TNN online ไข้เลือดออกระบาด! มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 79,475 คน เช็กอาการเข้าข่าย

TNN ONLINE

Health

ไข้เลือดออกระบาด! มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 79,475 คน เช็กอาการเข้าข่าย

ไข้เลือดออกระบาด! มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 79,475 คน เช็กอาการเข้าข่าย

ไข้เลือดออกระบาด! มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 79,475 คน เสียชีวิตสะสม 73 ราย อายุที่พบมากที่สุดคือ อายุ 15 - 24 ปี

ไข้เลือดออกระบาด! มีผู้ป่วยสะสมแล้ว 79,475 คน เสียชีวิตสะสม 73 ราย อายุที่พบมากที่สุดคือ อายุ 15 - 24 ปี


สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทยยังคงสูงต่อเนื่อง ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาคม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2566  มีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 79,475 คน  อัตราป่วยร้อยละ 120 ต่อแสนประชากร  เสียชีวิตสะสม 73  คน อัตราเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 0.11 ต่อแสนประชากร  ซึ่งจำนวนผู้ป่วยสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 3.3 เท่า  


โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน อายุที่พบมากที่สุดคือ อายุ 15 - 24 ปี ร้อยละ 22.52 รองลงกมาคือ อายุ 10-14 ปี ร้อยละ 20.80 และ อายุ 25 -34 ปีร้อยละ 14.93


ขณะที่ผลสำรวจลูกน้ำยุงลายผ่าน แอปพลิเคชัน อสม./อสส. ออนไลน์ประจำปี 2566 โดยได้ทำการสำรวจจำนวนบ้านกว่า 7 ล้านหลังคาเรือน พบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายกว่า 580,000 หลังคาเรือน / สำรวจจำนวนภาชนะไปทั้งหมดกว่า 76 ล้านชิ้น โดยพบเป็นแห่งเพาะพันธุ์ยุงลายกว่า 1 ล้าน 6 แสนชิ้น


นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลายพื้นที่มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการระบาดของโรค จึงขอความร่วมมือ ประชาชนให้ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ พร้อมเตือนประชาชนหากมีอาการไข้สูงลอย ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา หน้าแดง กระหายน้ำ หรือมีจุดเลือดออกที่ลำตัว และแขน ขา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง 


โดยเฉพาะยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนก แอสไพริน รวมถึงยาชุด มีผลทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารและยากต่อการรักษาเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือรับประทานยาหรือเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลดหรือลดแล้วไข้กลับมาสูงอีกควรรีบไปพบแพทย์ซึ่งโรคไข้เลือดออกหากได้รับการรักษาล่าช้าจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต


ส่วนสถานการณ์โรคไช้ซิกาซึ่งมียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกัน ข้อมูลล่าสุด จากกองระบาดวิทยา  กรมควบคุมโรค จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2566  มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 27  คน  ทำให้ตั้งแต่ 1 มกราคม-30 สิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยสะสม  292 คน แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต กระจายอยู่ใน 24 จังหวัด  

โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยเพศหญิงร้อยละ 58.9 และเพศชายร้อยละ 41.1 โดยกลุ่มอายุที่พบการป่วยมากที่สุด คือ อายุ 35 -44 ปี รองลงมาคือช่วงอายุ 25 -34 ปี และช่วงอายุ 45-54 ปี


อาการไข้เลือดออก


ประชาชนควรสังเกตอาการของตนเองและครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังหากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ไข้นานเกินกว่า 2 วัน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นที่ผิวหนังตามแขน ขา ข้อพับ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ซื้อยากินเอง เนื่องจากยาประเภท NSAIDs หรือ Steroid ทำให้มีอาการรุนแรงและเลือดออกมากขึ้น รักษายากขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตได้ 

สำหรับร้านขายยาและคลินิก ควรแนะนำให้ผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกให้ไปรักษาที่โรงพยาบาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422”




แฟ้มภาพ AFP


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง