TNN ปภ.แนะข้อปฏิบัติตัวปลอดภัยช่วงน้ำท่วม-น้ำหลาก

TNN

ภูมิภาค

ปภ.แนะข้อปฏิบัติตัวปลอดภัยช่วงน้ำท่วม-น้ำหลาก

ปภ.แนะข้อปฏิบัติตัวปลอดภัยช่วงน้ำท่วม-น้ำหลาก

ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมนอกจากการใช้ชีวิตมีความลำบากแล้ว และยังเสี่ยงอันตรายจากอุบัติภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพลัดตกน้ำหรือจมน้ำ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ปภ. มีข้อแนะนำการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยช่วงน้ำท่วมมาฝาก

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ต้องเดินลุยน้ำที่ท่วมสูง หรือสะพานชั่วคราว มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกน้ำ จมน้ำ ได้รับอันตรายได้ หรือแม้แต่การขับรถผ่านในเส้นทางที่น้ำท่วม น้ำหลาก ก็อาจได้รับอันตรายได้เช่นกัน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. จึงมีคำแนะนำดังนี้


- การเดินลุยน้ำ ให้เตรียมหาอุปกรณ์ลอยน้ำได้ไว้ช่วยพยุงตัว เช่น ถังแกลลอน  ห่วงยางชูชีพ เสื้อชูชีพ ยางในถยนต์ แต่ห้ามใช้โฟมลอยน้ำอย่างเด็ดขาด เสี่ยงต่อโฟมแตกหักจมน้ำได้ 

- การเดินทางในช่วงน้ำท่วมให้ใช้ไม้สำรวจเส้นทาง  งดการเดินลุยน้ำในช่วงกลางคืน หากจำเป็นให้ใช้ไฟฉายส่องทาง พร้อมสังเกตป้ายเตือนบริเวณจุดเสี่ยงอันตรายต่างๆ เช่น บ่อน้ำ ท่อระบายน้ำ ริมตลิ่ง เส้นทางที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เพื่อป้องกันการพลัดตกน้ำ 

- การใช้สะพานไม้ทางเดินชั่วคราว ควรตรวจสอบสภาพไม่ให้อยู่ในสภาพผุพัง หรือมีตะไคร่น้ำเกาะ เพราะจะทำให้ลื่นไถลพลัดตกน้ำได้

- หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ  ลงเล่นน้ำ พายเรือ หรือจับสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวเพราะความแรงของกระแสน้ำอาจพัดจมน้ำ


ปภ.แนะข้อปฏิบัติตัวปลอดภัยช่วงน้ำท่วม-น้ำหลาก


- สวมใส่อุปกรณ์ชูชีพหรือนำอุปกรณ์ที่สามารถลอยน้ำได้ติดไว้ในเรือหรือขณะประกอบกิจกรรมทางน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการประสบเหตุจมน้ำเสียชีวิต 

- ห้ามขับรถผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมสูง เพราะรถจะไม่สามารถต้านความแรงของกระแสน้ำ ทำให้รถถูกน้ำพัดออกนอกเส้นทางหรือจมน้ำได้ 

- ควรดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ปลอดภัยได้ หากพลัดตกน้ำจะมีโอกาสจมน้ำเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น


ปภ.แนะข้อปฏิบัติตัวปลอดภัยช่วงน้ำท่วม-น้ำหลาก


การผู้ที่อาศัยในพื้นที่น้ำท่วมเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  ทั้งนี้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือกรมการป้องกันสาธารณภัย ช่องทางไลน์ “ปภ. รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID 1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง


ข้อมูล : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ภาพ : ทีมกราฟิก TNN 


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง