TNN เตือนคนชอบกินดึกเสี่ยงป่วย กินแล้วง่วง มีวิธีแก้อย่างไร

TNN

สังคม

เตือนคนชอบกินดึกเสี่ยงป่วย กินแล้วง่วง มีวิธีแก้อย่างไร

เตือนคนชอบกินดึกเสี่ยงป่วย กินแล้วง่วง มีวิธีแก้อย่างไร

ใครที่ชอบกินมื้อดึกเป็นประจำ มีข้อมูลแนะนำให้สังเกตอาจไม่ใช่แค่เพราะหิวหรือเป็นความชอบ แต่อาจเป็นสัญญาณกำลังป่วยแบบไม่รู้ตัว ส่วนคนที่ง่วงตลอดหลังทานอาหาร มีข้อมแนะนำจะแก้อาการนี้อย่างไร

หลายคนมักมีอาการหนังท้องตึงหนังตาหย่อน หลังกินอาหารอาการนี้สามารถเตรียมรับมือได้ โดยที่อาการกินแล้วง่วง หรือ (Food Coma) เกิดจากการกินอาหารมากเกินไป ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ส่งผลให้เมื่อผ่านกระบวนการย่อย เกิดกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า ทริบโตเฟน (Tryptophan) เข้าสู่ระบบประสาททำให้สมองผ่อนคลาย จนเกิดอาการง่วงนอนตามมา


วิธีแก้อาการง่วงหลังกินข้าว

->กินอาหารให้พอดีอย่าอิ่มเกินไป

->เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ลดความเร็วในการกิน

->เลือกผลไม้หวานน้อยแทนของหวาน เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

->เลี่ยงอาหารพวกแป้งที่ผ่านการขัดสีขนม ของทอด

->หลังกินข้าว 10-15 นาที ควรทำกิจกรรมเบาๆ เช่น เดินเล่น ยืนแกว่งแขน หรือ พูดคุยให้สมองตื่นตัว เพิ่มความสดชื่น


เตือนคนชอบกินดึกเสี่ยงป่วย กินแล้วง่วง มีวิธีแก้อย่างไร


นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลแนะนำให้สังเกตอาการ สำหรับคนที่ชอบกินมื้อดึก อาจไม่ใช่แค่เพราะหิวหรือเป็นความชอบ แต่อาจกำลังบอกว่า คุณกำลังป่วยเป็นโรค Night Eating Syndrome หรือ โรคหิวมื้อดึก แบบไม่รู้ตัว

การกินดึกแบบไหน เข้าข่ายป่วย ให้สังเกตอาการดังนี้

->เช้าไม่หิว กลางวันไม่ค่อยกิน แต่จัดหนักมื้อดึก

->กินมื้อใหญ่หลัง 6 โมงเย็น

->สะดุ้งตื่นมากินอาหารมากกว่า 3 ครั้งต่อคืน

->นอนไม่หลับหรือเครียดถ้าไม่กินมื้อดึก

->ละเมอกินอาหารกลางดึก


เตือนคนชอบกินดึกเสี่ยงป่วย กินแล้วง่วง มีวิธีแก้อย่างไร


ส่วนต้นเหตุของโรค อาจเป็นเพราะ เครียดมากเกินไป ซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคนอนไม่หลับ

โรคที่ตามมาเมื่อป่วยเรื้อรัง หลังป่วยเป็นโรค Night Eating Syndrome

->ท้องอืด ท้องเฟ้อ กรดไหลย้อน

->โรคกระเพาะอาหาร

->โรคอ้วน

->ความดันโลหิตสูง

->คุณภาพการนอนแย่ลง ประสิทธิภาพสมองลดลง


เตือนคนชอบกินดึกเสี่ยงป่วย กินแล้วง่วง มีวิธีแก้อย่างไร


วิธีแก้และการรักษา โรค Night Eating Syndrome หรือ โรคหิวมื้อดึก

->พบจิตแพทย์ทันทีเพื่อปรับความคิด

->ปรึกษานักโภชนาการเพื่อปรับพฤติกรรมการกิน

->รักษาด้วยฮอร์โมนตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

->เลี่ยงความเครียด จัดการความเครียดให้ถูกวิธี


ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

กราฟิก TNN16

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง