเร็จ

เรย์ธีออน (Raytheon) ประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องยิงเลเซอร์กำลังสูงที่ติดตั้งบนรถหุ้มเกราะทำลายกระสุนปืนครก โดรน และอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กอื่น ๆ ได้อย่างแม่นยำ

โดรน กระสุนปืนครก วัตถุระเบิดและอาวุธวิถีโค้งต่าง ๆ นั้นเป็นภัยคุกคามที่เหล่าทหารราบกังวลมากที่สุดในการออกรบหรือการเดินทาง แต่เทคโนโลยีเลเซอร์กำลังสูงทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เป็นอาวุธป้องกันทางยุทธวิธีมากขึ้น ล่าสุดเรย์ธีออน เทคโนโลยี (Raytheon Technologies) บริษัทพัฒนาอาวุธชื่อดังของสหรัฐฯ ได้พัฒนาเครื่องปล่อยเลเซอร์กำลังสูงสำหรับติดตามและทำลายภัยคุกคามทางอากาศที่ใหญ่ระดับกระสุนปืนครกขนาด 60 มิลลิเมตรได้สำเร็จ ในการซ้อมรบที่รัฐนิวเม็กซิโกเมื่อ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา


กองทัพสหรัฐฯ มีนโยบายให้กำลังรบมีขีดความสามารถในการรบหลายมิติ เช่น ภัยคุกคามจากอาวุธ ข้าศึก ภัยคุกคามทางนั้น และภัยคุกคามทางอากาศ ซึ่งทางกองทัพเลือกใช้การพัฒนาส่วนติดตั้งเสริมกับยานพาหนะเป็นหนึ่งในการพัฒนาระดับการป้องกันกำลังพล โดยเรย์ธีออน เทคโนโลยี (Raytheon Technologies) ได้พัฒนาโมดูล (Module) ติดตั้งกับรถหุ้มเกราะชื่อดังอย่างสไตรเกอร์ (Stryker) ที่กองทัพไทยก็เลือกจัดซื้อจากสหรัฐฯ ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (Government to Government: G to G) ไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้สามารถสกัดกั้นและทำลายภัยคุกคามทางอากาศระยะใกล้ได้โดยไม่ต้องออกจากรถหุ้มเกราะ


อาวุธเลเซอร์แบบโซลิดสเตต (Solid-state Laser Weapon) เครื่องดังกล่าวมีกำลังขับอยู่ที่ 50 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งเป็นเลเซอร์กำลังสูงที่ใช้กระบวนการทางฟิสิกส์สร้างขึ้นมา มีอานุภาพเพียงพอในการทำลายรถยนต์ที่อยู่ห่างออกไปในหลักกิโลเมตร ซึ่งทางบริษัทได้พัฒนาให้สามารถติดตั้งบนสไตรเกอร์ (Stryker) ได้ พร้อมกับพัฒนาระบบติดตามเป้าหมายและทำลายในระยะไกล ซึ่งทางกองทัพได้นำระบบดังกล่าวไปทดสอบติดตั้งและใช้งานจริงที่สนามทดสอบขีปนาวุธไวท์แซนด์ส (White Sands Missile Range) ในรัฐนิวเม็กซิโก


การทดสอบที่จัดขึ้นจะให้ระบบอาวุธป้องกันทำงานควบคู่กับระบบตรวจจับแบบอินฟราเรด (EO/IR) เพื่อยกระดับการป้องกันเป็น 360 องศา รอบตัวรถ พร้อมยิงปืนครกขนาด 60 มิลลิเมตร หลายนัด รวมถึงปล่อยโดรนทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่เข้าหาในรูปแบบภัยคุกคาม ซึ่งอาวุธเลเซอร์ชิ้นนี้สามารถทำลายภัยคุกคามทั้งหมดได้ในระยะไกลจากตัวรถทั้งหมด


แอนนาเบล ฟลอเรส (Annabel Flores) ประธานฝ่ายภัยสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทกล่าวว่า บริษัทได้ผ่านด่านแรกที่สำคัญในการสร้างอุปกรณ์ป้องกันภัยสำหรับทหารระยะใกล้ซึ่งติดตั้งได้สะดวกแล้ว โดยอาวุธเลเซอร์สำหรับป้องกันมีต้นทุนการยิงในแต่ละครั้งไม่เกิน 35 บาท เท่านั้น แต่อานุภาพกลับสามารถทำลายกระสุนปืนใหญ่ กระสุนปืนครก และโดรนที่มีมูลค่าเป็นหมื่นถึงแสนเท่าได้อย่างง่ายดายและทรงพลัง



ที่มาข้อมูล newatlas.com

ที่มารูปภาพ US Army, Raytheon

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง