TNN online ริกเตอร์ (Richter) หน่วยเรียกขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวหายไปไหน ?

TNN ONLINE

Tech

ริกเตอร์ (Richter) หน่วยเรียกขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวหายไปไหน ?

ริกเตอร์ (Richter) หน่วยเรียกขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวหายไปไหน ?

ริกเตอร์ (Richter) หน่วยเรียกความรุนแรงของแผ่นดินไหวถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักวิทยาศาสตร์ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbreg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter)

วันพุธที่ 16 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 มีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งจังหวัดฟุกุชิมะ สร้างความตระหนกตกใจให้กับประชาชนชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมากเพราะนอกจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวระบบไฟฟ้าในตัวเมืองยังประสบปัญหาซ้ำเพิ่มเติม หากย้อนไปในวันที่ 11 มีนาคม 2011 เกิดแผ่นดินไหวบริเวณเดียวกันและทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 คน


ในอดีตเราเคยได้ยินชื่อหน่วยเรียกแผ่นดินไหวเป็นริกเตอร์ (Richter) เช่น แผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าริกเตอร์เป็นหน่วยที่ใช้วัดค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวแต่ความจริงแล้วคำว่าริกเตอร์ถูกใช้เพื่อเป็นเกียรติให้กับนักวิทยาศาสตร์ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbreg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter) นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คน อุทิศตนให้กับการศึกษาแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย โดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์เพื่อเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวจากลอการิทึมของแอมพลิจูดของคลื่นที่บันทึกโดยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismograph) รวมการปรับความผันแปรในระยะห่างระหว่างเครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบต่างๆ และศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยมาตราริกเตอร์โดยทั่วไปกำหนดความรุนแรงไว้ที่ 0-9


ต่อมาเริ่มมีผู้ศึกษาและพัฒนาหน่วยวัดขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น มาตราคลื่นตัวกลาง หรือ mb และมาตราโมเมนต์ หรือ Mw เพื่อเป็นการให้เกียรติกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ จึงได้มีการตัดหน่วยริกเตอร์ออกไปจากตัวเลขขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว เช่น ประเทศญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ในปี 2022 หรือประเทศญี่ปุ่นเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ในปี 2011 เป็นต้น ปัจจุบันขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวจึงไม่มีหน่วยต่อท้ายและถูกใช้งานตามหลักสากลทั่วโลก


อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbreg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter) ยังคงได้รับการยกย่องในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้อุทิศตนเพื่อการศึกษาทางด้านแผ่นดินไหวคนสำคัญของโลก


ที่มาของข้อมูล engadget.com, earthquake.usgs.gov, mitrearth.org, dmr.go.th

ที่มาของภาพ reuters.com



ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง