TNN online เอะอะก็ช็อต! รู้จัก "ไฟฟ้าสถิต" อันตรายแค่ไหน

TNN ONLINE

สังคม

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก "ไฟฟ้าสถิต" อันตรายแค่ไหน

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก ไฟฟ้าสถิต อันตรายแค่ไหน

เคยเป็นไหม? ไฟแรงเฟร่อ! ไปที่ไหนชอบเจอ "ไฟฟ้าสถิต" โดยเฉพาะหน้าหนาวจับอะไรก็ช็อต เรามาดูเคล็ดลับวิธีป้องกันก่อนจะกลายเป็น "มนุษย์ไฟฟ้า"

เคยเป็นไหม?...หยิบจับสิ่งของต่างๆ หรือแตะโดนตัวใครก็เกิดความรู้สึกช็อตขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าหนาว เรามาทำความรู้จัก "ไฟฟ้าสถิต" รวมถึงวิธีการป้องกันเบื้องตันกันก่อนที่จะกลายเป็นมนุษย์ไฟฟ้า

"ไฟฟ้าสถิต" เกิดจากอะไร?

ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบภายในวัสดุหรือบนพื้นผิวของวัสดุ ซึ่งประจุไฟฟ้าเหล่านั้นจะยังคงอยู่จนกระทั่งเกิดการเคลื่อนที่หรือมีการถ่ายเทประจุ (Electrostatic Discharge) โดยปกติแล้ววัสดุทุกชนิดมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า จะมีปริมาณของประจุบวกและประจุลบอย่างละเท่า ๆ กัน

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก ไฟฟ้าสถิต อันตรายแค่ไหน


ทั้งนี้ ประจุไฟฟ้าเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากการขัดถู สัมผัส หรือเสียดสีกันระหว่างวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า "ฉนวน" ซึ่งจากสถานการณ์ที่มีการนำลูกโป่งมาถูกับเส้นผม หรือการสัมผัสกันระหว่างรองเท้าหนังและพรมเช็ดเท้า

สถานการณ์เหล่านั้นทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า เป็นผลให้เกิดความไม่สมดุลของจำนวนประจุบวกและประจุลบในวัสดุแต่ละชิ้น ด้วยเหตุนี้วัสดุที่ต่างก็มีความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้า จึงมีความพยายามถ่ายเทประจุไฟฟ้ากับวัสดุอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับตัวเอง และการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้านี้เองที่เป็นสาเหตุของความรู้สึกที่คล้ายกับการถูกไฟฟ้าช็อตหรือที่เรียกว่า "ไฟฟ้าสถิต" นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนำลูกโป่งมาถูเข้ากับเส้นผม ประจุลบที่อยู่บนเส้นผมจะถูกถ่ายเทไปยังลูกโป่ง นั่นทำให้ร่างกายมีประจุบวกมากกว่าประจุลบ และเมื่อไปสัมผัสกับมือจับบานเลื่อนประตูซึ่งเป็นโลหะ ประจุลบจากมือจับประตูจะถ่ายเทมายังร่างกายอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้สะดุ้งและรู้สึกเหมือนถูกไฟฟ้าช็อตเบาๆ

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก ไฟฟ้าสถิต อันตรายแค่ไหน

ภาพโดย Alison Phillips จาก flickr.com

"ไฟฟ้าสถิต" อันตรายหรือไม่?

ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากการถูกไฟฟ้าสถิตช็อตนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต เพียงแต่อาจทำให้สะดุ้งหรือเจ็บเล็กน้อยเท่านั้นจากการช็อตที่ผิวหนังเท่านั้น

ทำไม "หน้าหนาว" ถึงเกิดไฟฟ้าสถิตบ่อย?

สัปดาห์ที่ผ่านมาอากาศเมืองไทยมีอุณหภูมิลดลง ทำให้อากาศเย็นไปจนถึงหนาว ก็ทำให้คนถูกไฟฟ้าสถิตช็อตอยู่บ่อยครั้ง นั่นเป็นเพราะ ว่า ปัจจัยในเรื่องของความชื้นในอากาศ (Air humidity) โดยอากาศในช่วงฤดูหนาวก่อให้เกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าได้ง่าย และถ่ายเทประจุไฟฟ้าได้มากกว่าอากาศในช่วงฤดูร้อน

ในช่วงฤดูหนาว ความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องด้วยมีความชื้นในอากาศน้อยกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ความชื้นต่ำจะทำให้ประจุไฟฟ้าเกิดการสะสมบนผิวหนัง ซึ่งเมื่อมีการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำ จะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าไปยังตัวนำอย่างรวดเร็วเป็นผลเกิดการช็อตเบาๆ ได้ 

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก ไฟฟ้าสถิต อันตรายแค่ไหน

ภาพโดย Mike Mike จาก Pixabay

เดินเข้าห้างครั้งใด โดนช็อตทุกที!

สำหรับกรณีของการเดินเข้าห้างมักจะเจอไฟฟ้าสถิต ไม่ว่าจะเป็นบันไดเลื่อน รถเข็น มือจับประตู เป็นเพราะว่าสิ่งต่างๆ ภายในห้างสรรพสินค้ามีไฟฟ้าสถิตเพราะเป็นโลหะ มีประจุไฟฟ้าค้างอยู่ แต่ว่าประจุไฟฟ้ามันมีอยู่นิดเดียว ซึ่งหลังจากการช็อต ประจุจะเกิดความสมดุล ทำให้ไม่เกิดการช็อตซ้ำอีกในเวลาใกล้ๆ กัน 

ขณะที่ ไฟฟ้าสถิตมักจะเกิดในห้างสรรพสินค้าบ่อยกว่าที่อื่น เป็นเพราะว่าในห้างสรรพสินค้ามีคนเยอะ การเสียดสี ประจุไฟฟ้ามันก็ถูกถ่ายเทไป แต่ไฟฟ้าสถิตไม่ได้เกิดเฉพาะแค่ในห้างเท่านั้น จริงๆ แล้วในบ้านก็มีเช่นกัน เพียงแต่อาจจะไม่ได้สังเกตเท่านั้นเอง

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก ไฟฟ้าสถิต อันตรายแค่ไหน

ภาพโดย analogicus จาก Pixabay

วิธีป้องกัน "ไฟฟ้าสถิต" 

1.รักษาความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม โดยอากาศในห้องควรอยู่ระหว่างร้อยละ 40-50 ซึ่งสามารถวัดค่าความชื้นได้ด้วยเครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์ที่หาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ทั่วไป

2.การดื่มน้ำ

3.การทาครีมบำรุงผิว เพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื้น

4.การสวมรองเท้าพื้นยาง

5.การหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า

ขอบคุณข้อมูลจาก คลังความรู้ SciMath สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ

เอะอะก็ช็อต! รู้จัก ไฟฟ้าสถิต อันตรายแค่ไหน

ภาพโดย Huang He จาก flickr.com



เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNThailand.com 

facebook : TNNThailand

twitter : @TNNThailand

Line : @TNNThailand

Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง