TNN online รปภ.ช็อก ตกงานฟ้าผ่า หลังถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์

TNN ONLINE

Social Talk

รปภ.ช็อก ตกงานฟ้าผ่า หลังถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์

รปภ.ช็อก ตกงานฟ้าผ่า หลังถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์

รปภ.หนุ่มช็อก แค่ถามค่าแรงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เจอดีดออกจากกรุ๊ปไลน์ แถมตกงานฟ้าผ่า

วันนี้ (6 เม.ย.64) กลายเป็นเรื่องราวที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ หลังจากเพจเฟซบุ๊ก "อีซ้อขยี้ข่าว" โพสต์ข้อความสนทนาของ รปภ.คนหนึ่ง ที่สอบถามเรื่องค่าแรงในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ พร้อมระบุข้อความว่า "มีพนักงานรปภ.คนหนึ่ง ด้วยความสงสัยจึงสอบถามค่าแรงของตัวเองในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทางฝั่งนายจ้างจบด้วยการถีบพนักงานออกจากกลุ่มให้พ้นสภาพ เพิ่งรู้ว่าต้องผ่านงาน 120 วันก่อนถึงจะได้เพิ่ม"

ต่อมาเพจ อีซ้อขยี้ข่าว ได้มาคอมเมนต์เพิ่มเติมว่า "เรื่องจริงที่กระทรวงแรงงานไม่รู้ หลายที่บอกปฎิบัติตามกฎกระทรวงแรงงาน แต่พอเอาเข้าจริง แรงงานไทยหรือแรงงานทาส ตั้งกฎ บลาๆ สายคิดเป็นนาที แล้วแต่โปรของแต่ละที่ รับได้ไหม รับไม่ได้เชิญ HR เป็นใหญ่ มันจะมีใครจะรับไม่ได้ ชีวิตต้องใช้เงิน งานก็หายาก"

รปภ.ช็อก ตกงานฟ้าผ่า หลังถามหาค่าแรงวันหยุดสงกรานต์

เรื่องนี้ ทนายรัชพล ศิริสาคร ทนายความชื่อดัง ให้ความเห็นว่า ในทางกฎหมายคำว่า ลูกจ้าง ไม่ได้แบ่งแยกประเภทว่าเป็นลูกจ้างทดลองงานหรือลูกจ้างประจำ ดังนั้นหากพูดถึงเรื่องของสิทธิและความคุ้มครองทางกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถือว่าลูกจ้างทดลองงาน เป็นลูกจ้าง มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแรงงานเท่าเทียมลูกจ้างประจำทุกประการ ดังนั้นค่าแรงวันสงกรานต์ ลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านโปร มีสิทธิ์ที่จะได้เงินค่าแรง ค่าจ้าง

ส่วนกรณีเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน เหมือนเคส รปภ.ที่ถูกไล่ออกแบบนี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่า ลูกจ้างต้องไม่ทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 119 คือ ทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกัน 7 วันทำงาน ประมาทเลินเล่อ และได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

หาก รปภ.คนนี้ถูกเลิกจ้างและไม่ได้ทำผิดตามที่กล่าวมา มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าตกใจในการถูกเลิกจ้าง 30 วัน 

ดังนี้ หากถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ได้รับค่าตกใจ และค่าแรงตามกฎหมายกำหนด สามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน โดยไม่ต้องใช้ทนายความ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น