TNN online ผู้เชี่ยวชาญตอบให้ทำไมไม่ใช้ ‘เครน’ ย้ายเรือยักษ์ขวาง ‘คลองสุเอซ’

TNN ONLINE

Social Talk

ผู้เชี่ยวชาญตอบให้ทำไมไม่ใช้ ‘เครน’ ย้ายเรือยักษ์ขวาง ‘คลองสุเอซ’

ผู้เชี่ยวชาญตอบให้ทำไมไม่ใช้ ‘เครน’ ย้ายเรือยักษ์ขวาง ‘คลองสุเอซ’

เพจผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างนอกชายฝั่ง ตอบไขข้อสงสัยเหตุใดไม่ใช้เครนย้ายเรือยักษ์ขวาง ‘คลองสุเอซ’

วันนี้ ( 27 มี.ค. 64 )จากปัญหาการปิดคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์ ตั้งแต่วันอังคาร จากกรณีที่เรือขนส่งขนาดยักษ์ Ever Given เกยฝั่งและลอยลำขวางคลองนั้น ส่งผลให้อัตราค่าบริการขนส่งสำหรับเรือบรรทุกน้ำมันและก๊าซ พุ่งสูงเกือบสองเท่าแล้ว ขณะที่ เรือจำนวนมากต้องเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือไปทางอื่นแทน

 

ล่าสุดเพจ Offshore Structural Corner ของคุณกษิภณ กู้โรจนวงศ์ วิศกรผู้เชี่ยวชาญโครงสร้างทำงานด้านการออกแบบโครงสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมัน ได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวซึ่งระบุว่า


 “ทำไมไม่ใช้เรือเครนเข้าไปช่วยยก Ever Given มีคนสงสัยว่าทำไมไม่ใช้เรือเครนยักษ์ (Heavy Lift Vessel) เข้าไปช่วยยกเรือ Ever Given ของบริษัท Evergreen ที่มันติดขวางอยู่ในคลองสุเอซ

 

ผมให้ข้อคิดเห็นดังนี้

 

1) เรือ Ever Given ขนาดใหญ่มาก ยาว 400 ม คือเอาลู่วิ่งสนามมาตรฐานมาคลี่ออกแนวยาว หรือ เอาสนามบอลมาต่อกันสองสนามกว่าๆ (ดูรูปในคอมเมนท์)

 

2) น้ำหนักเรือ Ever Given สูงถึง 220000-240000 ตัน ไม่มีเรือเครนลำไหนในโลกที่ยกของหนักได้ขนาดนี้ สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 15000 ตัน คือ SSCV Thialf หรือ SSCV S7000 ที่ใช้เครนบูม และมีโอกาสเข้าถึง ส่วน Pioneering Spirit นั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะกำลังยกสูงจริงถึงหลายหมื่นตัน แต่ยกผ่านการใช้ Superyokeซึ่งเอามาใช้กับกรณีนี้ไม่ได้

 

3) คลองสุเอซ ตื้นมาก แค่ประมาณ 20-24 ม การนำเรือเครนเข้าไปบริเวณนั้นก็เสี่ยงมากแล้ว นี่จะให้เข้าไปยกของหนักด้วยยิ่งเสี่ยงเข้าไปอีก เรือเครนเวลายกของต้องการเสถียรภาพ ซึ่งมาจากระยะกินน้ำลึกลงไปใต้ผิวน้ำ แต่ที่สำคัญต้องมี ระยะ Clearance ความปลอดภัยกับท้องทะเล ส่วนใหญ่ต่ำสุดคือ 5 ม. แต่หลายบริษัทอาจจะต้องการมากกว่านั้นขึ้นกับว่าเค้ายอมรับความเสี่ยงขนาดไหน

 

ด้วยน้ำลึกแค่ 20-24 ม ถ้าไม่นับกำลังเครนที่ยกออกไม่ได้อยู่แล้ว ตัวมันเองก็เข้าไปทำงานไม่ได้ เสี่ยงที่จะติดคาอยู่ด้วยมาก ตอนนี้ผมทำอยู่งานหนึ่งน้ำลึก 28ม ลึกกว่าคลองซุเอชอีก ยกของแค่ 10000 ตัน ตัว SSCV ยังมีปัญหาในการทำงานเลยต้องการให้ลดน้ำหนัก เพื่อจะลด draft ของเรือเพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้น

 

4) ใช้เครนบกได้มั้ย เท่าที่อ่านมา พบว่าบริเวณรอบคลองนั้นเป็นทรายที่ไม่ค่อยแข็งแรงติดตั้งเครนลำบาก และที่สำคัญ เรือมันใหญ่เข้าถึงยากมาก และเครนบกที่มีกำลังยกมากที่สุดคือ SK10000 มีกำลังยก 10000 ตัน แต่มีรัศมีบูมมากสุดแค่ 120 ม ยังไปไม่ถึงครึ่งความยาวเรือเลย และถ้ากดบูมต้ำขนาดนั้น กำลังยกแทบไม่เหลือแล้ว

 

5) จากความใหญ่โตของมันและไม่ได้ออกแบบมาให้โดนยก แทบการเข้าถึงจุดยกที่เหมาะสมยากมาก จึงมีโอกาสจะหักกลางสูงมาก ถ้ายกมันขึ้น

 

ดังนั้นจากเหตุผลข้างต้น จึงตัดเรื่องการใช้เครนยกออกไปได้เลย คงทำได้เพียงใช้เครนยกตู้คอนเทรนเนอร์ออกเพื่อลดน้ำหนักให้เรือลอยขึ้นเท่านั้น แต่กว่าเรือเครนจะมาถึงหรือติดตั้งเครนบกสำเร็จ ไม่รู้คุ้มหรือไม่ เพราะค่าเสียหายวันละหลายแสนล้านบาท

 

โดยสรุปเป็นไปได้อย่างเดียวคือต้องทำให้มันลอยน้ำออกมาให้ได้ Professor Evert Lataire ด้านวิศวกรรมเรือจาก Ghent University ในเบลเยียมให้สัมภาษณ์เมื่อวานนี้เห็นภาพมาก"Ever Given is no longer a vessel. She is a bridge now."เรือ Ever Given ไม่ใช่เรือแล้วตอนนี้ แต่มันเป็นสะพาน!!


ตอนนี้บริษัทที่รับผิดชอบการกู้เรือคือ Smit Salvage ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Boskalis และเคยกู้เรือสำราญ Costa Concordia ที่เกยตื้นในอิตาลีสำเร็จมาแล้ว ดังนั้นเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์สูงมากในเรื่องการกู้เรือ และ บริษัทแม่ก็เป็นบริษัทท้อปโลกสัญชาติดัช ในเรื่องงาน offshore transportation และ installation ดังนั้นต้องรอดูว่าเค้าจะใช้วิธีไหนในการกู้เรือ  ”


ข่าวที่เกี่ยวข้อง