TNN online ถ่ายทอดสด "ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด" ห่าง 81.5 ล้านกิโลเมตร คลิกเลยที่นี่!

TNN ONLINE

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ถ่ายทอดสด "ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด" ห่าง 81.5 ล้านกิโลเมตร คลิกเลยที่นี่!

ถ่ายทอดสด ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด ห่าง 81.5 ล้านกิโลเมตร คลิกเลยที่นี่!

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ถ่ายทอดสด "ดาวอังคารใกล้โลก" ในคืนวันนี้ ทางเพจเฟซบุ๊ก คลิกเลยที่นี่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ถ่ายทอดสด "ดาวอังคารใกล้โลก" ในคืนวันนี้ ทางเพจเฟซบุ๊ก คลิกเลยที่นี่


NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้ง วันนี้ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 (ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารจะเรียงตัวอยู่ในเส้นเดียวกัน) ในช่วงดังกล่าว 


หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าดาวอังคารจะปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก มีสีส้มแดง และสว่างเด่นชัดอยู่บนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นผิว รวมทั้งขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ตลอดเดือนธันวาคมจึงเป็นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง 


เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่น ๆ เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15 - 17 ปี 


NARIT เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ “ดาวอังคารใกล้โลก” ชวนส่องพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งของดาวเคราะห์แดง ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา เวลา 18:00 - 22:00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย 


ชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกผ่าน NARIT Facebook Live ได้ทาง www.facebook.com/NARITPage  


นอกจากนี้ ยังร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่งทั่วประเทศ ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย ผู้สนใจสามารถตรวจสอบ


จุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านท่านได้ที่ https://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2022







ที่มา NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ / AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง