TNN online "โรคหัด" มีอาการอย่างไร เตือนระวังภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต!

TNN ONLINE

Health

"โรคหัด" มีอาการอย่างไร เตือนระวังภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต!

โรคหัด มีอาการอย่างไร เตือนระวังภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต!

กรมควบคุมโรค เผย "โรคหัด" คล้ายไข้หวัดใหญ่ มีอาการอย่างไร ติดต่อทางไหน มีวิธีป้องกันอย่างไรอ่านเลยที่นี่ เตือนระวังภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต

กรมควบคุมโรค เผย "โรคหัด" คล้ายไข้หวัดใหญ่ มีอาการอย่างไร ติดต่อทางไหน มีวิธีป้องกันอย่างไรอ่านเลยที่นี่ เตือนระวังภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต


กรมควบคุมโรค ขอเผยแพร่ “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์” ฉบับที่ 15/2566 ประจำสัปดาห์ที่ 16 (วันที่ 23 – 29 เมษายน 2566)


โดย ข้อมูลจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคหัดในประเทศไทยในปี 2565 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยโรคหัด จำนวน 230 ราย และในปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 19 เมษายน 2566 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยโรคหัด จำนวน 79 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.12 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต 


พบอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุแรกเกิด - 4 ปี (35.44 %) กลุ่มอายุ 25-34 ปี (18.99 %) และกลุ่มอายุ 35-44 ปี (16.46 %) ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ยโสธร ภูเก็ต ยะลา นราธิวาส และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ไม่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการรายงานโรคหัดในต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ป่วยมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศไทย จำนวน 2 ราย”


อาการโรคหัด


การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพของสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้จะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคหัดได้ เนื่องจากโรคหัดติดต่อผ่านทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ ไอแห้งๆ มีน้ำมูก และตาแดง หลังจากมีไข้ประมาณ 3–4 วันจะเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้นที่ใบหน้า แล้วค่อยลามไปแขนและขา เมื่อผื่นขึ้นประมาณ 1-2 วัน ไข้จะเริ่มลดลง โดยในผู้ป่วยบางรายสามารถพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้


โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด (MMR) ตั้งแต่วัยเด็ก โดยแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม เข็มแรกเมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และเข็มที่สองตอนอายุ 2 ปีครึ่ง จึงมักเกิดการระบาดในพื้นที่ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำกว่า 95%


กรมควบคุมโรค ขอแนะนำว่า ประชาชนควรพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อมีอาการไข้ ไอ และผื่นขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เมื่อได้รับการวินิจฉัยยืนยันโรคหัดแล้วควรหยุดเรียนหรือหยุดงานประมาณ 4 วันหลังจากผื่นขึ้น ส่วนในสถานที่ที่มีผู้อาศัยอยู่แออัด เช่น เรือนจำ ค่ายทหาร ควรมีการคัดกรองและแยกพื้นที่สำหรับผู้ป่วยโรคหัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422”



โรคหัด มีอาการอย่างไร เตือนระวังภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต! ภาพจาก กรมควบคุมโรค

 

ภาพจาก รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง