TNN online บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คลังประกาศผลอุทธรณ์ "ผ่าน-ไม่ผ่าน" ภายในเดือนไหน?

TNN ONLINE

สังคม

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คลังประกาศผลอุทธรณ์ "ผ่าน-ไม่ผ่าน" ภายในเดือนไหน?

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คลังประกาศผลอุทธรณ์ ผ่าน-ไม่ผ่าน ภายในเดือนไหน?

คืบหน้า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน คลังจะประกาศผลอุทธรณ์ "ผ่าน-ไม่ผ่าน" ภายในเดือนไหน? เช็กเลยที่นี่

คืบหน้า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน คลังจะประกาศผลอุทธรณ์ "ผ่าน-ไม่ผ่าน" ภายในเดือนไหน? เช็กเลยที่นี่


นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผย ความคืบหน้าการใช้สิทธิภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 (โครงการฯ) ผ่านบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จภายในวันที่ 26 มีนาคม 2566 (ผู้มีสิทธิฯ) ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 น. มีมูลค่าการใช้สิทธิสะสมจำนวนกว่า 732.81 ล้านบาท จากผู้มีสิทธิฯ จำนวนกว่า 2.36 ล้านราย 


โดยส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สิทธิในวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) จำนวน 728.15 ล้านบาท วงเงินส่วนลดค่าซื้อ ก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด จำนวน 2.52 ล้านบาท และวงเงินรวมค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวน 2.14 ล้านบาท ตามลำดับ


สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ (ผู้ผ่านเกณฑ์) ตามโครงการฯ ที่ดำเนินการยืนยันตัวตนแล้วโดยข้อมูล วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 น. มีผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จ จำนวนทั้งสิ้น 13,318,622 ราย (หรือคิดเป็นร้อยละ 91.24 ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) 


ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ที่ดำเนินการยืนยันตัวตนสำเร็จระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 26 เมษายน 2566 จำนวน 721,208 ราย สามารถใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไปและจะได้รับสิทธิย้อนหลังของเดือนเมษายน 2566 (สิทธิย้อนหลังจะให้เฉพาะวงเงินการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้าฯ เท่านั้น)


ผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยังไม่ได้ดำเนินการยืนยันตัวตน สามารถยืนยันตัวตนได้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน ได้ตามวันเวลาที่หน่วยงานกำหนด จึงขอให้ผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยังไม่ได้ดำเนินการยืนยันตัวตนรีบดำเนินการยืนยันตัวตนให้แล้วเสร็จเพื่อให้สามารถใช้สิทธิสวัสดิการตามโครงการฯ ทั้งนี้ รายละเอียดช่วงเวลาการยืนยันตัวตนและวันที่เริ่มใช้สิทธิตามที่กระทรวงการคลังกำหนด


ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนผู้ผ่านเกณฑ์จะต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) และ ต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนกับธนาคารใดก็ได้ เนื่องจากการผูกบัญชีพร้อมเพย์ไว้ล่วงหน้า

จะทำให้ผู้ได้รับสิทธิโครงการฯ สะดวกในการรับสิทธิสวัสดิการหากภาครัฐมีการให้สวัสดิการเป็นเงินโอนเข้าบัญชีในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยืนยันตัวตนไม่สำเร็จเนื่องจากการตรวจสอบสถานะบัตรประจำตัวประชาชนไม่ผ่าน

ขอให้ผู้ที่ยืนยันตัวตนไม่สำเร็จตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลได้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 


หากตรวจสอบและแก้ไขสถานะบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ให้ดำเนินการยืนยันตัวตนอีกครั้ง สำหรับการยืนยันตัวตนไม่สำเร็จที่เกิดจากกรณีเปรียบเทียบใบหน้าไม่ผ่าน ขอให้ผู้ที่ยืนยันตัวตนไม่สำเร็จในกรณีดังกล่าวติดต่อธนาคารกรุงไทยฯ เพื่อดำเนินการยืนยันตัวตนตามขั้นตอนของธนาคารกรุงไทยฯ ต่อไป


นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวย้ำว่า สำหรับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติที่ได้ดำเนินการอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยื่นขออุทธรณ์ และได้ดำเนินการขอตรวจสอบ และ/หรือขอปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้ถูกต้องที่หน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ลงทะเบียน ไม่ผ่านเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว ขอให้รอตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติสำหรับรอบอุทธรณ์ซึ่งกระทรวงการคลัง จะประกาศให้ทราบภายในเดือนมิถุนายน 2566 


ช่องทาง ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน 


ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https:// บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https: //welfare.mof.go.th ได้ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน


บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คลังประกาศผลอุทธรณ์ ผ่าน-ไม่ผ่าน ภายในเดือนไหน?



เอกสารสำหรับการยืนยันตัวตน


ผู้ลงทะเบียนผ่านเกณฑ์ ต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนผ่านหน่วยงานที่กำหนด ดังนี้

- ธนาคารกรุงไทย (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป)

- ธนาคารออมสิน (วันที่ 1 มีนาคม - 27 สิงหาคม 2566)

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  (วันที่ 1 มีนาคม - 27 สิงหาคม 2566)


1. กรณีเดินทางมาด้วนตนเอง

- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน)

- ใบสำคัญการหย่า หรือ ใบมรณะ หรือ หนังสือรับรองการตาย หรือ ทะเบียนบ้านที่มี การจำหน่ายการตาย (เฉพาะผู้ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข)


2. กรณีมอบอำนาจ

ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนได้เอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายืนยันตัวตนแทนได้ โดยใช้เอกสารดังนี้

- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน) 

- ใบสำคัญการหย่า หรือ ใบมรณะ หรือ หนังสือรับรองการตาย หรือ ทะเบียนบ้านที่มี การจำหน่ายการตาย (เฉพาะผู้ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข)

- หนังสือมอบอำนาจ (ดาวโหลดที่เว็บไซต์โครงการฯ) คลิกที่นี่

- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ได้รับมอบอำนาจ) 

- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือ ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี) ให้นำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่หน่วยงานยืนยันตัวตน






ภาพจาก บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ/TNN Online

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง