TNN online ส่องนโยบาย "ชัชชาติ" ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

TNN ONLINE

การเมือง

ส่องนโยบาย "ชัชชาติ" ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 8 กำลังจะก้าวขึ้นมานั่งเป็น “ผู้ว่าฯกทม.คนที่ 17” ของประเทศไทย ชูนโยบายเพื่อคนกทม. "กรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่"

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 8 กำลังจะก้าวขึ้นมานั่งเป็น “ผู้ว่าฯกทม.คนที่ 17” ของประเทศไทย โดย รศ.ดร.ชัชชาติ เจ้าของฉายา "ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" ยืนยันว่า ทันทีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง จะนำนโยบายที่หาเสียงไว้กว่า 200 นโยบาย มาเริ่มทำทันที 

และพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่าย ด้วยการรับฟังและนำนโยบายของผู้สมัครทั้งหมดมาประมวลผลแล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด เนื่องจาก กทม.ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องทำงานอย่างเต็มที่ที่สุด

วันนี้ TNN ONLINE พาไปย้อนดูนโยบายของผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ กับคำสัญญาที่เขาได้ให้ไว้กับชาวกรุงเทพฯ กัน

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

สำหรับนโยบายของ “ชัชชาติ” นั้น วางโจทย์หลักในการออกแบบนโยบายให้ “กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน” โดยใช้ดัชนีชี้วัดเมืองน่าอยู่ (The Global Liveability Index) ของ Economist Intelligence Unit (EIU) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดกลุ่มนโยบายและดัดแปลงให้ครอบคลุมบริบทของ กรุงเทพฯจนนำมาสู่ “กรุงเทพฯ 9 ดี” หรือ “นโยบาย 9 มิติ” ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมดี - สะอาดใกล้บ้าน เข้าถึงพื้นที่สีเขียวภายใน 15 นาที

2. สุขภาพดี - ดูแลสุขภาพเชิงรุก ปรับปรุงการบริหารจัดการ พาหมอไปหาประชาชน

3. เดินทางดี - เชื่อมต่อคล่องตัว เข้าถึงได้ ราคาถูก ราคาเดียว

4. ปลอดภัยดี - ปลอดภัยทุกที่ทุกเวลา ลดจุดเสี่ยง เพิ่มความพร้อมในการรับมือเหตุฉุกเฉิน

5. บริหารจัดการดี - ประชาชนมีส่วนร่วมโปร่งใส ไม่ส่วย มีประสิทธิภาพ

6. โครงสร้างดี ครอบคลุมทุกเส้นเลือดฝอย ทั้งโครงสร้างการระบายน้ำ ที่พักอาศัย และผังเมือง

7. เศรษฐกิจดี - ทำกรุงเทพฯ ให้ถูกลง สร้างโอกาส สร้างรายได้ ขยายศักยภาพเศรษฐกิจเมือง

8. สร้างสรรค์ดี - ที่ไหนก็สร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ ห้องสมุดดิจิทัล และพื้นที่งานศิลปะ

9. เรียนดี - ยกระดับการดูแล เพิ่มโอกาส เพิ่มเวลาให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

จากโจทย์ดังกล่าวนั้น จึงนำมาสู่นโยบายการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้

ทำกรุงเทพฯ ให้ถูกลง ด้วยนโยบายดังต่อไปนี้

เพราะเมืองคือคนถ้าคนอยู่ไม่ได้เมืองก็อยู่ไม่ได้ค่าครองชีพที่สูงขึ้นรายได้เพิ่มน้อยกว่ารายจ่าย กทม. จะต้องมีบทบาทในการดูแลค่าครองชีพของประชาชนใช้ทรัพยากรที่ กทม. มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมาสร้างโอกาสสร้างรายได้ให้คนกรุงเทพฯทุกระดับชั้น

- รถเมล์คุณภาพราคาถูกราคาเดียว ไม่คิดค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนเมื่อเปลี่ยนรถเปลี่ยนระบบ

- พัฒนาห้องเช่าราคาถูกใกล้แหล่งงานสำหรับผู้มีรายได้น้อย และนักเรียนจบใหม่ (Housing Incubator)

- ลดรายจ่ายด้านสุขภาพยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขและเพิ่มการรักษา เช่น คลินิกกายภาพโรคคนเมือง คลินิกจิตวิทยาปรึกษา สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน คลินิกสุภาพสตรี เพิ่มเวลาเพิ่มทรัพยากรเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงง่ายและใช้บริการได้อย่างสะดวก

- ลดรายจ่ายพ่อแม่ พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็ก ให้มีคุณภาพใกล้ชุมชนและแหล่งงาน

- น้ำดื่มสะอาดปรับปรุงตู้กดน้ำสาธารณะให้ปลอดภัยเพื่อสุขภาพของคนกรุงเทพฯ

- ลดค่าเช่าแผงค้า หมุนเวียนแผงขายเต็มศักยภาพเพิ่มพื้นที่ขายเพื่อให้ตลาดกทม. เป็นพื้นที่การค้าสำหรับทุกคน

- เลิกส่วย รีดไถ ใต้โต๊ะ ตรวจสอบและติดตามการขออนุญาตผ่าน Tracking system ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดการใช้ดุลยพินิจเจ้าหน้าที่

- รถไฟฟ้าสายสีเขียว ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

ทำกรุงเทพฯ ให้ปลอดภัย ด้วยนโยบายดังต่อไปนี้

เพราะเมืองคือคนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคือสิ่งสำคัญที่สุดของเมืองการทำกรุงเทพฯให้ปลอดภัยจึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่กทม. ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประชาชน

- เพิ่มจุดสว่างปลอดภัยที่ป้ายรถเมล์ทั่วกรุง ร่วมกันดูแลความพร้อม ความสมบูรณ์ของไฟแสงสว่างทั่วกรุงกับการไฟฟ้านครหลวง

- ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ทาสีให้ชัดเจนติดป้ายเตือนแสงสว่างสัญญาณไฟกดปุ่มคนข้ามให้ครบถ้วน

- ฐานข้อมูลพื้นที่จุดเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงจากสารเคมี ความเสี่ยงจากมลพิษ โรงงานอุตสาหกรรม ความเสี่ยงจากอาคารสิ่งปลูกสร้างเก่า (BKK Risk Map) 

- ทางเท้าเรียบ เดินปลอดภัย 1,000 กม. ทั่วกรุง

- สายสื่อสารลงดินไม่ซ้ำซ้อน สะท้อนต้นทุนไม่กระทบประชาชน

- ปลูกต้นไม้ล้านต้นสร้างพื้นที่สีเขียว และกำแพงกรองฝุ่น 

- ปลอดภัยจากน้ำท่วม ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ และคลองสายหลัก เพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนุนไหลเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน

- คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย เพื่อช่วยดูแลปัญหาเฉพาะตามความต้องการ เช่น ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการใช้ยาหรือฮอร์โมน ให้คำปรึกษาเรื่องการแปลงเพศ

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

ทำกรุงเทพฯ ให้สะดวกสบาย ด้วยนโยบายดังต่อไปนี้

เพราะเมืองคือคนเมืองต้องไม่เป็นภาระให้กับผู้อยู่อาศัย แต่ต้องเป็นตัวช่วยให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกราบรื่นในทุกๆ วัน ตั้งแต่ตื่นจนนอน ตั้งแต่เปิดจนปิด 

- เพิ่มเรือเพิ่มรถเมล์ไฟฟ้าเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะหลักสร้างความครอบคลุมในการเข้าถึงขนส่งสาธารณะ สร้างจุดเชื่อมต่อ (hub ) เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบาย

- เปิดข้อมูลการเดินทางทั้งระบบรถรางเรือที่อยู่ในกรุงเทพฯ ให้เป็นสาธารณะ

- บริหารจัดการจราจร ทั้งโครงข่ายให้คล่องตัวและกวดขันวินัยจราจร

- บริการหมอถึงบ้านผ่าน Telemedicine ลดภาระของผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาต่อเนื่องในการเดินทางไปโรงพยาบาล

- รักษา ส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อด้วยการบูรณาการข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลในกทม. และศูนย์บริการสาธารณสุข

- สวนสาธารณะ 15 นาที เพิ่มความครอบคลุมและการกระจายตัวของสวนสาธารณะและลานกีฬาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ภายใน 15 นาที

- บริการ กทม. on cloud ปรับรูปแบบการบริการของที่เกี่ยวข้องกับกทม. เช่น ยื่นเอกสารขออนุญาตทำบัตรฯ ชำระค่าธรรมเนียม ฯลฯ ให้อยู่ on cloud ทำได้จากที่บ้านไม่ต้องมาสำนักงานเขต

- พัฒนาโครงสร้างสาธารณะรองรับการใช้งานของคนพิการ เช่น ทางเท้าพื้นที่สำนักงานเขตและสวนสาธารณะ Universal Design

- ขุดลอกท่อระบายน้ำ 3,000 กม. ลดโอกาสการเกิดน้ำท่วมขังจากการระบายน้ำไม่ทัน

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นพื้นที่ของทุกคน ด้วยนโยบายดังต่อไปนี้

เพราะเมืองคือคนเป็นพื้นที่ให้ทุกคนสามารถทำกิจกรรมและใช้ชีวิต เราจึงตั้งใจออกแบบกรุงเทพฯให้มีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย สอดคล้อง และครอบคลุมกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนทุกคนในกรุงเทพฯ

- ขยายเวลาเปิด- ปิดสวน เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย เพิ่มการเข้าถึงเช่นเส้นทางรถขนส่งสาธารณะมายังสวนและพื้นที่สาธารณะ

- จัดสรรพื้นที่กรุงเทพฯให้งานศิลปะและศิลปะการแสดง (ละครดนตรี) ให้ทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ

- เปลี่ยนศาลาว่าการฯ และลานคนเมืองสู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

- เพิ่มฟังก์ชันให้ห้องสมุดกทม. ทั้ง 36 แห่งเป็น Co-working Space 

- ส่งเสริมชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพกาย และส่งเสริมสุขภาพใจผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน (Active Aging) 

- พัฒนา 1,034 ลานกีฬากับประชาชนและเอกชนในพื้นที่

- เพิ่มห้องน้ำสาธารณะให้มีคุณภาพ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สายชำระ และห้องอาบน้ำ ในพื้นที่สาธารณะ ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่

ชูนโยบายดูแล "เส้นเลือดฝอย" ให้แข็งแรง

รศ.ดร.ชัชชาติ อธิบายว่า การบริหารกรุงเทพฯ เปรียบเสมือนการทำงานของเส้นเลือด 2 ระบบ ทั้งเส้นเลือดใหญ่ และเส้นเลือดฝอย เส้นเลือดใหญ่ คือ การลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ เส้นเลือดฝอย คือ การลงทุนกับสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัว ทั้งสองต้องทำงานสมดุล เมืองจึงจะมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมา กทม.ลงทุนไปมหาศาลกับเส้นเลือดใหญ่ ไม่ค่อยใส่ใจเส้นเลือดฝอย ทั้งที่สองระบบส่งผลถึงกัน จึงเชื่อว่า "การดูแลเส้นเลือดฝอยให้แข็งแรง" คือการทำน้อยแต่ได้เยอะ และจะทำให้คุณภาพชีวิตคนกรุงเทพฯ ดีขึ้น

เราอาจจะมีสวนสาธารณะหลักขนาดใหญ่แบบสวนลุม ที่มีสนามเด็กเล่นขนาดใหญ่อุปกรณ์ครบครัน ในขณะที่ลานกีฬาและสนามเด็กเล่นเล็ก ๆ ใต้สะพานของชุมชน ที่เด็กเล่นทุกวันอยู่ในสภาพทรุดโทรม ไม่ได้รับการดูแล

เรามีเส้นเลือดใหญ่ในการระบายน้ำผ่านอุโมงค์ยักษ์ขนาดใหญ่มูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท ในขณะที่เส้นเลือดฝอยที่เป็นท่อระบายน้ำตามชุมชนต่าง ๆ หลายที่อุดตัน ระบายไม่ได้

เรามีโรงพยาบาลขนาดใหญ่กระจุกตัวในเขตเมืองชั้นใน ในขณะที่ศูนย์สาธารณสุขและศูนย์สุขภาพชุมชนยังมีไม่เพียงพอและขาดแคลนอัตราบุคลากร

เรามีรถไฟฟ้าหลากหลายสี แต่คนส่วนใหญ่ถูกผลักออกจากแนวรถไฟฟ้าเพราะซื้อไม่ไหวและเรายังต้องเข้าคิวรอรถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้างอีกนานเพื่อพาเรากลับถึงบ้าน

เรามีโรงเรียนที่มีคุณภาพระดับโลกหลายแห่ง ในขณะที่โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์เด็กอ่อน ในชุมชนต่าง ๆ ขาดแคลนทั้งงบประมาณและบุคคลากร

ระบบเส้นเลือดฝอยที่มีปัญหา สุดท้ายแล้วจะส่งผลกระทบต่อการทำงานและประสิทธิภาพของเส้นเลือดใหญ่ เด็กนักเรียนแข่งกันเข้าโรงเรียนดัง ๆ แทนที่จะเรียนโรงเรียนดีใกล้บ้าน คนไข้แออัดที่โรงพยาบาลศูนย์แทนที่จะคัดกรองก่อนที่ศูนย์สาธารณสุข น้ำรอการระบายที่ไปไม่ถึงอุโมงค์

การแก้ไขปัญหา “เส้นเลือดฝอย” อาจจะไม่น่าตื่นเต้น เร้าใจเหมือนกับการก่อสร้างโครงการใหญ่ ๆ อย่างอุโมงค์ยักษ์ แต่คือเรื่องสำคัญที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดีขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการแก้ปัญหา “เส้นเลือดฝอย” คือ ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และ ความตั้งใจจริง

ส่องนโยบาย ชัชชาติ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ย้ำกรุงเทพฯต้องเป็นเมืองน่าอยู่




ข้อมูลจาก www.chadchart.com

ภาพจาก TNN ONLINE 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง