TNN online เปิดความจริง "ทุ่งบางบาล" เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง

TNN ONLINE

ภูมิภาค

เปิดความจริง "ทุ่งบางบาล" เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง

เปิดความจริง ทุ่งบางบาล เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง

ทำความรู้จัก "ทุ่งบางบาล" เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำท่วม แทนคนกรุง

จาก "เสนาใน" ถึง "บางบาล" 


"บางบาล"  เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอเสนาใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน 

อำเภอบางบาล ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้


ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง)

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะหันและอำเภอพระนครศรีอยุธยา

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางไทร

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเสนาและอำเภอผักไห่



เปิดความจริง ทุ่งบางบาล เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง ภาพจาก ผู้สื่อข่าว จ.อยุธยา 

 



บางบาล ชื่อนี้ คือ "พื้นที่รับน้ำ" แทนคนกรุง 



หากเอ่ยถึงชื่อ อ.บางบาล หรือ "ทุ่งบางบาล"  ต้องยอมรับว่า ชื่อนี้ คือ หนึ่งในพื้นที่รับน้ำในสถานการณ์น้ำท่วมเกือบจะทุกปี ชาวบ้านที่นี่ ต่างคุ้นชิน และปรับตัวกับสถานการณ์นี้ จนสามารถพร้อมรับมือได้ตลอดเวลา 


เมื่อพบเจอกับสถานการณ์น้ำเหนือ  หรือ มีพายุลูกใหญ่เข้า จะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มระดับขึ้น จนต้องถูกระบายลงสู่ ทุ่งรับน้ำลุ่มต่ำเจ้าพระยา ประกอบไปด้วย ทุ่งสำคัญ  คือ  ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด และ ทุ่งบางบาล-บ้านแพน  เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนเมือง ตั้งแต่ จ.ปทุมธานี  ที่มีนิคมอุตสาหกรรมมากมาย ที่หากเกิดน้ำทะลักท่วม จะเกิดความเสียมหาศาล ดังเช่น อุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อปี 2554 


เปิดความจริง ทุ่งบางบาล เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง ภาพจาก ผู้สื่อข่าว จ.อยุธยา 

 




เปิดความจริง ทุ่งบางบาล เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง ภาพจาก ผู้สื่อข่าว จ.อยุธยา 

 




ความจริง “ทุ่งบางบาล” แก้มลิงธรรมชาติ กว่า 3 หมื่นไร่ 


สำหรับปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นคอขวด ทำให้สามารถระบายน้ำได้เพียง 1,200 ลบ.ม./วินาที ประกอบกับการรับน้ำเข้าคลองโผงเผงและคลองบางบาล ไปลงแม่น้ำน้อยทำได้เพียง 530 ลบ.ม./วินาที ทำให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มักจะประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เป็นประจำ และด้วยสภาพพื้นที่บางบาลเป็นทุ่งกว้างขนาดใหญ่ มีพื้นที่ลุ่มต่ำประมาณ 27,450 ไร่  จึงเป็นเสมือนแก้มลิงธรรมชาติ ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้จำนวนมาก 



เปิดความจริง ทุ่งบางบาล เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง ภาพจาก ผู้สื่อข่าว จ.อยุธยา 

 



คนบางบาล ไม่เกิน ก็ขาด!



นายชูเกียรติ บุญมี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบางบาล  เปิดเผยกับทีมข่าว TNN ONLINE ระบุว่า   “อ.บางบาล ในฐานะผู้เสียสละเป็นทุ่งรับน้ำ เป็นแก้มลิงของคนทั้งชาติ พอทุกคนรอด ลิงก็อ้วกแตกออกมา เก็บน้ำไว้ใช้เพื่อประโยชน์ในพื้นที่ตัวเองไม่ได้เลย คนบางบาลจึงอยู่ในภาวะ ไม่เกินก็ขาด เราเป็นแก้มลิงของประเทศไทย แต่ไม่ได้เป็นแก้มลิงเพื่อตัวเอง”  


แสดงให้เห็นว่า เมื่อคราน้ำมาก ก็ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ทำนาไม่ได้  แต่ถึงคราน้ำแล้ง ก็แทบจะไม่มีน้ำทำนา 


หากเป็นไปได้ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับคนบางบาลบ้าง เมื่อถึงเวลา ก็ขอให้ปล่อยน้ำมาเพื่อให้เกษตรกรได้ปลูกข้าวบ้าง  เพราะทุกวันนี้ หากเกิดหน้าแล้ง  ก็จะแล้งถึงขั้นไม่มีน้ำนา 


นายชูเกียรติ  ยังบอกอีกว่า  คนในพื้นที่ต้องรับชะตากรรมที่เกิดขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หากจะดื้อดึงทำนาช่วงน้ำหลาก ก็เสี่ยงที่ข้าวจะถูกน้ำท่วม เสียหาย   และถ้าหากคิดจะทำนา หน้าแล้ง ก็เสี่ยงที่จะไม่มีน้ำทำนา สรุปได้ว่า  คนบางบาล ไม่มีทางเลือก!!! 


อ.บางบาล  เดิมเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมักถูกน้ำท่วมเป็นประจำ ชาวนาจะปลูกข้าวฟางลอยพื้นเมืองเป็นหลัก เมื่อก่อนนั้นจะทำนาได้ปีละครั้ง ต่อมากรมชลประทานได้ทำคันกั้นน้ำล้อมรอบทุ่งบางบาล เพื่อไม่ให้ถูกน้ำท่วมในบางปีที่มีน้ำหลาก และยังได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้สูบน้ำไปใช้ทำนาปรังในบางปีที่มีน้ำต้นทุนเพียงพอ จากที่ไม่เคยทำนาปรังมาก่อนในอดีต ทำให้สามารถทำนาได้ปีละสองครั้งในปีนั้น


สำหรับ ชาวนาแห่งทุ่งบางบาล สามารถ ทำนาปรังครั้งที่ 1 ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม-มีนาคม ส่วนในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ชาวนาจะเว้นช่วงเพื่อรอการผันน้ำเข้าสู่ทุ่ง 

เปิดความจริง ทุ่งบางบาล เหตุใดจึงเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง ภาพจาก ผู้สื่อข่าว จ.อยุธยา 

 



อย่างไรก็ตาม  พื้นที่ของ อ.บางบาล  ชาวบ้านที่นี่หลายคน ต้องรับกับชะตากรรม กับสภาพการเป็นทุ่งรับน้ำโดยอัตโนมัติ  แต่ปัจจุบันก็ยังมีคำถามจากคนในพื้นที่ ว่า ชาวบางบาล และทุ่งบางบาล จะต้องเป็นพื้นที่รับน้ำ แทนคนกรุง ไปตลอดชีวิตหรือไม่  ??

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง