TNN online อ.เจษฎ์ เบรกข่าวปลอม ฉีดวัคซีนโควิดไม่ได้ทำให้น้องชายใหญ่ขึ้น

TNN ONLINE

Social Talk

อ.เจษฎ์ เบรกข่าวปลอม ฉีดวัคซีนโควิดไม่ได้ทำให้น้องชายใหญ่ขึ้น

อ.เจษฎ์ เบรกข่าวปลอม ฉีดวัคซีนโควิดไม่ได้ทำให้น้องชายใหญ่ขึ้น

อ.เจษฎ์ชี้ฉีดวัคซีนโควิดที่อวัยวะเพศชายไม่ได้ทำให้ใหญ่ขึ้น ระบุเป็นเป็นข่าวปลอม

วันนี้ ( 13 ม.ค. 64 )จากกรณีมีกระแสไวรัลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 โดยระบุว่าถ้าหากฉีดวัคซีนที่อวัยวะเพศชายจะทำให้วัคซีนกระจายไปทั่วร่างกายได้เร็วขึ้นและทำให้ยาวขึ้นด้วยล่าสุด อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อควาผ่านเฟซบุ๊กอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ถึงกรณีดังกล่าวระบุว่า 

 

“วัคซีนโควิด ไม่ได้ฉีดที่จู๋ และไม่ได้ทำให้จู๋ยาวขึ้นนะครับ 555"

มีการเผยแพร่ภาพข่าวจากสำนักข่าว CNN อ้างว่า "แพทย์สนับสนุนให้ฉีดวัคซีนโรค covid-19 โดยแนะนำให้ผู้ชาย ฉีดเข้าที่อวัยวะเพศ ! เนื่องจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ศึกษาในผู้ชายที่ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 1,500 คน ค้นพบว่าการฉีดเข้าบริเวณของสงวนนั้น จะทำให้วัคซีนไปได้ทั่วร่างกายรวดเร็วขึ้น"


หลังจากที่ข้อความและรูปดังกล่าวเผยแพร่ไวรัลไปอย่างรวดเร็ว ผลการตรวจสอบก็ชัดเจนว่า ไม่ใช่เรื่องจริงนะครับ บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ไม่พบว่ามีการนำเสนอหรือตีพิมพ์การวิจัยดังกล่าวที่ว่า สำนักข่าว CNN ก็ไม่เคยเผยแพร่รายงานข่าวดังว่าเช่นกัน

  อ.เจษฎ์ เบรกข่าวปลอม ฉีดวัคซีนโควิดไม่ได้ทำให้น้องชายใหญ่ขึ้น


ภาพของ CNN ที่แชร์กันอยู่นั้นก็มีจุดให้จับผิดด้วย คือมีการใช้จุด full stop (.) ในการพาดหัวข่าว ซึ่งปกติแล้วสำนักข่าว CNN จะไม่ใช้จุดนี้ แล้วรูปภาพคุณหมอที่ปรากฏอยู่นั้น ก็ไม่ใช่แพทย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แต่เป็นคุณหมอ Mohitkumar Ardeshana ที่อยู่ที่นิวยอร์ก จริงๆ แล้ว การฉีดวัคซีนโรคโควิดนั้น ไม่ว่าจะวัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech และบริษัท Moderna ทางศูนย์ CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกาก็แนะนำให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ไม่ใช่ตรงบริเวณอวัยวะเพศอย่างที่แชร์กันแน่นอน 

 

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีข่าวปลอมอีกข่าวที่แชร์กันว่า "การฉีดวัคซีนโรคโควิด จะช่วยทำให้อวัยวะของเพศ ของท่านชายบางคน ยาวขึ้นได้อีกถึง นิ้ว" โดยมีรูปประกอบเป็นเอกสารงานวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารชื่อ “The New Ingland Journal of Merdecine”แต่วารสารวิจัยดังกล่าวไม่มีอยู่จริง วารสารจริงๆ ชื่อว่า The New England Journal of Medicine (ต่างกันตรงคำสุดท้าย) ซึ่งก็ไม่เคยตีพิมพ์บทความอะไรทำนองนั้นเช่นกัน


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline


ข่าวที่เกี่ยวข้อง