TNN เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ "เล่น" ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

TNN

สังคม

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ "เล่น" ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

“เรียนรู้” ผ่านประสบการณ์ “เล่น” ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง พลังแห่ง “ความสุข” สู่เครือข่ายตำบลสนับสนุนการเล่นเด็กปฐมวัย

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

การ “เล่นอิสระ” เครื่องมือที่ “ครูมด” นารศ จันทร ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยอายุ 2-4 ปี จำนวน 18 คนของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง ตำบลหนองม้า อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งที่นี่ได้เข้าร่วมเป็น “เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก”  ที่ขับเคลื่อนโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

ครูมดระบุว่า “ก่อนหน้านี้ไม่เคยเข้าใจเลยว่าเด็กต้องการอะไร ไม่สามารถควบคุมเด็กได้ ไม่รู้วิธีการจัดการกับเด็กๆ ต่อมาเมื่อได้เข้ารับการอบรมในการเป็น Play Worker หรือ ผู้อำนวยการเล่น ทำให้เกิดความเข้าใจในความต้องการของเด็กๆ มากขึ้น” 

ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง ได้ใช้การเล่นนำการเรียนมา 5 ปี โดยประยุกต์การเล่นเข้ากับการจัดประสบการณ์ 6 กิจกรรมหลักโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีจุดเด่นคือการเปิดให้เด็กได้เล่นอิสระตามต้องการ และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนเข้ามาสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ  

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

“ครั้งแรกทำเรื่องเล่นโดยที่ไม่ได้บอกก่อน ผู้ปกครองเห็นว่าเสื้อเลอะสี จึงถามว่าให้ลูกเล่นอะไร เมื่อมีความสงสัย จึงเชิญเข้ามาประชุมชี้แจงการเรียนการสอน เชิญวิทยากรมาอธิบายความสำคัญของการเล่น หลังจากนั้นก็ให้เข้ามาดูเด็กเล่น ชวนให้ผู้ปกครองนึกย้อนว่าตอนที่เป็นเด็กชอบทำอะไรมากที่สุด ทุกคนก็จะนึกถึงและจำได้แต่เรื่องเล่น แล้วก็ชวนให้เล่นกับเด็กผู้ปกครองก็จะเข้าในการเล่นมากขึ้น” ครูมดเล่าถึงแนวทางการสร้างความเข้าใจ

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

นอกจากนี้สิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองมากที่สุดก็คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ โดยเมื่อเปลี่ยนการเรียนเป็นการเล่น เด็กๆ ก็อยากจะที่จะมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนิน “โครงการเยี่ยมบ้านประสานสัมพันธ์”  โดยคณะครูจะลงไปเยี่ยมบ้านของเด็กๆ  ให้คำและแนะนำความรู้เรื่องการเล่นกับผู้ปกครอง มีหนังสือนิทานให้ยืมเพื่อให้นำไปอ่านให้ลูกฟัง แนะนำการจัดสถานที่เพื่อให้เด็กๆ ได้มีมุมเล่นอิสระที่บ้าน หากขาดเหลืออะไรก็พร้อมให้การสนับสนุนเพื่อให้เด็กๆ ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องไปถึงที่บ้าน

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

“ครูเต่า” อรุณรัตน์ สุระ จาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองม้า เล่าว่าก่อนที่จะนำเรื่องเล่นอิสระมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อน เพราะความเชื่อของคนส่วนมากจะเข้าใจว่าการมาโรงเรียนก็คือต้องมาเรียนหนังสือ  

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

สบา พันธ์ขาว ผู้ปกครองของ น้องโปรด น้องเนย และน้องแพน เล่าว่า เมื่อก่อนก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องทำกิจกรรมแบบนี้ พอคุณครูชวนให้มาดูว่าเด็กๆ ที่นี่อยู่กันยังไง จึงได้เห็นพฤติกรรมต่างๆ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ทำให้เข้าใจเรื่องของการเล่นอิสระว่าการเล่นก็แทรกการเรียนรู้ไปได้ ได้ฝึกสังเกตเรียนรู้มากขึ้น รวมถึงมีความสุขจากการได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ 

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

“ครูยาย” สุรชาติ วิทสิงห์ อดีตครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาน ที่มาเป็นจิตอาสาช่วยดูแลการจัดกิจกรรมต่างๆ เด็กๆ เล่าให้ฟังว่า จะไปช่วยงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 แห่งทุกครั้งเมื่อมีการจัดงาน โดยจะชวนเด็กๆ มาสานปลาตะเพียน ทำของเล่นจากวัสดุพื้นบ้าน และเล่านิทานให้ฟัง 

เรื่องราวการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ เล่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

ด้าน ร.ต.อ.เสถียร พรหมสุวรรณ นายก อบต.หนองม้า กล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลงว่า เป็นต้นแบบในการขยายผลไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีก 2 แห่งในพื้นที่ เพราะการเล่นนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับเด็กวัยนี้ เป็นการช่วยเตรียมความพร้อมทักษะด้านต่างๆ ช่วยพัฒนาสมอง และความคิดสร้างสรรค์ให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ เมื่อเข้าสู่ระดับประถมศึกษา


“ครูมด” นารศ จันทร ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “การอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าเด็กคนนั้นเก่งกว่าคนนี้ แต่เราจะเน้นที่พัฒนาการสมวัย คำว่าพัฒนาการสมวัยก็คือ พัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการเล่น การมีความสุข ได้สนุกกับสิ่งที่ทำ ซึ่งการที่เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย จะทำให้เขาสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่า”


ที่มาข้อมูล  : TNN ONLINE

ที่มาภาพ : TNN

ข่าวแนะนำ