TNN online ใส่ "หูฟัง" เสียงดังระดับไหนดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้าย "โสตประสาท"

TNN ONLINE

InfoGraphic

ใส่ "หูฟัง" เสียงดังระดับไหนดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้าย "โสตประสาท"

ใส่ หูฟัง เสียงดังระดับไหนดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้าย โสตประสาท

ใช้ "หูฟัง" ควรเปิดเสียงระดับไหน? ถึงดีต่อสุขภาพ - ไม่ส่งผลทำร้ายโสตประสาท

ระดับเสียงกับสุขภาพของหู

ระดับความดังของเสียงมีหน่วยที่เรียกว่าเดซิเบล (Decibel) โดยเดซิเบล dB (A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สอดคล้องกับการได้ยินของมนุษย์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ) เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากฟังระดับเสียงนี้มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันจะเป็นอันตรายต่อประสาทหูจึงควรต้องระวัง


การใช้หูฟัง” ถ้าไม่ระวังในเรื่องของระดับเสียงและระยะเวลาในการใช้ เพราะการฟังเสียงที่ดังมากใกล้หูติดต่อกันเป็นเวลานานทำร้ายหูได้มากกว่าที่คิด จึงควรใช้หูฟังอย่างเหมาะสม

ระดับเสียงในชีวิตประจำวันมีหลายระดับ

  • • ระดับเบามาก [0 – 30 dB (A)] เช่น เสียงกระซิบ
  • • ระดับเบา [40  – 50 dB (A)] เช่น เสียงพิมพ์ดีด
  • • ระดับปานกลาง [60 – 70 dB (A)] เช่น เสียงสนทนาทั่วไป
  • • ระดับดัง [80 – 90 dB (A)] เช่น เสียงจราจร เสียงบนท้องถนน เสียงรถบัส เสียงรถบรรทุก เสียงตะโกน
  • • ระดับดังมาก [100 – 110 dB (A)] เช่น เสียงขุดเจาะถนน
  • • ระดับดังมากที่สุด [120 – 140 dB (A)] เช่น เสียงค้อน เสียงเครื่องปั๊มโลหะ เสียงเครื่องบินขึ้น

ผลเสียเมื่อฟังเสียงดังเกินมาตรฐาน

  • ผลเสียต่อสุขภาพหู : ประสาทหูชั้นในเสื่อมก่อนวัยอันควร เกิดเสียงรบกวนในหู สูญเสียการได้ยิน อาจร้ายแรงถึงขั้นพิการหูหนวก
  • ผลเสียต่อสุขภาพจิต : เครียด หงุดหงิด ไม่สบายใจ
  • ผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน : เสียบุคลิกภาพ ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างด้วยระดับความดังเสียงที่ปกติได้ ขาดสมาธิ ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน

นอกจากนี้ในผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย การใส่หูฟังมักใส่อัดแน่นเข้าไปในรูหู เมื่อเหงื่อออกมีการเปียกเหงื่อ อาจเสียดสีจนอักเสบได้ จึงควรใส่ใจเลือกหูฟังที่สามารถใส่แบบหลวม ๆ ไม่ต้องกดอัดในรูหู เพื่อป้องกันการอักเสบที่เกิดขึ้นกับหู

 

  ใส่ หูฟัง เสียงดังระดับไหนดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้าย โสตประสาท




ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์โรงพยาบาลกรุงเทพ / ศ.เกียรติคุณ พญ. สุจิตรา ประสานสุข


ข่าวที่เกี่ยวข้อง