TNN online ทำไม? เวลาแปลกใจ สมองทำงานได้ดีขึ้น "หมออดุลย์" มีคำตอบ

TNN ONLINE

Health

ทำไม? เวลาแปลกใจ สมองทำงานได้ดีขึ้น "หมออดุลย์" มีคำตอบ

ทำไม? เวลาแปลกใจ สมองทำงานได้ดีขึ้น หมออดุลย์ มีคำตอบ

"หมออดุลย์" ไขข้อสงสัย โพสต์ "เวลาแปลกใจ สมองทำงานได้ดีขึ้น" พร้อมเผยผลศึกษาในในหนู และ พบกลไกการทำงานของ

"หมออดุลย์" ไขข้อสงสัย โพสต์ "เวลาแปลกใจ สมองทำงานได้ดีขึ้น" พร้อมเผยผลศึกษาในในหนู และ พบกลไกการทำงานของ


ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เรื่อง เวลาแปลกใจ สมองทำงานได้ดีขึ้น โดยระบุว่า


"เรามักจะเคยเห็นคน surprise วันเกิด หรือทำ surprise เวลาให้ของขวัญ และ รอให้แกะกล่อง moment เหล่านั้น เรามักจะจดจำได้ดีกว่า เรื่องอื่นๆในอีกทางหนึ่ง เวลาต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่รู้จะออกหัวออกก้อย เช่น ต้องลุ้นกับการประกาศผลสอบหรือ สมัครงาน หรือแม้แต่ลุ้นเวลาดูการแข่งขันกีฬา เราก็จะจำ ความรู้สึก หรือ สภาพแวดล้อมในขณะนั้นได้ดีกว่าปกติ และ ไม่ค่อยลืม ทั้งนี้เป็นเพราะ สมองเรา มีการตอบสนองต่อความรู้สึแปลกใจหรือประหลาดใจอย่างเป็นระบบ เพื่อเรียนรู้ และ ไว้เป็นบทเรียนสำหรับการเอาชีวิตรอด

มีการศึกษาในหนู และ พบกลไกการทำงานของ สมองที่ทำหน้าที่นี้ คือ สมองตำแหน่ง locus coeruleus ซึ่งอยู่ตรงแกนกลางของสมอง จะปล่อย สาร norepinephrine จำนวนมากออกมา (เหมือนในรูป) กระจายตัวไปทั่วทุกส่วนของสมอง ซึ่ง สาร norepinephrine นี้จะกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และ ทำให้สมองตื่นตัวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการคิดที่รวดเร็ว และ ความจำที่คงทนแม่นยำกว่าปกติ 

ในการศึกษานี้ ได้ทำการถ่ายภาพสมองหนู ด้วยแสงพิเศษ ที่สามารถดักจับสารเคมี  norepinephrine ได้ และ ให้หนูได้ยินเสียงคลื่นความถี่ต่างๆ เมื่อได้ยินเสียงความถี่สูง จะได้อาหารและน้ำ แต่เมื่อได้ยินเสียงความถี่ต่ำ กดคานให้อาหาร จะได้กลิ่นเหม็นๆ แทน หนู จะถูกฝึก จนคุ้นเคย แต่พอ เริ่มทำให้ การตอบสนองไม่เป็นไปตามระบบ คือ บางครั้ง ได้ยินเสียงคลื่นความถี่สูง แต่ได้ กลิ่นเหม็น หนูจะมีปฏิกิริยา ของความประหลาดใจขึ้นทุกครั้ง ที่จะกดคานให้อาหาร เพราะไม่แน่ใจว่า จะเจออะไร และ สาร norepinephrine จะหลั่งออกมาเพิ่มขึ้น เมื่อได้พบ ผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร หรือ กลิ่นเหม็นก็ตาม เกิดการหลั่งสาร norepinephrine จำนวนมากตอนลุ้นไม่แน่ใจว่าจะเจออะไร และ อีกครั้งตอนที่เห็นผลลัพธ์

การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ได้ผล คือ สร้างความอยากรู้อยากเห็น หรือ ความแปลกใจ ให้กับผู้เรียน การได้ลุ้น เป็น เทคนิคหนึ่งที่ทำให้สมองของผู้เรียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ จดจำได้ดี ลองคิดดูว่าที่ผ่านมาจริงไหม"





ภาพจาก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune / AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง