TNN online เปิดแนวทาง! "พลเมืองดี" ถ่ายคลิปเหตุการณ์ ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกฟ้อง?

TNN ONLINE

สังคม

เปิดแนวทาง! "พลเมืองดี" ถ่ายคลิปเหตุการณ์ ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกฟ้อง?

เปิดแนวทาง! พลเมืองดี ถ่ายคลิปเหตุการณ์ ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกฟ้อง?

เปิดแนวทาง! "พลเมืองดี" ถ่ายคลิปเหตุการณ์ ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกฟ้อง ดีอีย้ำ! กฎหมาย PDPA คุ้มครองประชาชน เเนะอย่าเเชร์มั่ว ดูเจตนา



 PDPA  ถ่ายคลิปเหตุการณ์ ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกฟ้อง




จากกรณีที่ประชาชนหลายคน เกิดความสงสัย ในข้อ กฎหมาย PDPA  ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ หรือ คลิปวีดิโอของ บุคคลอื่น  ไม่ว่าจะเป็นจาก เหตุการณ์เฉพาะหน้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน  การทำร้ายร่างกาย  มิจฉาชีพ หรือ การเตือนภัยต่างๆ  ที่ก่อนหน้านี้ มักจะมีข่าวปรากฎตามหน้าสื่อ จนนำไปสู่การจับกุมคนร้าย หรือแม้แต่เป็นกุญแจดอกสำคัญในการไขคดีต่างๆ มาแล้วในอดีต 


สำหรับ ประเด็นนี้ หลายคนเกิดความกังวล ว่าหลังจากนี้  "พลเมืองดี" จะสามารถทำหน้าที่ได้หรือไม่ เมื่อพบเห็นความไม่ถูกต้อง  เนื่องจากกลัวจะผิดกฎหมาย PDPA  และถูกฟ้องร้องเป็นคดีความตามมา 



ล่าสุด นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม(ดีอีเอส) เปิดเผยถึง กรณีที่ประชาชนอาจจะวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565  เกรงว่าจะผิดกฎหมายหรือไม่นั้น พบว่า หนึ่งในข้อกังวล กรณีพบเห็นเหตุการณ์ผิดปกติแล้วถ่ายภาพหรือคลิปเป็นเป็นหลักฐานจะทำได้หรือไม่ 



พลเมืองดี  เจอเหตุการณ์ ห้ามโพสต์เอง

 

*****   ในกรณีนี้ สามารถทำได้ แต่ต้อง ไม่นำมาเผยแพร่หรือ โพสต์ด้วยตนเอง โดยควรส่งหลักฐานเหล่านั้น  ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย  ***** 


“การที่เราเอาภาพที่ไม่เหมาะสม เอาคลิปที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมมาโพสต์ หรือมาแชร์เอง ก็อาจจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่น อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ เพราะเขาเป็นผู้เสียหายจากสิ่งที่ท่านทำ แต่ถ้าเก็บคลิป แล้วนำไปให้เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐาน เพื่อประโยชน์ในทางรูปคดีอันนี้ทำได้อยู่แล้ว” ชัยวุฒิกล่าว 


 

ทั้งนี้   กฎหมาย PDPA มุ่งที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลของพี่น้องประชาชนที่เคยให้กับร้านค้า หน่วยงานต่างๆ  ซึ่งผู้ประกอบการและหน่วยงานเหล่านั้น ต้องเก็บข้อมูลของประชาชนให้ดี ไม่ให้รั่วไหล ถ้าจะนำไปใช้ประโยชน์ก็ต้องขอความยินยอมจากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูล และห้ามนำไปใช้ทำให้พี่น้องประชาชน หรือเจ้าของข้อมูลเกิดความเสียหาย




การโพสต์-การแชร์  ต้องดูที่เจตนา



นายชัยวุฒิ กล่าวว่า นี่คือหลักการสำคัญของกฎหมาย แต่เรื่องการโพสต์ การแชร์ การให้ข่าวต่างๆ ไม่ได้เป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ เพียงแต่อาจจะไปผิดกฎหมายอื่น เป็นการละเมิดสิทธิบุคคลมีการฟ้องแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายกันอันนี้อีกเรื่องหนึ่ง อยากให้มองว่าเจตนารมณ์ของ PDPA คุ้มครองข้อมูลของเราที่เก็บไว้ในร้านค้าหรือองค์กรต่างๆไม่ให้รั่วไหลนี่คือหัวใจสำคัญ


“ประชาชนเป็นเจ้าของข้อมูลสำคัญของตัวท่านเอง เวลาท่านให้ข้อมูลกับบุคคล ร้านค้า หรือหน่วยงานต่างๆท่านมีสิทธิที่จะไม่ยินยอมให้นำข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลส่วนบุคคล ร้านค้าหรือหน่วยงานไม่มีสิทธินำข้อมูลไปเปิดเผย หากนำไปเปิดเผยจะมีความผิดตามกฎหมาย PDPA ประชาชนควรติดตามหากมีใครนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้ไปใช้ หรือนำไปเผยแพร่ทำให้เกิดความเสียหายกับตัวเราสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมายPDPA” รัฐมนตรีดีอีเอส กล่าว 


 



นับเป็นอีก ภารกิจที่สำคัญของกระทรวงฯ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคน สคส. ต้องเร่งขับเคลื่อนก็คือ พยายามประสานงานกับภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ให้มีการเก็บข้อมูล ให้มีมาตรฐานให้มีระบบที่ดี ไม่ให้มีข้อมูลรั่วไหล  ข้อมูลที่ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ประชาชนก็มีสิทธิในข้อมูลของตัวเอง ดังนั้นต้องคอยติดตามว่าข้อมูลนี้ ใครนำไปใช้ในทางไม่ชอบหรือไม่ ถ้าพบก็แจ้งร้องเรียนมาทางสำนักงาน สคส. เพื่อคุ้มครองสิทธิในข้อมูลของตัวเอง

 


ภาพ TNNONLINE 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง