TNN online 10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี

TNN ONLINE

ภูมิภาค

10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ "น้ำท่วมใหญ่" 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี

10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี

อุทกภัยใหญ่ในปี 2564 ถือเป็นเหตุการณ์ที่ต้องถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของคนไทยในรอบ 10 ปี เพราะสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบกับประชาชนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะชาวบ้านในเขตริมน้ำเจ้าพระยา ที่ต้องเผชิญชะตากรรมน้ำท่วมกว่า 2 เดือน

อิทธิพลจากพายุโซนร้อนที่แม้จะไม่ได้เข้าไทยโดยตรง แต่ก็ส่งผลกระทบทำให้ในปี 2564  หลายพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างหนัก จนแทบจะเรียกได้ว่าซ้ำรอยเมื่อปี 2554 ที่ขณะนั้นเกิดความเสียหายครอบคลุมทั่วประเทศ มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1.44 ล้านบาท ขณะที่ในปีนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานว่า มี 32 จังหวัดที่ได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่  ครอบคลุมทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก  มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 2 แสนครัวเรือน


หากมองย้อนไปเริ่มจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดจากอิทธิพลพายุเตี้ยนหมู่  โดยวันที่ 23 ก.ย. กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเตือนฉบับที่ 1 เรื่องพายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งได้ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่และได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเมื่อวันที่ 25 ก.ย. แต่อิทธิพลจากพายุลูกนี้กลับส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหลายจังหวัด



10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี จ.พระนครศรีอยุธยา

 



โดยสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กินพื้นที่รวมกว่า 14 อำเภอได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบางซ้าย อำเภอภาชี อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอบ้านแพรก รวม 136 ตำบล 809 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 54,819 ครัวเรือน




10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี จ.ชัยนาท

 



นี่คือภาพมุมสูงเผยให้เห็นสภาพของบ้านเรือนกว่า 100 หลังคาเรือน ในชุมชนวัดมะปราง ต.โพนางดำออก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ที่กำลังจมอยู่ใต้น้ำ หลังจากที่ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่ง เพราะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูง


จนกระทั่งวันที่ 1 ต.ค.2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังน้ำท่วมหลายพื้นที่ตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนักโดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมระยะสั้น ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขาให้ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ขณะที่พื้นที่ริมแม่น้ำก็อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมสูง


10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี


10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี


ขณะที่กรมทางหลวงชนบทก็รายงานในวันเดียวกันว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมขณะนั้น 17 จังหวัดทำให้มีถนนที่ไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ 28 เส้นทาง จาก 68 เส้นทาง  ซึ่งในจำนวนนี้มีบางแห่งน้ำท่วมสูง  บางแห่งทางขาดโครงสร้างชำรุด บางแห่งสะพานขาดและทรุดตัว บางแห่งไหล่ทางพัง ดินไหล่เขาสไลด์ลงมา ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถสัญจรไปมาได้  เช่นเดียวกับชาวบ้านที่อยู่ตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากช่วงวันที่ 1-5 ต.ค.ก็เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง


10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี


ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  GISTDA ได้เปิดเผยภาพจากดาวเทียมคอสโมสกายเมด 1  พบพื้นที่ใน จ.นครราชสีมา  ชัยภูมิ  ขอบแก่นและบุรีรัมย์ มีน้ำท่วมขัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มต่ำ  พื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลัก ลำน้ำสายรอง รวมทั้งชุมชนที่อยู่อาศัย โดยมวลน้ำได้ไหลลงสู่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีและลงแม่น้ำโขง ซึ่งพื้นที่ที่ถือว่าหนักคือ จ.นครราชสีมา ซึ่งถูกมวลน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่างไหลทะลักเข้ามาด้วยทำให้ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร โยเฉพาะในพื้นที่ อ.พิมาย ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำ ทั้งจากลุ่มน้ำลำตะคอง  ลุ่มน้ำลำพระเพลิง และลุ่มน้ำลำเชียงไกร ทำให้ชาวบ้านเดือนร้อนอย่างหนัก


หลังจากนั้นยังมีอิทธิพลจากพายุคมปาซุ ที่ทำให้มีฝนตกลงมาอีกช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 2564 แต่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เกิดอุทกภัยไม่มากนัก มีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเพียงบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ ที่ขณะนั้นเขื่อนเจ้าพระยาได้ปล่อยน้ำลงมาเพิ่มขึ้น


10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี


ไม่เพียงแค่ จังหวัดริมน้ำเจ้าพระยา เท่านั้น ที่เกิดน้ำท่วม อิทธิพลของพายุคมปาซุทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างทั่วทั้ง จ.ชัยภูมิ นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้ออกประกาศ เป็นพื้นที่ ภัยพิบัติน้ำท่วมแล้วจำนวน 14 อำเภอแล้วจากที่ จ.ชัยภูมิ มี 16 อำเภอ เหลือเพียงอีก 2 อำเภอ คือที่ อ.แก้งคร้อ และ อ.ซับใหญ่ เท่านั้นที่ยังไม่ได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ ซึ่งได้รับผลกระทบน้ำท่วมน้อยสุดเพียงบางส่วน 







10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี


ทั้งนี้สถานการณ์อุทกภัยหนักอยู่เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ในเกือบทุกพื้นที่นับจากได้รับอิทธิพลจากพายุเตี้ยนหมู่ จนกระทั่งปลายเดือน ต.ค. ประมาณวันที่ 28 พื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังเริ่มลดลง หลายจังหวัดสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเนื่องจากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มน้ำ รวมทั้งไม่ใช่ช่วงที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับปริมาณน้ำในเขื่อนที่ยังสามารถรับน้ำได้อีก จึงทำให้หลายพื้นที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ


10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี


แต่เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดชุมพร ประชาชน ทั้ง 8 อำเภอ โดยเฉพาะ อ.หลังสวน อ.สวี และ อ.ทุ่งตะโก ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้  โดยมีพื้นที่ได้รับ ผลกระทบ อำเภอสวี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 11 ตำบล 82 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1509 ครัวเรือน 4635 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย จากกรณีไฟช็อต ขณะขนย้ายข้าวของหนีน้ำ


ในขณะที่อำเภอหลังสวน มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 9 ตำบล 37 หมู่บ้าน 7 ชุมชน ราษฎรได้รับเดือดร้อน 548 ครัวเรือน 1580 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 1 หลัง


อำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน3 ตำบล 19 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 600 ครัวเรือน 1200 คน โรงเรียน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง ความเสียหายอยู่ระหว่างสำรวจ


10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี

10 ข่าวเด่นแห่งปี ลำดับที่ 1/10 บันทึกเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ 2564 หวนซ้ำรอยในรอบ 10 ปี



อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่เกิดอุทกภัยอย่างหนัก นักวิชาการต่างก็ออกมายืนยันว่าสถานการณ์น้ำจะไม่หนักเท่ากับเมื่อตอนเกิดอุทกภัยปี 2554 แน่นอน เพราะปัจจัยหลายๆอย่างที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลคือการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศที่อาจทำให้ฝนตกหนักมากขึ้นทุกๆปี ขณะที่หน้าแล้งก็จะแล้งหนักมากขึ้น ทำให้การเรียกร้องให้รัฐหาแนวทางบริหารจัดการน้ำ ให้มีประสิทธิภาพถูกนำมาพูดถึงมากยิ่งขึ้น



ภาพ TNNONLINE


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง