TNN online "ดาวอังคาร" ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค.นี้ เช็กจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านได้ที่นี่

TNN ONLINE

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

"ดาวอังคาร" ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค.นี้ เช็กจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านได้ที่นี่

ดาวอังคาร ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค.นี้ เช็กจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านได้ที่นี่

"ดาวอังคาร" ใกล้โลกที่สุด วันที่ 1 ธันวาคมนี้ สดร.เผย "ดาวอังคาร" จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้านกิโลเมตร

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยว่า วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 81.5 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 (ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคารจะเรียงตัวอยู่ในเส้นเดียวกัน) 

ในช่วงดังกล่าว หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าดาวอังคารจะปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก มีสีส้มแดง และสว่างเด่นชัดอยู่บนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป 

จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นผิว รวมทั้งขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคารได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ตลอดเดือนธันวาคมจึงเป็นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ดาวอังคารเป็นอย่างยิ่ง 

เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่น ๆ เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด 

ต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15 - 17 ปี 

ดาวอังคาร ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค.นี้ เช็กจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านได้ที่นี่

NARIT เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ “ดาวอังคารใกล้โลก” ชวนส่องพื้นผิวและขั้วน้ำแข็งของดาวเคราะห์แดง ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ 

และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา เวลา 18:00 - 22:00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย และชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกผ่าน NARIT Facebook Live ได้ทาง www.facebook.com/NARITPage  

นอกจากนี้ ยังร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่งทั่วประเทศ ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย ผู้สนใจสามารถตรวจสอบ

ดาวอังคาร ใกล้โลกที่สุด 1 ธ.ค.นี้ เช็กจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านได้ที่นี่

ภาพจำลองวงโคจรของโลกและดาวอังคาร ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่น ๆ 

เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15 - 17 ปี

เช็กจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านท่านได้ที่

https://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2022



ข้อมูลและภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง