"โรคเมลิออยด์" พบบ่อยในฤดูฝน ติดต่อทางไหน มีอาการอย่างไร?

ทำความรู้จัก "โรคเมลิออยด์" พบบ่อยในฤดูฝน ติดต่อทางไหน มีอาการอย่างไร? โรคติดเชื้อที่ควรเฝ้าระวัง
ทำความรู้จัก "โรคเมลิออยด์" พบบ่อยในฤดูฝน ติดต่อทางไหน มีอาการอย่างไร? โรคติดเชื้อที่ควรเฝ้าระวัง
โรคเมลืออยด์ (Melioidosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomalleiที่พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย พบการติดเชื้อได้บ่อยในผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย โรคปอด โรคใต ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
โรคเมลิออยด์ติดได้ทาง
-การรับเชื้อผ่านบาดแผลที่ผิวหนัง
-การดื่มน้ำหรือการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน
-การสูดหายใจรับฝุ่นละอองที่มีเชื้อปนเปื้อน
อาการ
อาการทั่วไป คือ มีใช้ และมีฝีหนองที่ผิวหนังหรือบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ อาจพบการติดเชื้อในอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม ไต ไปจนถึงติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเฉียบพลันอย่างรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และปริมาณของเชื้อที่ได้รับ
การป้องกัน
-หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากจำเป็นต้องสวมรองเท้าบูทถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ
-หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดบาดแผล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลนั้นจะแห้งสนิท
-รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด
-หลีกเลี่ยงการอยู่ที่โล่งแจ้งหรือลงไร่นา ในขณะที่มีพายุฝนหรือสภาพอากาศแปรปรวน
ความอันตรายของโรคเมลิออยโดสิส
คือการวินิจฉัยโรคช้าเกินไปทำให้รักษาไม่ทันเวลา ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตตามมา เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดภาวะไตวาย หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ทำให้อวัยวะอื่นทำงานบกพร่องไป การได้รับยาไม่ถูกชนิดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้
ตัวเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ ผ่านทางผิวหนัง เช่น หากมีบาดแผลและเดินบนดินหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ผ่านทางลมหายใจ กรณีที่มีการฟุ้งของฝุ่นหรือดินที่มีเชื้ออยู่และสูดดมเข้าไป ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด จะส่งผลให้เกิดอาการปอดอักเสบ
ในคนดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเมลิออยโดสิส หากสัมผัสไปโดนสารคัดหลั่งก็มีโอกาสติดเชื้อได้ รวมถึงผู้ที่ดูแลวัวหรือควายซึ่งเป็นสัตว์ที่สามารถป่วยเป็นโรคเมลิออโดสิสได้ มีความเสี่ยงเช่นกัน สำหรับเชื้อที่อยู่ในซากสัตว์ที่ตายไปแล้วและถูกฝัง เชื้อจะคงอยู่ในดินบริเวณนั้นและอยู่ตลอดไป หากมีการสัมผัสที่ดินบริเวณนั้นก็มีโอกาสได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
กลุ่มเสี่ยงได้แก่
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโลหิตจางหรือทาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี รวมถึง คนไข้โรคมะเร็งบริเวณต่าง ๆ และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินและน้ำด้วยเท้าเปล่า ขอแนะนำคือพยามสวมใส่รองเท้าบูทหากเป็นไปได้ หรือถ้าหากหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนดินและน้ำไม่ได้ พยายามอย่าปล่อยให้เท้ามีบาดแผล และควรทำความสะอาดให้ดีหลังเดินบนดินและน้ำ หากมีไข้ควรรีบพบแพทย์แต่แรกอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน เพื่อการรักษาที่ทันเวลา ป้องกันอาการรุนแรงที่เป็นอันตราย
โรคเมลิออยโดสิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีการวินิจฉัยถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก รักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะใน 2 สัปดาห์แรกด้วยวิธีฉีด หลังจากนั้นแพทย์จะให้ยาชนิดกินต่อไปเป็นเวลา 5 เดือน หากมีภาวะแทรกซ้อนอาจให้ยาเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม

ที่มา Rama channel / โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ
ภาพจาก TNN Online / AFP