TNN online "นกเงือก" สัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

TNN ONLINE

InfoGraphic

"นกเงือก" สัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นกเงือก สัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นกเงือก (Hornbills) เป็นสัตว์โบราณถือกำเนิดมาเมื่อประมาณ 50-60 ล้านปี และประเทศไทยเองก็มีแหล่งที่สำคัญของ นกเงือกไทย มากถึง 13 ชนิด

"นกเงือกนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของรักแท้ มีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด 100 สกุล 40 วงศ์ ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างเช่น ต้นมาง ตาเสือใหญ่ และค้อ นกเงือกจึงเป็นนักปลูกต้นไม้ที่สำคัญและปลูกได้ในป่าสูงๆ ที่คนเรายากจะปีนป่ายไปถึง และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของการปกปักษ์รักษาผืนป่า และการคงความหลากหลายทางธรรมชาติให้อยู่คู่กับโลกของเราต่อไป


นกเงือก สัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์


1. นกเงือกคอแดง ชื่อภาษาอังกฤษ: Rufous-necked Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aceros nipalensis
ขนาด: 110-120 ซม.
ตัวผู้: หัว คอ อกสีสนิมเหล็ก ใต้ท้องมีสีน้ำตาลเข้ม
ตัวเมีย: หัว คอ สีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 800-2,000 ม.
สถานภาพ: ใกล้สูญพันธุ์


2. นกเงือกปากดำ หรือ กาเขา ชื่อภาษาอังกฤษ: Bushy-crested Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anorrhinusgaleritus
ขนาด: 80-90 ซม.
ตัวผู้: ปากและโหนกสีดำ
ตัวเมีย: ปากและโหนกสีเหลืองแซมดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดิบชื้นทางภาคใต้
สถานภาพ: ใกล้ถูกคุกคาม


3. นกเงือกสีน้ำตาล ชื่อภาษาอังกฤษ: Brown Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptilolaemus tickelli
ขนาด: 74 ซม.
ตัวผู้: ขนคอและอกสีน้ำตาลแดง ปากสีน้ำตาล
ตัวเมีย: สีน้ำตาลดำ ปากสีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และป่าเต็งรัง
สถานภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์


4. นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว ชื่อภาษาอังกฤษ: White-throated Brown Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptilolaemus austeni
ขนาด: 74 ซม.
ตัวผู้: ขนคอและอกสีขาว
ตัวเมีย: สีน้ำตาลดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงมากกว่า 700 ม.
สถานภาพ: มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์


5. นกเงือกดำ ชื่อภาษาอังกฤษ: Black Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros malayanus
ขนาด: 75-80 ซม.
ตัวผู้: ปากและโหนกสีงาช้าง หนังรอบตาสีดำ
ตัวเมีย: ปากและโหนกสีดำ หนังรอบตาสีชมพู
ถิ่นอาศัย: ป่าที่ราบต่ำ และป่าพรุทางภาคใต้
สถานภาพ: ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง


6. นกเงือกหัวหงอก ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crowned Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus
ขนาด: 90 ซม.
ตัวผู้: ขนใต้คอถึงลำตัวสีขาว ขนบริเวณก้นสีดำ
ตัวเมีย: ขนบนหัวมีสีขาว ขนใต้คอถึงลำตัวสีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดิบชื้น
สถานภาพ: มีแนวโน้มสูญพันธุ์


7. นกแก๊ก ชื่อภาษาอังกฤษ: Oriental Pied Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros albirostris
ขนาด: 70-80 ซม.
ตัวผู้: ปากและโหนกสีงาช้าง หน้าและโหนกมีสีดำ
ตัวเมีย: ปากและโหนกมีสีดำแต้ม
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ และป่าผลัดใบ
สถานภาพ: ใกล้ถูกคุมคาม


8. นกเงือกกรามช้างปากเรียบ ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain-pouched Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros subruficollis
ขนาด: 90 ซม.
ตัวผู้: หน้าและคอสีขาว กระหม่อมถึงท้ายทอยสีน้ำตาลเข้มถุงใต้คอสีเหลือง ไม่มีขีดสีดำ
ตัวเมีย: หัว คอ สีดำ ถุงใต้คอสีฟ้า ไม่มีขีดสีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ และป่าผสมผลัดใบ
สถานภาพ: ใกล้สูญพันธุ์


9. นกเงือกกรามช้าง ชื่ออังกฤษ: Wreathed Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros undulatus
ขนาด: 100-110 ซม.
ตัวผู้: หน้าและคอสีขาว กระหม่อมถึงท้ายทอยสีน้ำตาลเข้มถุงใต้คอสีเหลืองมีขีดสีดำ
ตัวเมีย: หัว คอ สีดำ ถุงใต้คอสีฟ้ามีขีดสีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ
สถานภาพ: ใกล้ถูกคุกคาม


10. นกเงือกปากย่น ชื่อภาษาอังกฤษ: Wrinkled Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros corrugatus
ขนาด: 75-90 ซม.
ตัวผู้: ส่วนหน้าและคอสีขาว โหนกสีแดง ถุงใต้คอสีขาวแกมน้ำเงิน
ตัวเมีย: หัว คอ สีดำ ถุงใต้คอสีฟ้ามีขีดสีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าที่ราบต่ำทางภาคใต้
สถานภาพ: ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง


11. นกกก ชื่อภาษาอังกฤษ: Great Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis
ขนาด: 130-150 ซม.
ตัวผู้: มีม่านตาสีแดง และโหนกมีสีดำทางด้านหน้าและด้านหลัง
ตัวเมีย: ม่านตาสีขาว ไม่มีสีดำบริเวณโหนก
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ และป่าผสมผลัดใบ
สถานภาพ: ใกล้ถูกคุกคาม


12. นกเงือกหัวแรด ชื่อภาษาอังกฤษ: Rhinoceros Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros
ขนาด: 110-130 ซม.
ตัวผู้: ม่านตาสีแดง ขอบโหนกด้านล่างมีเส้นสีดำตลอดแนวปากและโหนกสีดำ
ตัวเมีย: ม่านตาสีขาว ขอบโหนกด้านล่างมีเส้นสีดำตลอดแนวปากและโหนกไม่มีสีดำ
ถิ่นอาศัย: ป่าดิบชื้นทางภาคใต้
สถานภาพ: ใกล้สูญพันธุ์


13. นกชนหิน ชื่อภาษาอังกฤษ: Helmeted Hornbill
ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil
ขนาด: 127 ซม. (รวมหางยาวพิเศษ 50 ซม.)
ตัวผู้: หนังเปลือยบริเวณสีคอแดงคล้ำ
ตัวเมีย: หนังบริเวณคอสีฟ้า
ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ
สถานภาพ: ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง


ที่มา :  www.seub.or.th


ข่าวที่เกี่ยวข้อง