TNN online "โรคกระเพาะอาหาร" เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา กินข้าวไม่ตรงเวลาต้องระวัง!

TNN ONLINE

Health

"โรคกระเพาะอาหาร" เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา กินข้าวไม่ตรงเวลาต้องระวัง!

โรคกระเพาะอาหาร เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา กินข้าวไม่ตรงเวลาต้องระวัง!

ทำความรู้จัก "โรคกระเพาะอาหาร" เปิดสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา กินข้าวไม่ตรงเวลาต้องระวัง!

โรคกระเพาะอาหาร หนึ่งในโรคที่สามารถพบได้บ่อยมากๆในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือวัยทำงานก็สามารถเป็นโรคชนิดนี้ได้ ด้วยการดำเนินชีวิตเร่งรีบในแต่ละวัน จึงทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไปและเกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นการกินข้าวไม่ตรงเวลา การกินอาหารเร็วไป หรือความเครียด พฤติกรรมเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคกระเพาะได้โดยตรง โดยในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักโรคชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุการเกิดโรค อาการ รวมถึงวิธีการรักษาที่ถูกต้อง


“โรคกระเพาะ” คืออะไร?

โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง ภาวะที่ร่างกายเกิดแผลบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สัมผัสกับน้ำย่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารจะมีอาการปวดท้องซึ่งเป็นผลมาจากกรดในกระเพาะ โดยอาการปวดจะไม่คงอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นๆหายๆ และมักเกิดช่วงก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร  


สาเหตุของ “โรคกระเพาะ”

สำหรับสาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหารนั้น ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ทางการแพทย์พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งหลายคนมักเข้าใจว่าพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นหลัก โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรีบทานเกินไป รวมถึงการมีความเครียดสะสม ความวิตกกังวล เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะอาหารจริงๆ มีดังนี้

1. การติดเชื้อแบคทีเรียนเอชไพโลไร (H.pylori)

2. การรับประทานยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน 

3. สาเหตุอื่นๆ จากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น


“โรคกระเพาะ” อาการเป็นอย่างไร?

สำหรับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั้งชนิดที่เป็นแผลและไม่เป็นแผล จะค่อนข้างคล้ายกกัน ดังนี้

1. ปวด จุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ 

2. มักมีอาหารปวดใต้ชายโครงซ้าย 

3. ในบางรายมีอาการปวดแน่นถึงหน้าอก โดยจะเป็นๆหายๆ และสัมพันธ์กับมื้ออาหาร 

4. บางรายอาจปวดก่อนอาหารเวลาหิว ในขณะที่บางรายปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม 

5. เมื่อโรครุนแรงขึ้นอาจมีอาเจียนเป็นเลือด 

6. บางกรณีถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะสีดำ 

7. เบื่ออาหาร 

8. น้ำหนักลด

ทั้งนี้ในข้อที่ 5-8 เป็นอาการของโรคกระเพาะอักเสบที่รุนแรง จึงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที


วิธีการรักษา “โรคกระเพาะ” ด้วยตนเอง

โรคกระเพาะอาหารไม่จัดว่าเป็นโรคอันตราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องใช้ความใส่ใจในการรักษา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ โดยนหากอาการของโรคไม่รุนแรง เราสามารถรักษาให้หายเองได้ ดังนี้

1. รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร 

2. งดรับประทานอาหารรสเผ็ด หรือรสจัด

3. ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 

4. ผู้ที่สูบบุหรี่ และกินเหล้า ควรงดกิจกรรมเหล่านี้ไปก่อน

5. หากปวดท้อง สามารถกินยาแก้ปวดได้ แต่ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน  

ทั้งนี้ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังปฎิบัติตามข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


ที่มาข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข ,โรงพยาบาลพญาไท

ที่มาภาพ : Freepik

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง