TNN online พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

TNN ONLINE

สังคม

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

กรุงเทพฯ พบขยะในคูคลองสะสม 5 ปี 387,261 ตัน แนะทิ้งขยะลงถังลดปัญหาขยะในท่อระบายน้ำ และคลอง ทางผ่านขยะลงสู่ทะเล

80% ของจำนวนขยะในทะเลมาจากการทิ้งขยะจากภาคพื้นดินของประชาชน โดยเฉพาะในสังคมเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น และขณะนี้กำลังประสบกับปัญหาขยะอุดตันตามท่อ

ระบายน้ำ และมีขยะในคลองเป็นจำนวนมาก ที่เกิดจากการ “ทิ้งขยะไม่ลงถัง และการทิ้งขยะลงคลองโดยตรง” โดยในเขตกรุงเทพมหานครมีจำนวนคลองทั้งหมดกว่า 948 คลอง มีความยาว 1,319,520 เมตร ที่ใช้เป็นช่องทางหลักในการระบายน้ำจากกรุงเทพมหานครลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและลงสู่ทะเล แต่กลับพบปัญหาขยะจำนวนมาก

“จากข้อมูลการเก็บขยะในคูคลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2558 – 2562  เป็นระยะเวลา 5 ปี ของสำนักงานเขต  สำนักการระบาย และสำนักสิ่งแวดดล้อมสามารถรวมปริมาณขยะที่เก็บได้ถึง 387,261 ตัน” 

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

ปัญหาการทิ้งขยะไม่ลงถัง ทำให้ขยะเหล่านั้นไปอุดตันท่อระบายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้ง่าย และส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำ และอุปสรรคในการระบายน้ำ  อีกทั้งยังมีขยะจำนวนมากที่สามารถเล็ดลอดตามท่อระบายน้ำ และ ไหลลงสู่คลองและลงสู่ทะเล อาทิ หลอด ถุงพลาสติก เป็นต้น จนกลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ขณะเดียวกันขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลในท้องทะเล ที่ย่อยสลาย ผุพังกลายเป็น “ไมโครพลาสติก” ยังเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อาหาร โดยมีการตรวจพบไมโครพลาสติกในปลาทูอีกด้วย ฉะนั้นควรตระหนักได้แล้วว่า 

“ขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องไกลตัวในโพ้นทะเลอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวและปากท้องของมนุษย์ หนึ่งในสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่อาหาร!”  

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

นายสรรเสริญ เรืองฤทธิ์  หัวหน้ากลุ่มงานระบบโทรมาตร สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครฯ ที่ดูแลด้านการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการด้านน้ำเสีย  ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างหนักในการป้องกันน้ำท่วมและการระบายน้ำในเขตกรุงเทพมหานครออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและทะเล แต่ประสบกับปัญหามีขยะจำนวนมากในลำคลองและอุดตันประตูระบายน้ำที่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ จึงทำให้เวลาฝนตก น้ำจึงท่วมได้ง่าย หากถามว่าขยะในคลองมาจากไหน มี 2แหล่ง คือ แหล่งแรกมาจากขยะที่หลุดร่วงจากถังขยะ หรือ การทิ้งขยะไม่ลงถัง เวลาฝนตก หรือมีลมพัดขยะจึงลงสู่ท่อระบายน้ำ เช่น ถุงพลาสติก หลอด แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก ซึ่งเป็นขยะที่พบมากในท่อระบายน้ำ  แหล่งที่สอง มาจากการทิ้งขยะลงแม่น้ำลำครองโดยตรง

ที่ผ่านมาทางสำนักการระบายน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดเก็บขยะตามแม่น้ำและลำคลองต่าง ๆ เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการทำแพไม้ไผ่ดักขยะตามคลองต่าง ๆ ซึ่งขยะจะไหลมาติดที่แพดักขยะและจะมีเจ้าหน้าที่กองระบบคลองคอยจัดเก็บทุกวัน ซึ่งขยะที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ พลาสติก โฟม หลอด เศษวัชพืช รวมไปถึง ที่นอน หมอน มุ้ง แม้จะมีการจัดเก็บขยะทุกกวันแต่ก็ยังมีจำนวนขยะพอกพูนขึ้นทุกวันจึงอยากจะฝากถึงภาคประชาชนว่า “ถ้าไม่ทิ้ง ก็ไม่ท่วม” เนื่องจากปัญหาขยะในคูคลองส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำเป็นอย่างมาก และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

ด้านนักวิชาการ ผศ.ดร.ภาสิณี วรชนะนันท์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูล “ว่าขยะพลาสติกเมื่อหลุดลอดไปตามแหล่งน้ำแทนที่จะถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี  แต่กลับไปย่อยสลายในธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากพลาสติกสามารถเสื่อมสภาพ ฉีกขาด และผุพัง กลายเป็น “ไมโครพลาสติก” ขนาดเล็ก เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตที่เป็นห่วงโซ่อาหาร

เกิดผลกระทบในด้านของการบริโภค คือ มีการถ่ายทอดทางห่วงโซ่อาหาร ตัวอย่างเช่น เกลือที่เราบริโภคทำจากน้ำทะเล ถ้าน้ำทะเลปนเปื้อนไมโครพลาสติก มีโอกาสที่เราจะบริโภคไมโครพลาสติกเข้าไปด้วยและเกิดการสะสมในร่างกาย ถ้าเราลดขยะที่ลงไปในแหล่งน้ำหรือในทะเลได้จะช่วยลดการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ทางที่ดีที่สุดในการลดขยะลงไปในทะเลต้องพยายาม “ลด ละ เลิก” การใช้พลาสติก โดยเฉพาะ พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single Use Plastic)  เช่น แก้วน้ำพลาสติก  หลอดกาแฟ หูหิ้วพลาสติก ก็จะช่วยลดปริมาณขยะที่เล็ดลอดตามท่อระบายน้ำ คูคลอง และลงสู่ในทะเลได้”

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

ด้าน ผศ.ดร.จีมา ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้แนะแนวทางในการจัดการขยะในเมืองใหญ่ว่า ในเมืองใหญ่ควรมีกฎหมายเรื่องการการจัดการขยะให้ดี ตั้งแต่ คนทิ้งขยะ การจัดเก็บขยะ และ การกำจัดขยะ ยกตัวอย่าง กรุงเทพมหานครมีกฎหมายออกมาแล้วต้องประชาสัมพันธ์ให้คนรู้ และสร้างจิตสำนึกในการแยกขยะว่าควรคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และ ทิ้งขยะลงถัง ไม่ทิ้งลงแม่น้ำลำคลองจะช่วยให้ขยะน้อยลง โดยเริ่มจากครัวเรือนแม้จะมีถังขยะเพียงใบเดียว แต่การแยกถุงบรรจุขยะแห้งและขยะเปียกออกจากกัน จะช่วยให้เจ้าหน้าที่นำไปคัดแยกต่อได้ง่าย และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ในส่วนขององค์กรต้องจัดหาถังขยะให้ถูกต้องมีวิธีการแยกขยะให้กับผู้ทิ้งขยะ

อีกทั้ง ควรให้ความรู้แก่ประชาชนว่าขยะที่แยกแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดต่อได้บ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมในการช่วยแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง เช่น ขยะเปียก สามารถนำไปหมักปุ๋ยและไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ส่วนขยะแห้งสามารถแยกขยะบางส่วนมารีไซเคิลได้ เช่น แก้ว  กระดาษ  ขวดน้ำพลาสติกหรือแก้วน้ำพลาสติกบางชนิด  โลหะ หรือขยะที่มีตรามาตรฐานรีไซเคิล เป็นต้น ส่วนขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ขยะทั่วไปที่ย่อยสลายยาก อย่างพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single use plastic)  ได้แก่ ช้อนส้อมพลาสติก แก้วน้ำหวานพลาสติก ถุงพลาสติก ถุงขนม  เจ้าหน้าที่จะนำไปฝั่งกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) และปล่อยให้ย่อยสลายใต้หลุมฝั่งกลบซึ่งใช้ระยะเวลาเป็นร้อย ๆ ปี ซึ่งขยะประเภทนี้หากลดการใช้ได้จะยิ่งดี หรือวิธีหนึ่งคือนำไปเผาเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าแต่ว่าต้องเป็นการเผาตามหลักทางวิศวกรรม และมีการกำจัดมลพิษอากาศซึ่งรัฐบาลก็ควบคุมเรื่องนี้อยู่

และที่สำคัญนอกจากการคัดแยกแยกขยะแล้วควรทิ้งลงถังขยะด้วย ไม่ทิ้งขยะลงคลองเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสีย และอุดตันท่อระบายน้ำได้ หลุดหลอดลงสู่ทะเล เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ จนย่อยสลายกลายเป็นไมโครพลาสติกขนาดเล็กที่ปนเปื้อนในน้ำทะเล อาหารทะเล และเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ ดังนั้นทั้งผู้ขายและผู้ซื้อต้องร่วมมือกัน เช่น ผู้ขายเลือกใช้วัสดุที่รีไซเคิล หรือ ผู้ชื้อก็มีส่วนลดขยะด้วยการไม่รับพลาสติก หรือหู้หิ้วพลาสติกที่มาพร้อมกับแก้วน้ำหวาน  หรือ ไม่รับหลอด เป็นต้น และมีการเตรียมถุงผ้าเมื่อจะไปซื้อของเพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก 

  พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

ด้าน ดร.ภญ.จิรวรรณ โอพรสวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งโครงการ โอลด์ร๊อคล้านท่าเพื่อโลก เพื่อเป็นหนึ่งในองค์กรที่ช่วยในการแก้ปัญหาขยะในการณรงค์เรื่องการลดการใช้ขยะ แยกขยะก่อนทิ้ง และ ทิ้งขยะลงถัง ช่วยลดปัญหาขยะในคลองและป้องกันการไหลของขยะลงสู่ทะเล กล่าวว่า ช่องทางที่ขยะเล็ดลอดลงสู่ทะเลหลักในกรุงเทพมหานคร คือ คูคลองในกรุงเทพมหานคร แล้วขยะในคลองมาจากไหน?

จากการลงพื้นที่เก็บขยะกับสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร พบว่า มีขยะพลาสติก โฟม ขวดน้ำพลาสติก รองเท้า เศษอาหาร เศษวัชพืช รวมถึงซากสัตว์ตาย ที่ไหลมาติดตะแกรงดักขยะจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่จะใช้ตะแกรงประดิษฐ์ในการตักขยะ หรือใช้ตะแกรงพัดลมเก่าที่เก็บได้มาประดิษฐ์เป็นที่ตักขยะและใช้แรงคนในการตักขยะขึ้นจากคูคลองขนาดเล็กในเขตกรุงเทพชั้นในเนื่องจากเรือเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงเพราะคลองมีขนาดเล็ก   โดยล่าสุดทีมงานโครงการโอลด์ร๊อคล้านท่าเพื่อโลก ได้ลงพื้นที่เก็บขยะที่คลองสำเหร่ และคลองบางไส้ไก่ พบว่าเจ้าหน้าที่ตักขยะขึ้นมาจากคลองวันละ 400-500 กิโลกรัมต่อวัน และมีขยะแบบนี้ทุกวันแสดงว่ามีคนทิ้งขยะลงคลองและมีขยะที่หลุดลอดจากถังขยะลงสู่คลองจำนวนมาก และเจ้าหน้าที่ยังขาดอุปกรณ์ที่ช่วยในการดักขยะและจัดเก็บขยะเพื่อป้องกันขยะหลุดลอดไปอุดตันประตูระบายน้ำและเล็ดลอดลงสู่ทะเล

ทางแบรนด์โอลด์ร๊อคผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเป็นสิวสำหรับผิวหน้า ซึ่งตัวแทนของพลังคนรุ่นใหม่ จึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์การทิ้งขยะลงถัง และลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และหลอด เพื่อลดปริมาณขยะที่อาจหลุดลอดไปยังคูคลองและไหลลงสู่ทะเล พร้อมลงพื้นที่ในการจัดเก็บขยะร่วมกับสำนักการระบาย กรุงเทพมหานคร โดยจัดตั้งโครงการ “โอลด์ร๊อคล้านท่าเพื่อโลก” ขึ้น เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาขยะ และตระหนักถึงการทิ้งขยะลงถัง ผ่านกิจกรรมโซเซียลมีเดียสนุกๆ ด้วยการโพสต์ท่าทิ้งขยะลงถังสุดแปลกและติด  #OLOROCKล้านท่าเพื่อโลก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นและสร้างการรับรู้ให้ทุกคนแยกขยะและทิ้งขยะลงถัง  โดยการโพสต์รูปทิ้งขยะ 1 ท่า เท่ากับ 1 ช่วย ในการแก้ปัญหาขยะไหลลงสู่ส่งทะเล 

พบขยะในคูคลองกทม.สะสม 5 ปี 387,261 ตัน!

นอกจากนี้แล้วลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเป็นสิวแบรนด์โอลด์ร๊อค ยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาขยะ จากการซื้อ 1 ชิ้น เท่ากับ  1 ช่วย เช่นกัน โดย โครงการโอลด์ร๊อคล้านท่าเพื่อโลก ตั้งเป้าที่จะสร้างการรับรู้ไปยัง 1 ล้านคน โดยรวมทั้ง 2 ช่องทางคือจากการโพสต์รูปทิ้งขยะ และจากลูกค้าใจบุญที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความตระหนักในการแยกขยะและทิ้งขยะลงถัง ซึ่งเทียบเท่ากับ 1,000,000 ช่วย โดยแบรนด์โอลด์ร๊อคจะบริจาค 1,000,000 บาท เพื่อนำไปสนับสนุนหน่วยงานที่ดำเนินการด้านการจัดการกับปัญหาขยะและสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร เพื่อซื้อเครื่องมือในการจัดการกับขยะในคูคลองก่อนที่จะลงสู่ทะเลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมถึง

จึงขอเชิญชวนทุก ๆ คนออกมาแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ ลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง และแยกขยะก่อนทิ้ง พร้อมโพสต์ท่าทิ้งขยะสุดแปลกในสื่อโซเชียลมีเดีย ได้แก่ Facebook Instagram  หรือ Twitter ช่องทางใดก็ได้  และติด  #OLDROCKล้านท่าเพื่อโลก ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ม.ค. 2563 ดร.ภญ.จิรวรรณ กล่าวเชิญชวนทิ้งท้าย. 

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการ #OLDROCKล้านท่าเพื่อโลก ได้ที่

WEBSITE : https://www.oldrockacne.com/ 

FACEBOOK : https://www.facebook.com/OldRockThailand/ 

YOUTUBE : https://www.youtube.com/channel/UCuuBNFMXsklV2uBjG8ySSFg 

INSTAGRAM : https://www.instagram.com/oldrock_acne/ 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง