TNN online เปิดวิธีรักษา “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” ต้องทำอย่างไร

TNN ONLINE

สังคม

เปิดวิธีรักษา “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” ต้องทำอย่างไร

เปิดวิธีรักษา “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” ต้องทำอย่างไร

เปิดวิธีการรักษา “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” ( Alopecia Areata) ต้องทำอย่างไร พร้อมเผยสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นเกิดจากอะไรได้บ้าง

จากกรณีข่าวดังระหว่างการประกาศผลรางวัลอคาเดมี่ อวอร์ด หรือ ออสการ์ ครั้งที่ 94 เมื่อนักแสดงชื่อดัง วิลล์ สมิธ (Will Smith)  บุกขึ้นเวทีไปตบหน้า ของคริส ร็อค เนื่องจากเขาได้เล่นมุกตลกล้อเลียน ทรงผมของ จาดา พิงคิตต์ สมิท ผู้เป็นภรรยา หลังจากเธอตัดสินใจโกนผมทั้งศีรษะเนื่องจากป่วยเป็น โรคผมร่วงเป็นหย่อม ( Alopecia Areata) 

เปิดวิธีรักษา “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” ต้องทำอย่างไร



ทั้งนี้นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า อาการนี้ พบได้ในทุกช่วงอายุ มักมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ บริเวณผมที่ร่วงมีลักษณะกลม หรือรี อาจมีอาการขนร่วงที่บริเวณอื่นร่วมด้วยเช่น เครา หนวด ขนคิ้ว และขนตามร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการมากคือ ผมร่วงหมดทั้งศีรษะ (alopecia totalis) มีขนบริเวณอื่นของร่างกายร่วงจนหมดร่วมด้วย (alopecia universalis)  ในผู้ป่วยบางรายที่มีผมร่วงไม่มาก 

นอกจากนี้ อาการผมร่วง ยังเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้

  • 1.ความเครียด ความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด การมีไข้เป็นเวลานาน การคลอดบุตร ภาวะเครียดทางจิตใจ การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
  • 2.ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป
  • 3.ยาบางชนิด
  • 4.อาการแพ้ยา
  • 5.การฉายรังสี
  • 6.การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อรา ซิฟิลิส เอชไอวี เริม
  • 7.ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • 8.โรคทางผิวหนัง DLE และโรคทางภูมิคุ้มกัน SLE (Systemic and discoid lupus erythematosus)
  • 9.ภาวะโลหิตจาง
  • 10.เส้นผมถูกดึงรั้งแน่นเกินไป ด้วยการม้วนด้วยที่ม้วนผม การมัดผมหางม้า และการถักผมเปียติดหนังศีรษะ
  • 11.การบิดม้วนและดึงผมที่เกิดจากปัญหาทางจิตใจ
  • 12.ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

**นอกจากนี้ประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้านหรือผมร่วง แก่ก่อนวัย (เป็นปัญหาศีรษะล้านของผู้ชายโดยเฉพาะ) การตั้งครรภ์ ความเครียด ภาวะโภชนาการต่ำ ก็ยังเป็น 1 ในสาเหตุอีกด้วย**

เปิดวิธีรักษา “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” ต้องทำอย่างไร

สำหรับ โรคผมร่วงเป็นหย่อม ( Alopecia Areata)  อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า  อาการจะหายได้เองแต่มักจะใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งต่างจากในผู้ป่วยที่ผมร่วงมากที่มักจะไม่หายเอง โรคนี้อาจมีอาการเป็นๆ หายๆ ได้ ซึ่งการเป็นซ้ำอาจเกิดขึ้นเองหรืออาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆหรือภาวะเครียดจากร่างกายและจิตใจ

การรักษาโรคผมร่วง มีดังต่อไปนี้

1.การใช้ยาหรือแชมพูกำจัดเชื้อรา

  • 2.การฉีดสเตียรอยด์
  • 3.การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต เช่น นุ่มนวลกับผมของคุณมากขึ้น เรียนรู้และฝึกฝนควบคุมความเครียด
  • 4.การผ่าตัด
    • - การปลูกผม โดยการนำเส้นผมจากด้านหลังและด้านข้างของศีรษะ มาปลูกบนบริเวณที่ศีรษะล้าน
    • - การผ่าตัดเคลื่อนย้ายหนังศีรษะ โดยการตัดหนังศีรษะบริเวณที่ล้านออก แล้วดึงหนังศรีษะส่วนที่มีเส้นผมให้เข้ามาอยู่ใกล้กันมากขึ้น
    • ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์/กรมการแพทย์ 

      ภาพจาก : AFP


ข่าวแนะนำ