TNN online วันพืชมงคล 2565 ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

TNN ONLINE

สังคม

วันพืชมงคล 2565 ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

วันพืชมงคล 2565 ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพืชมงคล ประจำปี 2565

เนื่องในโอกาส วันพืชมงคล 2565 ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สังกัดสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์จะดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อเป็นพระโคตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180  เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม

ในปี 2565 กรมปศุสัตว์ ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จำนวน 2 คู่ คือ

พระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง

พระโคสำรอง 1 คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล

วันพืชมงคล 2565 ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระโคแรกนาขวัญ

พระโคพอ มีความสูง 165 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 225 เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 214 เซนติเมตร อายุ 10 ปี

พระโคเพียง มีความสูง 169 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 238 เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 209 เซนติเมตร อายุ 10 ปี

นายสมชาย ดำทะมิส บริจาคทรัพย์ซื้อพระโคพอ แล้วมอบให้กรมปศุสัตว์ นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใช้เป็นพระโคแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช 2565

นายอาคม วัฒนากูล บริจาคทรัพย์ซื้อพระโคเพียง แล้วมอบให้กรมปศุสัตว์ นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใช้เป็นพระโคแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช 2565

วันพืชมงคล 2565 ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระโคสำรอง

พระโคเพิ่ม มีความสูง 159  เซนติเมตร ความยาวลำตัว 233  เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 201  เซนติเมตร อายุ 12  ปี

 พระโคพูล มีความสูง 157  เซนติเมตร ความยาวลำตัว 238  เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 205  เซนติเมตร อายุ 12  ปี

นายทฤษดี ชาวสวนเจริญ อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์บริจาคทรัพย์ซื้อพระโคเพิ่ม แล้วมอบให้ กรมปศุสัตว์ นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใช้เป็นพระโคสำรองประจำปีพุทธศักราช 2565

 นายวิจารณ์ ภุกพิบูลย์ มอบพระโคพูลให้กรมปศุสัตว์ นำน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใช้เป็นพระโคสำรองประจำปีพุทธศักราช 2565

พระโคแรกนาขวัญ และพระโคสำรอง ประจำปีพุทธศักราช 2565  เป็น โคพันธุ์ขาวลำพูน มีสีผิวขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำ หรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว ลำตัวเป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวงสีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า

วันพืชมงคล 2565 ทำความรู้จัก “พระโคแรกนา” ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ทำไมต้องใช้พระโคในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ?

พระโค ในทางศาสนาพรามหณ์ หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1  เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์

สำหรับพิธีการเสี่ยงทายผ้านุ่งและ พระโคเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ในปี 2565 

โหรหลวงทำนายว่าผลการเสี่ยงทายผ้านุ่ง ในปีนี้น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอน จะสมบูรณ์ ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่

สำหรับพระโคเลือกกินหญ้าและน้ำ ทำนายว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์

พระโค กินถั่ว  ทำนายว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

พระโคกินเหล้า ทำนายว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

ข้อมูลจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพจาก : โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง