TNN online สัญญาณแล้งมาเร็ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด

TNN ONLINE

ภูมิภาค

สัญญาณแล้งมาเร็ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด

สัญญาณแล้งมาเร็ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด

พิษณุโลก สัญญาณแล้งมาแล้ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด ชาวตั้งทำพนังกักน้ำไว้กลางแม่น้ำเพื่อสูบเข้านาตัวเอง

สถานการณ์ภัยแล้ง กำลังเริ่มต้นแล้ว หลังจากแม่น้ำยมสายเก่า ที่ไหลผ่านจังหวัดพิษณุโลก แห้งขอดยาว จนชาวบ้านต้องใช้วิถีจ้างแบ็คโฮมาขุดกลางแม่น้ำ เพื่อกักเก็บไว้ทางการเกษตรของตนเอง ขณะที่ชลประทานจังหวัดพิษณุโลก วอนเกษตรกรหยุดทำนาปรังปีนี้ เพื่อน้ำน้อยมาก แต่ก็ยังมีชาวนาที่ฝืนทำนากว่า 2 แสนไร่

วันที่ 18 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสถานการณ์ภัยแล้ง เริ่มต้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดพิษณุโลก แหล่งน้ำทางธรรมชาติ เริ่มแห้งขอด ไม่มีน้ำทางการเกษตร โดยเฉพาะแม่น้ำยมสายเก่า ที่ไหลจากจังหวัดสุโขทัย ผ่าน อ.พรหมพิราม อ.เมือง อ.บางระกำ ก่อนที่จะไหลเข้าสูจังหวัดพิจิตร และลุ่มเจ้าพระยา ขณะนี้ปริมาณน้ำน้อยมาก และบางช่วงแทบไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงเลย โดยเฉพาะบริเวณหมู่ 10 และ หมู่  12 บ้านวังขี้เหล็ก ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ที่ขณะนี้น้ำแห้งขอด มาหลายวันแล้ว บางช่วงไม่มีน้ำเลย ทำให้ชาวนาที่ทำนาปรังต้องหาวิธีขุดเป็นแอ่ง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรด้วยตนเอง เป็นทอดๆ และในช่วงน้ำในแม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอดนั้น ส่งผลให้ 

สัญญาณแล้งมาเร็ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด สัญญาณแล้งมาเร็ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด สัญญาณแล้งมาเร็ว แม่น้ำยมสายเก่าแห้งขอด

นายประจบ  จงกรม อายุ 64 ปี ชาวนาหมู่12 บ้านคลองเมม ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม กล่าวว่า ในปีนี้น้ำในแม่น้ำยมสายเก่า แห้งเร็วมาก เนื่องจากทางชลประทานยังไม่ปล่อยน้ำมา  ทำให้ชาวนาในพื้นที่ต้องหาวิธีกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรด้วยตนเอง ทั้งขุดบ่อบาดาล และขุดคันดินกลางแม่น้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้สูบขึ้นมาในนาข้าว ซึ่งยังต้องใช้น้ำหล่อเลี้ยงอีกประมาณ 2 เดือน โดยตนเองนั้นได้จ้างแบ็คโฮ ขุดบ่อดินกลางแม่น้ำยม ร่วมกับเพื่อนบ้าน เป็นจำนวนเงินกว่า 10,000 บาท ซึ่งก็ต้องยอม เพื่อหาน้ำไว้หล่อเลี้ยงนาข้าว  

นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ในปีนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักค่อนข้างน้อยมาก ทางกรมชลประทาน นั้นจัดแผนการจัดการน้ำในปีไว้ในการส่งน้ำเพื่ออุโปภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ในพื้นที่  22 จังหวัดเท่านั้น ยังไม่มีแผนในการปล่อยน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากมีปริมาณน้ำค่อนข้าง จึงได้ขอความร่วมมือกับเกษตรกรว่าในปีนี้ให้งดทำนาปรัง เนื่องจากเสี่ยงต่อความเสียหายไม่มีน้ำใช้ แต่ก็ยังมีชาวนาในหลายพื้นที่ ที่ยังฝืนทำนาปรังกว่า 200,000 ไร่ ซึ่งเรายังต้องอยู่กับสถานการณ์ภัยแล้งไปอีกกว่า 270 วัน ถึงจะเข้าสู่ฤดูฝน จึงขอความร่วมให้เกษตรกรให้น้ำในระบบให้น้อยที่สุด


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง