TNN online ชุดหูฟัง AI วิเคราะห์สมองนักบินอวกาศเพื่อการเดินทางระยะยาวในอวกาศ

TNN ONLINE

Tech

ชุดหูฟัง AI วิเคราะห์สมองนักบินอวกาศเพื่อการเดินทางระยะยาวในอวกาศ

ชุดหูฟัง AI วิเคราะห์สมองนักบินอวกาศเพื่อการเดินทางระยะยาวในอวกาศ

ชุดหูฟัง AI วิเคราะห์สมองนักบินอวกาศ เตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางระยะยาวในอวกาศ

ชุดหูฟัง EEG จะถูกส่งไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station (ISS) ด้วยแคปซูล Dragon ในภารกิจ Axiom 1 (AX 1) ซึ่งเป็นภารกิจส่งนักบินอวกาศเอกชนไปสถานีอวกาศนานาชาติ มีกำหนดการเที่ยวบินในวันที่ 6 เมษายน 2022 ที่จะถึงนี้ โดยชุดหูฟัง EEG จะทำการวิเคราะห์กิจกรรมทางระบบประสาทของนักบินอวกาศเพื่อทำความเข้าใจว่าสภาวะไร้น้ำหนักส่งผลต่อสมองอย่างไร


ภายในชุดหูฟัง EEG ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ประมาณ 500 ตัว ที่ดูเหมือนแปรงขนาดเล็ก ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในสมองสื่อสารกัน หลังจากนั้นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะทำหน้าที่ตัดสัญญาณและตีความข้อมูล โดยนักบินอวกาศในภารกิจ AX 1 จะต้องทำการสวมใส่ชุดหูฟัง EEG เป็นเวลา 20 นาที 3 ช่วงเวลาและทำตลอดระยะเวลา 8 วัน ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งกลับมายัง brain.space และนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Ben-Gurion เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก AI และจะมีการทำการทดลองเช่นเดียวกันนี้เมื่อนักบินอวกาศเดินทางกลับสู่พื้นโลก เพื่อหาความแตกต่างของข้อมูลทั้ง 2 ชุด


เมื่อมนุษย์อยู่ในสภาวะเกือบไร้แรงโน้มถ่วงหรือไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานานจะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เกิดอาการลีบ, หัวใจทำงานผิดปกติ, ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดีในช่วงล่างของร่างกายและมวลกระดูกกระดูกลดลง ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพที่ตรวจพบได้ในนักบินอวกาศ แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทระหว่างที่มนุษย์อาศัยอยู่ในอวกาศ


"ในอนาคตภารกิจการเดินทางบนอวกาศจะยาวนานขึ้นเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบของสภาวะไร้น้ำหนักต่อร่างกายของนักบินอวกาศเป็นอย่างมาก" Yair Levy ซีอีโอของ brain.spaceริษัทผู้ผลิตชุดหูฟัง EEG


ข้อมูลจาก thenextweb.com

ภาพจาก brain.space

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง