TNN online สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ

TNN ONLINE

สังคม

สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ

สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ

สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ ขับเคลื่อนสู่ สังคมสร้างสรรค์การสอน พร้อมเปิดตัว เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย I AM KRU

วันนี้ (25พ.ย.64) รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ.) พร้อมด้วย ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ร่วมกันเปิดตัวเว็บไซต์และโซเซียลมีเดีย   I AM KRU  แพลตฟอร์ม ออนไลน์  ที่รวบรวมเครื่องมือ ข้อมูล ผลงานวิจัย ตัวอย่างนวัตกรรมในห้องเรียนที่ครูสามารถนำเครื่องมือไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ครูสามารถเข้ามาเสริมสร้างสมรรถนะ พัฒนาศักยภาพในการสอนของตนเอง และ เป็นพื้นที่ในการแสดงความเห็นเพื่อช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 



สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ ภาพจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ.) 

 



รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ. กล่าวว่า  เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ครูจะต้องปรับเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะทำให้เด็ก มีความสุขในการเรียน โดยเฉพาะในยุคโควิด 19 ที่เด็กต้องเรียนทางออนไลน์ เป็นหลัก  ครูจึงต้องพัฒนาทักษะตนเองพัฒนาศักยภาพ สอนลูกศิษย์ โดยเน้น ให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้กับโลกข้างหน้าที่ต้องเผชิญในอนาคต  และต้องสอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลและ  สถานการณ์ปัจจุบัน โดยที่ครูต้องเข้าถึงเด็กทุกคน 

“การสอนให้เด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบออนไลน์ หรือการเรียนออนแฮนด์ ครูต้องสอนให้เด็ก ได้เรียนรู้ โดยการให้เด็กได้ร่วมออกแบบการเรียนการสอน ไม่ใช่ครูออกแบบเพียงคนเดียว ต้องมีการสอบถามว่าอยากได้รู้แบบไหน ดังนั้นครูต้องเปิดใจไม่ใช่เป็นผู้ให้เพียงด้านเดียว  แต่เด็กต้องมีส่วนร่วม ที่สำคัญครูต้องกล้าที่จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนไม่ว่าจะออนไลน์หรือออนแฮน นอกจากนี้  ครูจะต้องเปิดใจเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆห้องเรียนจะต้องไม่ปิด  โดยเฉพาะขณะนี้ การเรียนออนไลน์ทุกคนเข้าถึงห้องเรียน ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวาและผู้ปกครองเข้ามาเรียนรู้ได้ ซึ่งแพทฟอร์ม   I AM KRU  จะเป็นตัวช่วยเสริมที่ดี และเข้าถึงทุกคน “ รศ.ดร.ดารณี กล่าว 

ด้าน ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  (กสศ.)  กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด 19 ทำให้โรงเรียนหรือ สถานศึกษาถูกปิด ครูต้องปรับตัวกับการสอนออนไลน์อย่างต่อเนื่องยาวนาน   ทำให้เกิด Learning Loss การถดถอยในการเรียนรู้ หรือ ผลกระทบด้านความรู้ที่หายไปในเด็กนักเรียนจำนวนมาก ซ้ำเติมกับช่องว่างทางการศึกษาที่ยังมีความเหลื่อมล้ำสูงระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ กับโรงเรียนขนาดเล็ก และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล



สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ ภาพจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ.) 

 



“เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย “ I AM KRU สังคมสร้างสรรค์ของคนสอน จึงเหมาะกับครูทุกพื้นที่ ทุกเจนเนอเรชั่นที่สนใจในการพัฒนาศักยภาพตนเอง และอยากเชิญชวนครูทุกคนมาเสนอไอเดียการสอนเทคนิคใหม่ๆ หรือแม้แต่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อช่วยให้นักเรียนของเราในทุกพื้นที่ได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนก็ตาม   นอกจากนี้ยังอยากให้คุณครูคอยติดตาม  กิจกรรมและหลักสูตรออนไลน์ต่างๆจากทางกสศ.  ที่ไม่ว่าครูจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอด 24 ชม. โปรแกรมจะติดตั้งใบประกาศนียบัตรที่คุณครูสามารถปรินท์ได้เลยทันที่จบหลักสูตร  ซึ่งนวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะถูกแบ่งปันลงในเว็บไซต์นั้นจะไม่ได้มีเพียงแค่นวัตกรรมจากบุคลากรคุณภาพในประเทศไทย แต่ยังรวมถึงครูจากกลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศติมอร์-เลสเต”  ดร.อุดม กล่าว 


สำนักพัฒนาคุณภาพครูฯ กสศ. จัดเวทีเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ ภาพจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ.) 

 



ด้านวงเสวนา รวมพลังครู ลดความเหลื่อมล้ำ ขับเคลื่อนสู่ สังคมสร้างสรรค์การสอน  ที่มีตัวแทนครู  เข้าร่วม ได้  ต่างสะท้อนปัญหาการสอน และแลกเปลี่ยนเทคนิค การสอน เช่น นายศุภโชค ปิยะสันติ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จ.เชียงราย ที่ระบุว่า การสอนนักเรียนต้องมีการปรับบางรายวิชา ที่ไม่จำเป็น แต่เพิ่ม วิชาการเรียนรู้ให้ให้เพมาะกับโรงเรียน ซึ่งบางพื้นที่นักเรียนเรียนมุ่งเน้นให้มีงานทำ ดังนั้นครูต้องปรับมายเซ็ท  วางแผนการสอนให้เหมาะสม  เช่นพัฒนาหลักสูตรใหม่  ทำให้นักเรียนเรียนรู้ นำไปประกอบอาชีพ 

ขณะที่ ดาบตำรวจหญิงประกายพร ชัยจันทร์ ครูใหญ่ รร.ตชด.บ้านห้วยเป้า จ.เลย   ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรการสอน ร่วมกับ กสศ.และมหาวิทยาลัยราชฎักเลย ชี้ว่า การเป็นครูในพื้นที่ชายขอบ จะเป็นการสอนในรูแบบระบบทางไกล ควบคู่กับการสอนในชั้นเรียน เป้าหมายคือ พัฒนาเด็กและสร้างเด็กในชุมชนให้เกิดการเรียนรู้  เท่าเทียมด้านการศึกษา 




ข้อมูลจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ.)

ภาพจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ( กสศ.) 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง