TNN online ทร.เปิดสาเหตุมี เรือดำน้ำ ไปทำไม ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์

TNN ONLINE

การเมือง

ทร.เปิดสาเหตุมี เรือดำน้ำ ไปทำไม ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์

ทร.เปิดสาเหตุมี เรือดำน้ำ ไปทำไม ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์

เพจกองทัพเรือ แพร่บทความ มี “เรือดำน้ำ” ไปทำไม ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ยกยกประวัติศาสตร์ไทยถูกปิดอ่าว 3 ครั้ง ตอกย้ำความจำเป็น

วันนี้ (6ก.ย.63) เพจเฟซบุ๊กของกองทัพเรือ ชื่อ "กองทัพเรือ โดย โฆษกกองทัพเรือ" มี พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือ เป็นผู้ดูแล เขียนเนื้อหาถึงประเด็นการจัดซื้อเรือดำน้ำในส่วนงบประมาณของกองทัพเรือ จนทำให้เกิดเป็นประเด็นทางการเมืองขึ้นมา โดยกองทัพเรือได้สะท้อนเรื่องนี้ถึงประชาชนโดยตรง ซึ่งให้ชื่อว่า "มีเรือดำน้ำไปทำไม....ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์" ซึ่งอธิบายเรื่องทั้งหมดในแง่ความจำเป็นของกองทัพเรือ ที่ต้องมีเรือดำน้ำไว้ประจำการในกองทัพ

โดย ได้ยกประวัติศาสตร์ ที่กองทัพเรือใช้เป็นข้อมูลยืนยันความจำเป็นของเรือดำน้ำ ระบุว่า ไทยมีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ เนื่องจากอ่าวไทยเป็นอ่าวปิดลึกเข้ามาในคาบสมุทร โดยในอดีตไทยเคยถูกปิดอ่าว 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งแรก สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ฮอร์ลันดาเอาเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยามาปิดทางออกสู่ทะเลของไทย โดยเหตุการณ์นี้กองทัพเรืออ้างอิงละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” 

ครั้งที่ 2 เหตุการณ์ รศ.112 สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสปิดปากอ่าวไทย จนไทยต้องเสียดินแดนไปเกือบขนาดเท่าในประเทศไทยในปัจจุบัน

ครั้งที่ 3 คือ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือดำน้ำสหรัฐฯจมเรือขนส่งน้ำมันชื่อ ชื่อ ร.ล.สมุยบริเวณปากอ่าวไทย ทหารเรือสละชีพไป 36 นาย มีผลทำให้ไม่สามารถขนส่งน้ำมันจากทางทะเลเข้าสู่ประเทศได้ กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแทบจะหยุดชะงัก ประชาชนก็เดือดร้อนกันทั่ว โดยทั้ง 3 เหตุการณ์ กองทัพเรือ ระบุว่า ล้วนมาจากจุดอ่อนด้านภูมิศาสตร์ของไทย ที่ผู้รุกรานสร้างความเสียหายให้กับไทยไว้อย่างมหาศาล  

ทั้งนี้ ได้เปรียบเทียบกับประเทศเยอรมัน ก็เหมือนกับประเทศไทยกลับหัว มีทะเล 2 ฝั่งแต่ถูกคั่นด้วยประเทศที่ 3 ท่าเรือหลักคือ Hamburg ฮัมบูก และ Wilhelmhaven วิลเฮล์มฮาเว่น อยู่ในทะเลบอลติกและทะเลเหนือ ซึ่งเส้นทางการเดินเรือจะต้องผ่านหลายประเทศ แม้จะมีคลองคีล แต่ในยามสงครามก็ถูกปิดกั้นโดยง่ายจากทุ่นระเบิดวางโดยข้าศึก จึงจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปรามต่อประเทศที่จะมาคุกคามเส้นทางเดินเรือ และขนส่งพลังงานเข้าสู่ประเทศ ด้วยการคงประจำการเรือดำน้ำพลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดชั้น 212A จำนวน 6 ลำ

แม้จะยกเลิก Warsaw Pack ไม่มีภัยคุกคามที่เด่นชัดแล้วก็ตาม และที่น่าสังเกตคือ ทะเลบอลติกและทะเลเหนือมีความลึกน้ำเฉลี่ยใกล้เคียงกับอ่าวไทย แต่กองทัพเรือเยอรมันกลับสร้าง "เรือดำ" น้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สาเหตุหนึ่งคือเรือดำน้ำเป็นอาวุธทางรุก ยากต่อการตรวจพบ และให้ปฏิบัติการได้นานขึ้น สามารถเล็ดรอดเข้าไปทำลายกำลังหลักของฝ่ายตรงข้ามได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่อาณาเขตทางทะเลของตน พื้นที่ปฏิบัติการหลักจึงอยู่ภายนอก ซึ่งจะยิ่งสร้างอำนาจการป้องปรามให้สูงยิ่งขึ้น


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง