TNN online ติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" จากการนั่งส้วมในห้องน้ำ ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัดเป็นไปได้หรือไม่?

TNN ONLINE

สังคม

ติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" จากการนั่งส้วมในห้องน้ำ ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัดเป็นไปได้หรือไม่?

ติดเชื้อ ฝีดาษลิง จากการนั่งส้วมในห้องน้ำ ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัดเป็นไปได้หรือไม่?

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ยืนยันการติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วมในห้องน้ำว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เว้นแต่ผู้ใช้ส้วมจะมีแผลสดที่บริเวณก้น เพราะการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอกหรือเป็นแผลสด


ศูนย์จีโนมฯ ยืนยันการติดเชื้อไวรัส "ฝีดาษลิง" จากที่นั่งส้วมในห้องน้ำว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เว้นแต่ผู้ใช้ส้วมจะมีแผลสดที่บริเวณก้น เพราะการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอกหรือเป็นแผลสด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ชี้แจงกรณีการติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วมในห้องน้ำว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เว้นแต่ผู้ใช้ส้วมจะมีแผลสดที่บริเวณก้น เพราะผิวหนังปรกติของคนเราจะเป็นปราการด่านแรก 

และด่านสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากจุลชีพ รวมทั้งไวรัสฝีดาษลิงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ สังเกตจากการปลูกฝีในอดีตที่ใช้เชื้อไวรัสฝีดาษม้า “ vaccinia virus” มาปลูกฝี ต้องใช้วัตถุมีคม 

เช่น มีดปลายแหลม หรือ เข็ม มากรีด หรือขีดข่วนผิวหนังบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล(เลือดไหลซิบ) ก่อนหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไปเพื่อช่วยให้ไวรัสเชื้อเป็นในหนองฝีเข้าสู่ผิวหนังและเพิ่มจำนวนกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา 

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอกหรือเป็นแผลสด ขนาดผิวหนังมีรอยถลอกหรือแผลไม่ลึกมากพอเชื้อไวรัสก็ไม่สามารถมาติดได้

ติดเชื้อ ฝีดาษลิง จากการนั่งส้วมในห้องน้ำ ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัดเป็นไปได้หรือไม่?

ทั้งนี้ โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผลสด รวมทั้งสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ เช่นเยื่อบุในปาก เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุดวงตา เยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุทวารหนัก ฯลฯ 

โดยผ่านทางนิ้วมือ อวัยวะเพศ หรือ วัตถุที่เป็นพาหะนำโรค (fomite) เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เซ็กซ์ทอย(ที่กับช่องคลอดหรือกับรูทวาร) ที่ใช้ร่วมกันโดยยังมิได้ชำระฆ่าเชื้อ  

ในปี ค.ศ. 1798 หรือประมาณ “224 ปี” ที่ผ่านมา นพ. เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ชาวอังกฤษได้เผยแพร่วิธีปลูกฝี โดยผู้ที่เข้ารับการปลูกฝี จะถูกกรีดบริเวณต้นแขนให้เกิดแผลสดก่อนการหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไป (vaccination) (ภาพ2) พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษ (smallpox) ได้ตลอดชีวิต 

ในปี ค.ศ. 1720 หรือประมาณ “302 ปี”ที่ผ่านมาในประเทศจีนและอินเดีย ได้มีการใช้หนองฝีของคนที่เป็นฝีดาษทำให้แห้ง บดเป็นผง  และเป่าผ่านเข้าทางรูจมูก (mucosal vaccination) ของผู้คนที่ต้องการจะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อฝีดาษในสมัยนั้น เรียกวิธีนี้ว่า “Variolation”  (ภาพ2) ไวรัสจะเข้าไปในเยื่อบุทางเดินหายใจเพิ่มจำนวนในวงจำกัดและเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันต่อการติดเชื้อไวรัสฝีดาษ  

ในทั้งสองกรณีที่กล่าวพิสูจน์ว่ามนุษย์เราสามารถติดเชื้อฝีดาษผ่าน รอยถลอก บาดแผลสด และเยื่อบุ (mucosal tissue) ในร่างกาย


ติดเชื้อ ฝีดาษลิง จากการนั่งส้วมในห้องน้ำ ศูนย์จีโนมฯ ตอบชัดเป็นไปได้หรือไม่?



ข้อมูลจาก Center for Medical Genomics

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง