TNN online ปวดหัวต่อเนื่อง อย่าชะล่าใจ! ระวังเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง มีอาการอย่างไรเช็ก

TNN ONLINE

Health

ปวดหัวต่อเนื่อง อย่าชะล่าใจ! ระวังเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง มีอาการอย่างไรเช็ก

ปวดหัวต่อเนื่อง อย่าชะล่าใจ! ระวังเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง มีอาการอย่างไรเช็ก

ปวดหัวต่อเนื่อง อย่าชะล่าใจ! หมอเผยเคสคนไข้เจอเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง

นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Arak Wongworachat" เกี่ยวกับ ปวดหัวเรื้อรัง ต่อเนื่อง รุนแรงขึ้น อย่าชะล่าใจโรคเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (Meningioma) กรณีผู้ป่วยน่าสนใจ


โดยระบุว่า "ผู้ป่วยหญิงอายุ 65 ปี เศษ มีอาการมึนงง ปวดหัวบ่อยๆ อากาศร้อนๆจะปวดมากขึ้นเป็นมานานแรมปี กินยาแก้ปวดพาราพอบรรเทาอาการ คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก น่าจะเครียดกับงาน ต่อมาเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เดินไปตลาดสักพักก็ไปต่อไม่ไหว ญาติสังเกตพบว่าเดินขาลาก การทรงตัวไม่ปกติ จึงตัดสินใจพามาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์  

แพทย์เวรตรวจเบื้องต้น สงสัยอาการทางสมอง จึงส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง พบเนื้องอกในสมองขนาด 3 เซนติเมตร จึงแนะนำให้นอนโรงพยาบาลวางแผนผ่าตัด ส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทศัลยศาสตร์ นัดผ่าตัดสมอง เอาก้อนเนื้อออกมาเป็นผลสำเร็จ โดยไม่มีผลต่อการทำลายเนื้อสมอง สามารถผ่าเอาเนื้องอกออกมาได้ทั้งก้อน 

หลังผ่าตัด ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว อาการอ่อนแรงค่อยๆดีขึ้น ฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงปกติ และต้องทำกายภาพบำบัด ฟื้นฟูต่อเนื่องจนกลับมาเป็นปกติ

เนื้องอกในสมอง หากสามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วก้อนไม่โตมาก ไม่กระจายลุกลาม สามารถผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้ เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง อุบัติการณ์จะสูงขึ้นตามอายุ เพศหญิงพบมากกว่าชาย 2 เท่า ก้อนนี้เป็นชนิดไม่ร้าย อาจพบชนิดร้ายได้ 1-3% #ทีมโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ข้อแนะนำ หากอาการปวดศีรษะแย่ลงเรื่อย ๆ อาการที่เกิดขึ้นสร้างความกังวลใจหรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย แต่หากมีอาการชัก อ่อนแรง การมองเห็นหรือความจำเปลี่ยนไป หรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว"


ทั้งนี้ นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ยังได้เผย อาการโรคเนื้องอกในสมองที่สังเกตได้ คือ

• มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ หรือปวดหัวเรื้อรัง และอาจปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

• คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม

• มีปัญหาในการพูด สื่อสาร พูดจาติดขัด

• เห็นภาพเบลอ

หรือภาพซ้อน

• มีปัญหาในการได้ยิน

• มีปัญหาในการเคลื่อนไหว การทรงตัว

• แขนขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีก

• มีปัญหาด้านความจำ

• สับสบ มึนงง

• มีอาการชัก ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีประวัติการชักมาก่อน






ภาพจาก Arak Wongworachat / รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง