TNN เส้นเลือดสมองแตกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต! สาเหตุเกิดจากอะไร

TNN

Health

เส้นเลือดสมองแตกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต! สาเหตุเกิดจากอะไร

เส้นเลือดสมองแตกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต! สาเหตุเกิดจากอะไร

โรคเส้นเลือดในสมองแตกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต! สาเหตุเกิดจากอะไร เตือนผู้ปกครองควรสังเกตอาการ

โรคเส้นเลือดในสมองแตกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต! สาเหตุเกิดจากอะไร เตือนผู้ปกครองควรสังเกตอาการ


โรคเส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคที่พบในวัยผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กเช่นกัน ผู้ปกครองควรสังเกตอาการหากพบว่าเด็กปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาอ่อนแรง อย่านิ่งนอนใจ ควรสังเกตอาการ และพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เคยกล่าวว่า โรคเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจากความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดตีบตัน อุดตัน จนหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลายจนทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ทั้งนี้ไม่มีสัญญาณเตือน แต่อาจพบอาการปวดศีรษะเป็นพักๆ แล้วหายไป 


โรคเส้นเลือดในสมองแตกในเด็ก เกิดจากความผิดปกติใน 3 ระบบ ได้แก่ 


1.เส้นเลือดผิดปกติในสมองแล้วแตกเอง ซึ่งสามารถพบได้น้อย 


2.ภาวะที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือกลุ่มโรคทางพันธุกรรม ฮีโมฟีเลีย หรือ โรคเลือดไหลไม่หยุด ทำให้มีอาการเลือดออกง่ายและหยุดยาก


 3.ภาวะที่สมองได้รับการกระทบกระเทือนจนเส้นในสมองฉีกขาด เช่น โยก โยน จับสั่น เขย่าแรงๆ อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ 



อาการปวดหัวในเด็กมีหลายสาเหตุ 


ตั้งแต่การเป็นไข้ธรรมดา การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง เป็นต้น แต่ภาวะเส้นเลือดในสมองเปราะแตกในเด็กไม่ได้เกิดจากความเครียด เพราะความดันในเด็กยังไม่สูงพอ นอกเสียจากว่าเด็กคนนั้นจะเป็นโรคความดันมาตั้งแต่กำเนิด ภาวะนี้เหมือนกับภาวะพิการตั้งแต่กำเนิด อยู่ ๆ ก็เลือดออก โดยไม่ต้องมีปัจจัยกระตุ้น ยิ่งถ้าเลือดออกในจุดสำคัญ ๆ จะไปกดสมองทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าผ่าตัดทันก็สามารถฟื้นตัวได้ แต่ถ้าผ่าตัดไม่ทันก็เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตถาวร แม้ว่าโรคนี้นาน ๆ ถึงจะเจอที แต่ก็พบได้บ่อยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในความโชคร้ายยังมีโชคดีเพราะเส้นเลือดสมองแตกในเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ เพราะสมองของเด็กมีการสร้างตัวเองได้เร็วมาก ถ้าเกิดเส้นเลือดแตกครั้งแรกจะไม่เสียชีวิต หรือมีอัตราการเสียชีวิตน้อย ประมาณร้อยละ 30 และที่ผ่านมาเด็กมาพบแพทย์หลังเกิดเหตุการณ์ครั้งแรกเป็นส่วนมาก 


แพทย์จะเจาะหลังดูเลือด ฉีดสีดูเลือด หรือซีที เห็นและผ่าตัดแก้ไข แต่ถ้าแตกครั้งที่ 2 อัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ร้อยละ 60 ตรวจร่างกายธรรมดาจะไม่สามารถทราบได้ คอแข็ง มีไข้ขึ้นนิดหน่อย ถ้าเด็กโตหน่อยจะบอกปวดหัวมาก แต่ถ้าเส้นเลือดในสมองแตกครั้งที่ 3 อัตราการเสียชีวิตที่เท่ากับร้อยละ 100



ที่มา กระทรวงสาธารณสุข / สถาบันราชานุกูล 

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ