TNN online ลงทะเบียนกัญชา จะใช้ "กัญชา" เป็นยา ต้องรู้อะไรบ้าง?

TNN ONLINE

สังคม

ลงทะเบียนกัญชา จะใช้ "กัญชา" เป็นยา ต้องรู้อะไรบ้าง?

ลงทะเบียนกัญชา จะใช้ กัญชา เป็นยา ต้องรู้อะไรบ้าง?

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกัญชา กัญชงในประเทศไทย ไม่ใช่ยาเสพติดอีกต่อไป จะใช้ "กัญชา" เป็นยา ประชาชนต้องรู้อะไรบ้าง

ลงทะเบียนกัญชา ปลูกกัญชาเสรี เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.65 พืชกัญชา กัญชงไม่ใช่ยาเสพติดอีกต่อไป ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกัญชากัญชงในประเทศไทย และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องทำความ เข้าใจ เพื่อให้ก้าวไปด้วยกันอย่างถูกต้องว่า ประชาชนจะสามารถปลูกพืชกัญชากัญชง เพื่อประโยชน์ในการรักษาและดูแลสุขภาพ และเมื่อปลูกแล้วยังสามารถแสดงตนด้วยการจดแจ้งผ่านระบบแอปฯ ปลูกกัญของ อย.ได้ด้วย


จะใช้กัญชา เป็นยา ต้องรู้อะไรบ้าง

1. วัตถุประสงค์ ส่งเสริมสุขภาพ รักษาโรค/อาการ

2. สายพันธุ์ สายพันธุ์ไทย หรือ เทศ และส่วนที่ใช้

3. วิธีการ/เทคนิคการปรุงเป็นยา (ยากิน หรือ ยาภายนอก)

4. ใช้แล้วต้องติดตามอาการ


สายพันธุ์กัญชา

กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ


ซาติวา (Cannabis sativa)

เป็นภาษาละติน แปลว่า เพาะปลูก ตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 (พ.ศ. 2296) มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซาติวามีลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน (เมื่อเทียบกับอินดิกา) ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อากาศร้อน ซาติวามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูงกว่าอินดิกา


อินดิกา (Cannabis indica)

ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) กัญชาสายพันธุ์อินดิกาได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง

อินดิกามีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม (เมื่อเทียบกับซาติวา) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ ประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง


รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)

ผู้ตีพิมพ์เรื่องราวกัญชาสายพันธุ์นี้คนแรก คือ นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) เมื่อปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสมีแหล่ง กำเนิดบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป

รูเดอราลิส มีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ปริมาณสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) แต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา


ประโยชน์ของสาร THC และ CBD ในกัญชา

สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง

สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร


ข้อมูลการใช้กัญชา อย่างรอบด้าน เพื่อความปลอดภัยและการมีสุขภาพที่ดี

คนไทยจะสามารถปลูกกัญชากันได้แล้ว เพีงแค่จดแจ้งในแอปพลิเคชั่น ปลูกกัญ หรือไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แค่นั้นคงไม่พอสำหรับการนำมาใช้ ประชาชนควรศึกษาข้อมูลการใช้กัญชา

อย่างรอบด้าน เพื่อความปลอดภัยและการมีสุขภาพที่ดีด้วย


ลงทะเบียนกัญชา จะใช้ กัญชา เป็นยา ต้องรู้อะไรบ้าง? ภาพจาก กัญชาทางการแพทย์

 

ใครปลูกกัญชาได้บ้าง 

ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุว่าผู้ที่สามารถปลูกกัญชาได้ ได้แก่ (1) หน่ายงานของรัฐ (2) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการสอน วิจัย ทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (3) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สหกรณ์การเกษตร, วิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจสังคม ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา (4) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (เภสัชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย) ทั้งนี้ระยะ 5 ปี แรก การขออนุญาตปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ โดยผู้ขออนุญาต กลุ่ม 3) 4) และ 5) ต้องดำเนินการร่วมกับผู้ขออนุญาตกลุ่ม 1) หรือ 2) (มาตรา 21)


ขั้นตอนการปลูก

-ผู้ขออนุญาต* ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สัญชาติไทย มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

-เตรียมสถานที่ปลูกให้เหมาะสม เช่น มีเลขที่ตั้งชัดเจน

-ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด เช่น แผนการปลูก โดยยื่นคำที่สำนักงาน อย. กระทรวงสาธารณสุข

-เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาโดยความเห็นชอบของกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

*ผู้ขออนุญาต ได้แก่ (1) หน่ายงานของรัฐ (2) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการสอน วิจัย ทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (3) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สหกรณ์การเกษตร, วิสาหกิจขุมชน, วิสาหกิจสังคม ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา (4) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (เภสัชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย) ทั้งนี้ กลุ่มบุคคลในข้อ 2, 3 และ 4 ต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานรัฐ (ข้อ 1)


ลงทะเบียนกัญชา ขั้นตอนการจดแจ้งขอปลูกกัญชา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้จัดทำแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th โดยแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" 

สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android เพื่อออกใบรับจดแจ้งในวันที่ 9 มิถุนายน 2565  

โดยจดแจ้งเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ  คือ 

1. ลงทะเบียน 

2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ 

3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนและแหล่งที่ปลูกกัญชา และกัญชงทั่วประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการแสวงหาวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาด เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ได้มีการเพิ่มช่องทางแจ้งปลูกกัญชา เนื่องจากมีผู้ใช้งานเว็บไซต์ "ปลูกกัญ" เป็นจำนวนมาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงขยายช่องทาง

เว็บไซต์เพิ่มเติมอีกช่องทางโดยสามารถเข้าได้ที่ https://plookganjaweb.fda.moph.go.th

ลงทะเบียนกัญชา จะใช้ กัญชา เป็นยา ต้องรู้อะไรบ้าง?




ติดตามข่าวกัญชา กัญชง เพิ่มเติมได้ที่ กัญชาทางการแพทย์

ภาพจาก ผู้สื่อข่าวเชียงใหม่

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง