TNN เจ้าพระยาวิกฤตต่อเนื่อง! ดร.เสรี ชี้ "นครชัยศรี" อ่วมสุดปลายเดือนต.ค.

TNN

สังคม

เจ้าพระยาวิกฤตต่อเนื่อง! ดร.เสรี ชี้ "นครชัยศรี" อ่วมสุดปลายเดือนต.ค.

เจ้าพระยาวิกฤตต่อเนื่อง! ดร.เสรี ชี้ นครชัยศรี อ่วมสุดปลายเดือนต.ค.

ดร.เสรี ชี้ "เจ้าพระยาวิกฤตต่อเนื่อง ท่าจีนกระอัก นครชัยศรีอ่วมสุดปลายเดือนตุลาคม ยังคงต้องติดตามอิทธิพลของพายุจรต่อไป

ดร.เสรี ชี้ "เจ้าพระยาวิกฤตต่อเนื่อง ท่าจีนกระอัก นครชัยศรีอ่วมสุดปลายเดือนตุลาคม ยังคงต้องติดตามอิทธิพลของพายุจรต่อไป


วันนี้( 14 ต.ค.65) รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ได้โพสต์ข้อความระบุว่า  "เจ้าพระยาวิกฤตต่อเนื่อง ท่าจีนกระอักนครชัยศรีอ่วมสุดปลายเดือนตุลาคม ภาคอีสานกลาง-ล่างเฝ้าระวังฝนจากดีเปรสชั่น 15 ตุลาคม ภาคใต้ฝนตกหนัก 16-20 ตุลาคม


เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ผมใช้เวลาในการสำรวจน้ำทั้งวัน ทั้งคืนครับจากฝั่งตะวันออก ม.เจ้าพระยา (จุดที่ 1, 2 อ.ป่าโมกข์) ไปยังฝั่งตะวันตก ม.ท่าจีนเริ่มจากประตู้น้ำโพธิ์พระยา (จุดที่ 3) และ อ.บางปลาม้า และมาจบที่ตลาดนครชัยศรี (จุดที่ 4)


แม้ว่าปริมาณน้ำเริ่มทรงตัวที่นครสวรรค์ แต่มีน้ำจากอุทัยธานีมาสมทบ ทำให้การระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา (3,154 cms) ยังอยู่ในขั้นวิกฤตต่อไป ลูกศิษย์พาสำรวจจุดเปราะบางที่ อ.ป่าโมกข์ มีน้ำหลากข้าม ถ. 309 (จุดที่ 1) คันถนนริมคลองโพธิ์ขาดกว่า 20 ม. (จุดที่ 2) น้ำกำลังไหลไปที่ อ.บางประหัน ขณะเดียวกันมีคันแตกที่บริเวณใกล้ๆประตูน้ำบางโฉมศรีกว่า 100 m จากกรณีคันแตกดังกล่าว ส่งผลดีต่อชุมชนปลายน้ำมีระดับน้ำไม่เพิ่มมากนัก (วัดจุฬามณี บางบาลมีระดับทรงตัว) แต่แน่นอนชุมชนหลังคันแตกได้รับผลกระทบหนัก เดินทางต่อไปพบผู้อำนวยโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาโพธิ์พระยา (ระบายอยู่ประมาณ 270 cms) 


ขณะที่มีน้ำล้นอ่างฯกระเสียวประมาณ 60-90 cms (หากไม่มีฝนเพิ่ม)  ที่กำลังลงมา ประกอบกับปริมาณน้ำในทุ่งตั้งแต่ อ.บางปลาม้า อ.บางเลน และมีน้ำทะเลหนุนสูง (ตั้งแต่ 13-15 และ 27-30 ตุลาคมนี้)  ทำให้น้ำไปกองที่ อ.นครชัยศรี (จุดที่ 4,มีน้ำท่วมถนนสูง 20-40 cm) พบกับ อ.ประเชิญสนทนากันเรื่องสถานการณ์น้ำ ม.ท่าจีน    


ปลายสัปดาห์นี้ 14-15 ตุลาคม จะมีพายุดีเปรสชันเข้าเวียดนาม และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อม Low (จากความกดอากาศสูง) ผ่านมาทางภาคอีสานกลาง-ล่าง คาดว่าจะเริ่มมีฝนตั้งแต่เช้าตรู่ของวันที่ 15 ตุลาคม สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑลไม่น่าจะได้รับผลกระทบมาก (ยกเว้น จ.เพชรบูรณ์ ที่อาจจะมีฝนไปเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักฯได้) 


อย่างไรก็ตามพื้นที่ภาคอีสานกำลังมีน้ำท่วมวิกฤตหลายจังหวัด ประกอบกับอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่มีน้ำเต็มหลายอ่าง จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 


ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 16-20 ตุลาคม จากร่องฝน และหย่อม Low ในทะเลอันดามัน) ดังนั้นเดือนตุลาคมยังคงต้องติดตามอิทธิพลของพายุจรต่อไป"





ภาพจาก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ / ผู้สื่อข่าวอยุธยา

ข่าวแนะนำ