TNN online student.edudev.in.th ตรวจสอบสิทธิ เงินเยียวยานักเรียน 2000 บาท อนุบาล-ปวส.

TNN ONLINE

สังคม

student.edudev.in.th ตรวจสอบสิทธิ เงินเยียวยานักเรียน 2000 บาท อนุบาล-ปวส.

student.edudev.in.th ตรวจสอบสิทธิ เงินเยียวยานักเรียน  2000 บาท อนุบาล-ปวส.

student.edudev.in.th ตรวจสอบสิทธิ์ เงินเยียวยานักเรียน 2000 บาท ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึง ม.6, ระดับอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ความคืบหน้าหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียนด้านค่าใช้จ่ายทางการศึกษา (เยียวยานักเรียน) จำนวน 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึง ม.6, ระดับอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในกรอบวงเงิน 23,000 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการเปิดตรวจสอบการมีสิทธิตามโครงการดังกล่าวแล้ว



สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สามารถตรวจสอบได้โดยใช้รหัส G-Code ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด สามารถขอทราบรหัส G-Code ได้ที่โรงเรียนที่นักเรียนศึกษาอยู่ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้แล้ว บน ‘Application สช. On Mobile’ สามารถดาวน์โหลด ‘Application สช. On mobile’ ในระบบแอนดรอยด์ และระบบ iOS ดังนี้


ระบบแอนดรอยด์ : 

https://play.google.com/store/apps/details?id=td.webuild.opec&fbclid=IwAR0lYij1fNkELyV5F6m3WttRErsIiufk 94dy1bKGsFgc3HgTzCiVulW5e58


ระบบ iOS : https://apps.apple.com/th/app/%E0%B8%AA%E0%B8%8A-on-mobile/id1540552791?l=th




student.edudev.in.th ตรวจสอบสิทธิ เงินเยียวยานักเรียน  2000 บาท อนุบาล-ปวส.



การตรวจสอบ ผ่านทางเว็บไซต์ https://student.edudev.in.th เช็กที่นี่


เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์แล้วให้กรอกข้อมูล ดังนี้


กรอกเลขประจำตัวนักเรียน

กรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด

จากนั้นกดปุ่มค้นหาเพื่อตรวจสอบข้อมูล


ข้อมูลการมีตัวตน จากระบบนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center: DMC) ศูนย์พัฒนาระบบข้อมูลทางการศึกษา สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.


ทั้งนี้ วิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือนี้ จะจ่ายผ่านสถานศึกษา และให้สถานศึกษาจ่ายตรงให้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ปกครอง ในรูปแบบของเงินสด หรือนำเข้าบัญชีธนาคาร ประมาณ 11 ล้านคน วงเงินราว 21,600 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ